ประมณฑ์ ผลาสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประมณฑ์ ผลาสินธุ์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าพลเอก วิมล วงศ์วานิช
ถัดไปพลเอก เชษฐา ฐานะจาโร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 ตุลาคม พ.ศ. 2478
เสียชีวิต11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (84 ปี)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสพลตรีหญิง คุณหญิงพวงเพ็ญ ผลาสินธุ์
บุพการี
  • กมล ผลาสินธุ์ (บิดา)
  • วรรณะ ผลาสินธุ์ (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2539
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก

พลเอก ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2478 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563) เป็นนายทหารชาวไทย อดีตผู้บัญชาการทหารบก

ประวัติ[แก้]

พลเอกประมณฑ์ ผลาสินธุ์ เป็นบุตรของกมลกับวรรณะ ผลาสินธุ์ สมรสกับพลตรีหญิง คุณหญิงพวงเพ็ญ ผลาสินธุ์

การศึกษา[แก้]

ประวัติรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2526 ผู้ช่วยเจ้ากรมยุทธการทหารบก
  • พ.ศ. 2527 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
  • พ.ศ. 2528 เจ้ากรมยุทธการทหารบก และรับพระราชทานยศพลตรี
  • พ.ศ. 2531 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ และรับพระราชทานยศพลโท
  • พ.ศ. 2533 รองเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2535 เสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเอก
  • พ.ศ. 2536 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2537 เสนาธิการทหาร และรับพระราชทานยศพลเอก (อัตราจอมพล)
  • พ.ศ. 2538 ผู้บัญชาการทหารบก และรับพระราชทานยศพลเรือเอก, พลอากาศเอก

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

  • ได้กำหนดแนวความคิดในการเสริมสร้างกำลังกองทัพบก โดยกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัด ได้สมดุล มีความอ่อนตัว มีความพร้อมสามารถทำการรบได้อย่างต่อเนื่องและมีความทันสมัยในทุกด้าน
  • ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาหน่วย/เหล่าทหารราบ, ทหารม้า, ทหารปืนใหญ่, ทหารสื่อสาร และหน่วยบิน ปี 2540 - 2549
  • ได้กำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุงระบบกำลังสำรองจากระบบ 3 : 3 : 4 ไปสู่ระบบ 1 : 1 : 1 : 3 และริเริ่มกำหนดแนวความคิดในการพัฒนาระบบกำลังสำรองไปสู่ระบบกำลังสำรองอาสาสมัคร
  • ได้ริเริ่มและกำหนดแนวทางในการจัดตั้ง "หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง" (นสร.)โดยกำหนดให้เป็นหน่วยงานที่มีเอกภาพในการรับผิดชอบระบบกำลังสำรองของกองทัพบกทั้งระบบ
  • ได้จัดตั้ง "ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก" (ศทท.ทบ.) เพื่อรับผิดชอบงานด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศของกองทัพบก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พล.อ. ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย และต่างประเทศ ดังนี้

ไทย[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

  •  สิงคโปร์ :
    • พ.ศ. 2539 – เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๒ ง หน้า ๑๖๙๕, ๑๘ มิถุนายน ๒๕๐๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มกราคม ๒๕๓๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๑๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔๗, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๓, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙
  10. DEPUTY PRIME MINISTER AND MINISTER FOR DEFENCE DR TONY TAN KENG YAM PRESENTS MERITORIOUS SERVICE MEDAL (MILITARY) TO COMMANDER-IN-CHIEF OF ROYAL THAI ARMY GENERAL PRAMON PHALASIN DURING INVESTITURE CEREMONY AT MINDEF, GOMBAK DRIVE

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]