หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ3 สิงหาคม พ.ศ. 2429
สิ้นชีพตักษัย23 กันยายน พ.ศ. 2521 (92 ปี)
ราชสกุลดิศกุล
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พระมารดาหม่อมนวม ดิศกุล ณ อยุธยา
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล (3 สิงหาคม พ.ศ. 2429 - 23 กันยายน พ.ศ. 2521)[1] เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมนวม ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนดิศ) มีพระนามลำลองว่า ท่านหญิงใหญ่[2] เมื่อเยาว์วัยประทับอยู่ในพระราชสำนักของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และมีความสามารถในการทำอาหารเป็นอย่างดี ด้วยความที่เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงมีหน้าที่ดูแลวังวรดิศ และประกอบกรณียกิจแทนพระบิดาขณะที่พระบิดาไม่ได้ประทับในพระนคร[3] นอกจากนี้หม่อมเจ้าจงจิตรถนอมยังมีศักดิ์เป็นหลานย่าของเจ้าจอมมารดาชุ่ม[4]

ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปลี้ภัยที่ปีนัง ระหว่าง พ.ศ. 2476 - พ.ศ. 2485 หม่อมเจ้าจงจิตรถนอมประทับอยู่ที่เรือนไม้ของเจ้าจอมมารดาชุ่ม ภายในวังวรดิศ พร้อมกับหม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล ขนิษฐา [5][6]

หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2521 สิริชันษา 92 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

พงศาวลี[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 978-974-16-6535-8
  3. หม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล. บันทึกความทรงจำ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. กรุงเทพฯ : ศยาม, พ.ศ. 2550. 304 หน้า. ISBN 974-7236-80-4 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  4. "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ต้นสกุลของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
  5. พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้า. สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ภาคจบ. กรุงเทพฯ : มติชน, พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2545, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2551. 263 หน้า. ISBN 978-974-02-0188-5
  6. "หม่อมเจ้ามารยาตรกัญญา ดิศกุล เขียนโดย ส.ศิวรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-25. สืบค้นเมื่อ 2008-10-14.
  7. "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ต้นสกุลของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
  8. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2510" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (41): 27. 10 พฤษภาคม 2510. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-06.
  9. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3097 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 พฤศจิกายน 2474
  10. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 20 หน้า 616
  11. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (125): 8. 19 พฤศจิกายน 2514.