พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
ประสูติ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355
สิ้นพระชนม์31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 ( 67 ปี)
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลยุคันธร
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 — 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายุคันธร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก[1]

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 11 ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. 1174 ตรงกับวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 มีพระเชษฐาร่วมพระมารดา คือ พระองค์เจ้าฤกษ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) และ พระองค์เจ้าสาททิพากร ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 อุตราษาฒ แรม 10 ค่ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. 1242 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 พระชันษา 67 ปี

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลยุคันธร[2] ทรงมีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าอุทัย ยุคันธร (ประสูติ พ.ศ. 2381 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2467 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
  2. หม่อมเจ้าหญิงลมัย ยุคันธร (ประสูติ พ.ศ. 2381)
  3. หม่อมเจ้าแฉ่ง ยุคันธร
  4. หม่อมเจ้าหญิงเสงี่ยม ยุคันธร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2451)

ทายาทรุ่นสุดท้ายของราชสกุล ยุคันธร ได้แก่ หม่อมหลวงสุหร่าย ยุคันธร (ภาวิไล) มารดาของ ศาสตราจารย์ระวี ภาวิไล

พระกรณียกิจ[แก้]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ได้ทรงกำกับกรมทหารช่างเมืองญวน ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสภาที่ปฤกษาในพระองค์ หรือ ปรีวีเคาน์ซิล มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  3. จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1