สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ทรงฉายใน พ.ศ. 2485
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2435[1] – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2458[2]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (ในฐานะสมุหนายก)
ถัดไปเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์
เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน พ.ศ. 2466[3] – 23 มีนาคม พ.ศ. 2468[4]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
ถัดไปยุบกระทรวง
อภิรัฐมนตรี[5]
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[6]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
องคมนตรี[7][8][9][10]
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[11]
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
เมษายน พ.ศ. 2430 – เมษายน พ.ศ. 2433
สมุหพระกลาโหมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์
เจ้าพระยาพลเทพ
ถัดไปพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ในฐานะเจ้ากรมทหารบก)
ประสูติ21 มิถุนายน พ.ศ. 2405
กรุงเทพพระมหานคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)
สิ้นพระชนม์1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
วังวรดิศจังหวัดพระนคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร)
หม่อม (สะใภ้หลวง)เฉื่อย ยมาภัย
หม่อม10 ท่าน
พระนามเต็ม
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร
พระนามเดิม
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
พระบุตร37 องค์
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลดิศกุล
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาชุ่ม
ศาสนาเถรวาท
อาชีพทหาร นักการเมือง นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ
ลายพระอภิไธย
การศึกษา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สยาม
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ พลเอก
นายกองเอก
บังคับบัญชาเจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. และเป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล[12] เป็นผู้ให้กำเนิดระบบการศึกษาไทยและการปกครองส่วนท้องถิ่นสมัยใหม่ พระองค์ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้เรียนรู้ด้วยพระองค์เอง และเป็นปัญญาชนชาวไทยที่ทรงอิทธิพลที่สุดพระองค์หนึ่ง[13]

นอกจากนี้ ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านการศึกษา การปกครอง การต่างประเทศ การสาธารณสุข หลักรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม ทรงได้รับพระสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย" และ "พระบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย" ทรงเป็นองค์ผู้อำนวยการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ที่ประชุมใหญ่ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศถวายสดุดีให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[14] และวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็นวันดำรงราชานุภาพ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการถวายความรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[15]

พระประวัติ[แก้]

ประสูติ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2447 ขณะดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหลวงดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิด-สะ-วอ-ระ-กุ-มาร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว.พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร หรือ เสด็จพระองค์ดิศ" พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบิดาในวันสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีรายละเอียดว่า[16]

"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ"

โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง[17]

ทรงศึกษา[แก้]

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์

รับราชการ[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา ถึงขนาดตรัสชมว่า ทรงเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ"

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ[18] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[19] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้สนองพระเดชพระคุณตลอดมา ตราบจนทรงพระชราภาพ ไม่สามารถทำราชการหนักในตำแหน่งต่อไปอีก จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา[20][21]

สิ้นพระชนม์[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัยมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 จึงเสด็จกลับมารักษาพระอาการประชวรในประเทศไทย (ก่อนหน้านั้นทรงประทับอยู่ ณ เกาะปีนังบริติช​มลายู​ ภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475) พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่วังวรดิศ ถนนหลานหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สิริรวมพระชันษา 81 ปี[20][21] อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระโอรสสืบราชสกุล คือ หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล นายทหารม้าราชองครักษ์และองคมนตรีในรัชกาลที่ 7, พระนัดดา (หลาน) คือ หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล อดีตเอกอัครราชทูต ณ ประเทศมาเลเซีย สมาพันธรัฐสวิส และนครรัฐวาติกัน, พระปนัดดา (เหลน) ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสืบตระกูล (ต.อ.จ.) และดำรงรักษาวังวรดิศ คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม จังหวัดเชียงใหม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล มีบุตรชายสืบตระกูลคนเดียว คือ นายวรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา ปัจจุบันเป็นนักศึกษาหลักสูตรปริญญาเอกทาง "Innovation Management" ผู้มีศักดิ์ลำดับเป็นทายาทชั้นลื่อของพระองค์ท่าน

พระกรณียกิจ[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงฉายกับ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4 พระมารดา

พระโอรสและพระธิดา[แก้]

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล มีหม่อม 11 คน ได้แก่

  1. หม่อมเฉื่อย (สกุลเดิม ยมาภัย)
  2. หม่อมนวม (สกุลเดิม โรจนดิศ)
  3. หม่อมลำดวน (สกุลเดิม วสันตสิงห์) ธิดาหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (สิงโต วสันตสิงห์)
  4. หม่อมแสง (สกุลเดิม ศตะรัตน์) ธิดาพระดำรงราชานุภาพ
  5. หม่อมเจิม (สกุลเดิม สนธิรัตน์) ธิดาพระยาอุไทยมนตรี (ทิม สนธิรัตน์)
  6. หม่อมอบ (สกุลเดิม สุขไพบูลย์)
  7. หม่อมหลวงใหญ่ (เดิม หม่อมหลวงลำดวน อิศรเสนา) ธิดาหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
  8. หม่อมหยาด (สกุลเดิม กลัมพากร) ธิดาพระจำนงค์อักษร (เปลี่ยน กลัมพากร)
  9. หม่อมเป๋า
  10. หม่อมเยื้อน
  11. หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม สุขไพบูลย์)

