เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์สามชั้น
วันสถาปนา28 เมษายน พ.ศ. 2361
ประเทศสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ผู้สมควรได้รับชาวอังกฤษและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งในราชการแห่งสหราชอาณาจักรรวมถึงเครือจักรภพ
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร
ประธานสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
ลำดับเกียรติ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอินเดีย
เสมอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งอินเดีย
หมายเหตุ
แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ (อังกฤษ: The Most Distinguished Order of Saint Michael and Saint George) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสหราชอาณาจักร สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2361 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร[1][2] ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่อัครทูตสวรรค์มีคาเอลและนักบุญจอร์จ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เดิมถูกสร้างมาเพื่อมอบให้กับเจ้าหน้าที่ทางการทหารในสงครามนโปเลียนและส่วนมากสมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์นี้มักเป็นบุรุษ[2] แต่ปัจจุบันเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถจะพระราชทานให้กับบุรุษและสตรีทั้งชาวอังกฤษและชาวต่างประเทศที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งในราชการแห่งสหราชอาณาจักรรวมถึงเครือจักรภพ[2]

เสื้อคลุมเเห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ซึ่งขณะนั้นกำลังเป็นเจ้าชายผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้เพื่อรำลึกถึงเหล่าอารักขาในหมู่เกาะไอโอเนียนซึ่งขณะนั้นยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกบรรจุลงในรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ. 2360 โดยพระราชทานให้แก่ชนพื้นเมืองและเจ้าหน้าที่ในหมู่เกาะไอโอเนียนและเกาะมอลตา รวมถึงเจ้าหน้าที่ทาการทหารในสงครามนโปเลียน[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2404 หมู่เกาะไอโอเนียนตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศกรีซ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จึงพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทของพระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถ และสำหรับผู้กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อองค์พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินีนาถ รวมถึงชาวต่างประเทศ ซึ่งผู้ว่าราชการเมืองในสหราชอาณาจักรคือสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ และโดยส่วนมากสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มักเป็นบุรุษ

ต่อมาใน พ.ศ. 2508 มีการแก้กฎหมายให้มีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้แก่สตรีเป็นครั้งแรก[4] โดยพระราชทานให้แก่อีฟลิน บาร์ค ในชั้นตริตาภรณ์เมื่อ พ.ศ. 2510[5]

ลำดับชั้น[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นสามชั้น ดังตารางต่อไปนี้

ลำดับชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ[1][2]
ชั้น ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายหน้า) ชั้นประถมาภรณ์ (ฝ่ายใน) ชั้นตริตาภรณ์ (ฝ่ายหน้า) ชั้นตริตาภรณ์ (ฝ่ายใน) ชั้นสมาชิก
ตำแหน่ง Sir Dame Sir Dame
ชื่อย่อ GCMG KCMG DCMG CMG
ลักษณะ

สมาชิกแห่งอิสริยาภรณ์[แก้]

ชาวไทย[แก้]

ชาวต่างประเทศ[แก้]

  •  บาห์เรน: สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์
  •  จอร์แดน: สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน[9]
  •  บรูไน: สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์[9]
  •  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: มุฮัมมัด บิน รอชิด อาล มักตูม[9]
  •  เปรู: อัลเบร์โต ฟูฆิโมริ[9]
  • อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Duckers, Peter (2009) [2004]. British Orders and Decorations. Oxford: Shire Publications. pp. 26–27. ISBN 978-0-7478-0580-9. OCLC 55587484.
    2. 2.0 2.1 2.2 2.3 The Royal Household (2009). "Order of St. Michael and St. George". The Official Website of the British Monarchy. London: Crown Copyright. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2009. สืบค้นเมื่อ 25 April 2016.
    3. Townsend, Francis (1828). Calendar of Knights. William Pickering. p. 206.
    4. "Knights/Knighthoods genealogy project". geni_family_tree. สืบค้นเมื่อ 30 June 2017.
    5. Evelyn Bark, article in The Independent
    6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๕๐, ๔ ธันวาคม ๒๔๘๒
    7. 7.0 7.1 7.2 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
    8. "ปรีดี พนมยงค์", วิกิพีเดีย, 2022-11-11, สืบค้นเมื่อ 2022-11-14
    9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Honorary Knighthoods Awarded 1997-2006". data.parliament.uk. 2009. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.