โดยมีพระโอรสและพระธิดารวมทั้งหมด 37 องค์ เป็นชาย 14 องค์ เป็นหญิง 23 องค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. พันโท หม่อมเจ้าจุลดิศ (ท่านชายใหญ่) ท.จ. (องคมนตรี) ที่ 1 ในหม่อมเฉื่อย 27 ธันวาคม พ.ศ. 2424 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 หม่อมแช่ม (เปาโรหิตย์)
2. หม่อมเจ้าอิทธิดำรง (ท่านชายกลาง) ที่ 2 ในหม่อมเฉื่อย 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 12 เมษายน พ.ศ. 2436
3. หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม (ท่านหญิงใหญ่) ที่ 1 ในหม่อมนวม 3 สิงหาคม พ.ศ. 2429 23 กันยายน พ.ศ. 2521
4. หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ (ท่านหญิงกลาง) ที่ 2 ในหม่อมนวม 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431 4 กันยายน พ.ศ. 2467 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
5. อำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ (ท่านชายเล็ก) ที่ 3 ในหม่อมเฉื่อย 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้ง (สนิทวงศ์)
หม่อมราชวงศ์หญิงสุทธิสอาด (สนิทวงศ์)
6. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) ที่ 4 ในหม่อมเฉื่อย ไม่ทราบปี ราว 3 ชั่วโมงหลังประสูติ[30]
7. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) ที่ 5 ในหม่อมเฉื่อย ไม่ทราบปี ราว 3 ชั่วโมงหลังประสูติ
8. หม่อมเจ้ารัชลาภจิรธิษฐ (ท่านชายอี๊ด) ที่ 6 ในหม่อมเฉื่อย มิถุนายน พ.ศ. 2436 21 สิงหาคม พ.ศ. 2443
9. หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์ (ท่านหญิงกลัด) ที่ 3 ในหม่อมนวม 4 ตุลาคม พ.ศ. 2436 15 มกราคม พ.ศ. 2463
10. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 ในวันประสูติ
11. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย (ท่านหญิงพูน) ที่ 7 ในหม่อมเฉื่อย 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533
12. หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา (ท่านหญิงพิไลย) ที่ 8 ในหม่อมเฉื่อย 8 สิงหาคม พ.ศ. 2440 11 ธันวาคม พ.ศ. 2528
13. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) ที่ 1 ในหม่อมลำดวน 8 มกราคม พ.ศ. 2440 22 เมษายน พ.ศ. 2455
ไฟล์:หม่อมเจ้าพัฒนายุ.JPG 14. หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ หรือ หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณวรรณ
(แฝด) (ท่านหญิงเหลือ)
ที่ 2 ในหม่อมลำดวน 8 มกราคม พ.ศ. 2440 3 ธันวาคม พ.ศ. 2516
15. หม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริศานต์ (ท่านหญิงเภา) ที่ 1 ในหม่อมเจิม กันยายน พ.ศ. 2441 22 เมษายน พ.ศ. 2455
16. หม่อมเจ้าหญิงบันดาลสวัสดี (ท่านหญิงน้อย) ที่ 9 ในหม่อมเฉื่อย 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล
17. หม่อมเจ้าหญิงสิวลีวิลาศ (ท่านหญิงแดง) ที่ 3 ในหม่อมลำดวน 11 มกราคม พ.ศ. 2443 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
18. หม่อมเจ้าหญิงมารยาตรกัญญา (ท่านหญิงแย้ม) ที่ 1 ในหม่อมแสง 8 เมษายน พ.ศ. 2445 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549
19. หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ (ท่านชายน้อย) ที่ 10 ในหม่อมเฉื่อย 4 สิงหาคม พ.ศ. 2445 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ (จักรพันธุ์)
20. หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา (ท่านหญิงแก้ว) ที่ 2 ในหม่อมเจิม 4 มิถุนายน พ.ศ. 2447 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 หม่อมเจ้าอนันตนรชัย เทวกุล
21. หม่อมเจ้าหญิงทักษิณาธร (ท่านหญิงโหล) ที่ 4 ในหม่อมลำดวน 10 สิงหาคม พ.ศ. 2446 17 เมษายน พ.ศ. 2515
22. หม่อมเจ้าหญิงพรพิลาศ
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงพร)
ที่ 2 ในหม่อมแสง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2447 10 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ชวน บุนนาค
ไฟล์:หม่อมเจ้านิพัทธ์พันธุดิศ.JPG 23. หม่อมเจ้านิพัทธ์พันธุ์ดิศ (ท่านชายนิพัทธ์หรือท่านชายเจ็ด) ที่ 3 ในหม่อมเจิม 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 4 เมษายน พ.ศ. 2514 หม่อมรำไพ (กันตามระ)
24. หม่อมเจ้าพิสิษฐ์ดิศพงศ์ (ท่านชายแอ๊ว) ที่ 5 ในหม่อมลำดวน 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 31 มีนาคม พ.ศ. 2509 หม่อมสวาสดิ์ (เกตุทัต)
25. หม่อมเจ้าหญิงพวงมาศผกา ที่ 3 ในหม่อมแสง 3 กันยายน พ.ศ. 2450 12 มิถุนายน พ.ศ. 2526
26. หม่อมเจ้าหญิงรัชมาลินี (ท่านหญิงนิด) ที่ 4 ในหม่อมเจิม 11 ตุลาคม พ.ศ. 2451 30 มกราคม พ.ศ. 2528 หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ์
27. หม่อมเจ้าหญิงสุมณีนงเยาว์
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงโสฬส)
ที่ 6 ในหม่อมลำดวน 16 มีนาคม พ.ศ. 2451 ประมาณ พ.ศ. 2546 พันเอกสุวัฒน์ วินิจฉัยกุล
28. หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ (ท่านชายขาว) ที่ 4 ในหม่อมแสง 14 มกราคม พ.ศ. 2452 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 หม่อมลดา (อินทรกำแหง)
ไฟล์:หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ.JPG 29. หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล (ท่านชายดำ) หม่อมอบ 5 มีนาคม พ.ศ. 2453 25 มกราคม พ.ศ. 2527 หม่อมฉวีทิพย์ (หงสนันท์)
30. หม่อมเจ้าวีรดิศ

(ท่านชายหนู)

ที่ 1 ในหม่อมหลวงใหญ่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2454 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489
31. หม่อมเจ้าหญิงเราหิณาวดี
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงเป้า)
ที่ 5 ในหม่อมแสง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 หม่อมหลวงฉายชื่น กำภู
32. หม่อมเจ้าอาชวดิศ (ท่านชายใหม่) ที่ 5 ในหม่อมเจิม 23 มีนาคม พ.ศ. 2456 4 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง
33. หม่อมเจ้าหญิงกุมารีเฉลิมลักษณ์ ที่ 6 ในหม่อมเจิม 3 มกราคม พ.ศ. 2458 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์
34. หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล

(ท่านหญิงเพียน)

ที่ 6 ในหม่อมแสง 24 ธันวาคม พ.ศ. 2460 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 หม่อมเจ้าประสพสุข ศุขสวัสดิ์
35. หม่อมเจ้าพิริยดิศ (ท่านชายนิด) ที่ 2 ในหม่อมหลวงใหญ่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 หม่อมเจ้าหญิงภัทรลดา (ฉัตรชัย)
36. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ (ท่านชายปาน) ที่ 7 ในหม่อมเจิม 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 หม่อมอรพินทร์ (อินทรทูต)
37. หม่อมเจ้ากุมารดิศ (ท่านชายหยด) หม่อมหยาด 15 เมษายน พ.ศ. 2471 20 มิถุนายน พ.ศ. 2532 หม่อมอุบลวรรณ (เก่งธัญการ)

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พ.ศ. 2405 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. 2411 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
  • พ.ศ. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[31]
    • เจ้ากรม-หมื่นดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
    • ปลัดกรม-หมื่นปราบบรพล (ศักดินา 400)
    • สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
  • พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[32]
    • เจ้ากรม-หลวงดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
    • ปลัดกรม-ขุนปราบบรพล (ศักดินา 400)
    • สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
  • พ.ศ. 2454 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศบรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร (ทรงศักดินา 15000)[33]
    • เจ้ากรม-พระดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 800)
    • ปลัดกรม-หลวงปราบบรพล (ศักดินา 600)
    • สมุห์บาญชี-ขุนสกลคณารักษ์ (ศักดินา 400)
  • พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร (ทรงศักดินา 35000)[34]
    • เจ้ากรม-พระยาดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 1000)
    • ปลัดกรม-พระปราบบรพล (ศักดินา 800)
    • สมุห์บาญชี-หลวงสกลคณารักษ์ (ศักดินา 500)

พระยศ[แก้]

พลเอก นายกองเอก
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
รับใช้กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ พลเอก
นายกองเอก

พระยศทหาร[แก้]

  • นายพลตรี[35]
  • นายพลเอก[36]

พระยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์เอก[37]
  • มหาเสวกเอก[38]
  • 28 ธันวาคม 2456 – จางวางเอก[39]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • นายกองตรี[40]
  • นายกองโท[41]
  • นายกองเอก[42]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ[43] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พระราชานุสรณ์[แก้]

พระราชานุสาวรีย์[แก้]

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บริเวณหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในลักษณะประทับนั่ง บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

วันดำรงราชานุภาพ[แก้]

วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สืบเนื่องจากการที่พระองค์เป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"

สถานที่เนื่องด้วยพระนาม[แก้]

พระนิพนธ์[แก้]

ผลงานนิพนธ์ทั้งหมดของพระองค์มีงานเขียนเป็นจำนวนมาก เช่น หนังสือเรื่องความทรงจำ ไทยรบพม่า เป็นต้น สามารถแบ่งผลงานได้เป็น

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี (หน้า 27)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีที่ปรึกษา และผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 143. 8 สิงหาคม 2458. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 41. 1 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ประกาศ เรื่อง เลิกกระทรวงมุรธาธร
  5. "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
  7. แต่งตั้งองคมนตรี
  8. แต่งตั้งองคมนตรี
  9. แต่งตั้งองคมนตรี
  10. แต่งตั้งองคมนตรี
  11. ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
  12. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2019.
  13. Thongchai Winichakul, "The Quest for 'Siwilai': A Geographical Discourse of Civilizational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Siam," The Journal of Asian Studies 59, no. 3 (2000): 536.
  14. UNESCO ยกย่อง "กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2019-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2560. สืบค้น 8 มีนาคม 2562.
  15. 2544. ขอให้กำหนดวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" สืบค้น 8 มีนาคม 2562.
  16. จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
  17. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 2-3
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
  19. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2274
  20. 20.0 20.1 "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : สนเทศน่ารู้". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 29 มีนาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. 21.0 21.1 H.R.H. Prince Damrong Rajanupab
  22. ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพันโท
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  24. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  25. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  26. ตั้งผู้กำกับการกรมธรรมการ
  27. ตำแหน่งพนักงาน
  28. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา
  29. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  30. หนังสือ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น หน้า 249-250 โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงค์ราชานุภาพ, เล่ม 3, ตอน 9, 22 มิถุนายน พ.ศ. 1886, หน้า 69
  32. ทรงศักดินา 15000
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454, หน้า 1735-1737
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 46, 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472, หน้า 174-180
  35. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  36. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เล่ม 40 หน้า 1269 วันที่ 22 กรกฎาคม 2466
  37. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
  38. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
  39. ประกาศกรมมหาดเล็ก
  40. พระราชทานยศนายกองตรี
  41. พระราชทานยศนายกองโท
  42. พระราชทานยศนายกองเอก
  43. "พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-24.
  44. ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรม, เล่ม ๓ ตอนที่ ๙ หน้า ๖๙, ๒๑ มิถุนายน ๑๒๔๘
  45. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๒, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
  47. ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  48. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๖๖, ๓ กันยายน ๑๓๐
  49. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
  50. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  51. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
  52. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
  53. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
  54. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการในพระองค์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๖๘, ๒๙ มกราคม ๑๑๗
  55. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
  56. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖
  57. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  58. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  59. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  60. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
  61. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  62. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
  63. 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 63.6 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๒, ๑๐ เมษายน ๑๑๑
  64. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๒๘, ๘ ธันวาคม ๑๑๔
  65. 65.0 65.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๑, ๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  66. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๑๔ หน้า ๘๖, ๓ กรกฎาคม ๑๑๑
  67. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๑๖, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๖
  68. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๖, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
  69. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๔, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
  70. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๕, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
  71. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๘, ๖ มกราคม ๒๔๖๖
  72. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๗๖, ๕ กันยายน ๒๔๖๙
  73. "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-07-18.
  74. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113
บรรณานุกรม
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 978-974-16-6535-8
  • สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ, สำนักพิมพ์สมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, 12 พฤศจิกายน 2505
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 70-71. ISBN 978-974-417-594-6

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(28 มกราคม พ.ศ. 2479 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486)
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระองค์แรก
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก
(8 เมษายน พ.ศ. 2430 - เมษายน พ.ศ. 2433)
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
พระองค์แรก เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
(1 เมษายน พ.ศ. 2435 - สิงหาคม พ.ศ. 2458)
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
พระองค์แรก
นายกราชบัณฑิตยสภา
(19 เมษายน พ.ศ. 2469 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)