เสริม วินิจฉัยกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสริม วินิจฉัยกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2500 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ก่อนหน้าพจน์ สารสิน
ถัดไปเสริม วินิจฉัยกุล
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าเสริม วินิจฉัยกุล
ถัดไปโชติ คุณะเกษม
ดำรงตำแหน่ง
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าสุนทร หงส์ลดารมภ์
ถัดไปบุญมา วงศ์สวรรค์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
นายกรัฐมนตรีถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าบุญมา วงศ์สวรรค์
ถัดไปบุญมา วงศ์สวรรค์
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม พ.ศ. 2489 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ถัดไปเล้ง ศรีสมวงศ์
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2498
ก่อนหน้าหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
ถัดไปเกษม ศรีพยัคฆ์
ปลัดกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
ถัดไปบุญมา วงศ์สวรรค์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2450
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต12 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (78 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสโฉมศรี วินิจฉัยกุล
ลายมือชื่อ

เสริม วินิจฉัยกุล เป็นอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตปลัดกระทรวงการคลัง

ประวัติ[แก้]

เสริม วินิจฉัยกุล เป็นบุตรชายคนโตของพระยานิมิราชทรงวุฒิ (สวน วินิจฉัยกุล) กับคุณหญิงเนือง นิมิราชทรงวุฒิ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2450 ณ บ้านริมคลองมอญ กิ่งอำเภอคลองสาน อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 7 คน สมรสกับท่านผู้หญิงโฉมศรี วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม โปษยานนท์; บุตรี มหาอำมาตย์ตรี พระยาพิพัฒนธนากร เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 มีบุตรและธิดา 4 คน คือ วินิจ วินิจฉัยกุล สมรสกับนพมาศ วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม ทัศนปรีดา) วรรณวิภา อรรถวิภัชน์ สมรสกับโชติชัย อรรถวิภัชน์ คุณหญิงวิลาวัณย์ กำภู ณ อยุธยา สมรสกับพลเอก นายแพทย์ชูฉัตร กำภู ณ อยุธยา และวิวัฒน์ วินิจฉัยกุล สมรสกับกมลารจิสส์ วินิจฉัยกุล (สกุลเดิม โปษยานนท์)

เสริม วินิจฉัยกุลถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เมื่อเวลา 6.00 น. ของวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สิริอายุ 78 ปี 1 เดือน 10 วัน

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2457 เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ
  • พ.ศ. 2468 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รับรางวัลเกียรตินิยมสูงสุด และเข้าศึกษากฎหมาย ณ โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2472 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย เป็นเนติบัณฑิต
  • พ.ศ. 2475 สอบชิงทุนไปศึกษาต่อกฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ. 2478 ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายเอกชน และประกาศนียบัตรชั้นสูงทางเศรษฐศาสตร์โดยได้รับเกียรตินิยมสูงสุดของมหาวิทยาลัยปารีส และรับปริญญาดอกเตอร์อังดรัวต์[2]

การรับราชการ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-08-07.
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 27 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๒, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๔ ง หน้า ๖๙๑, ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๓, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
ก่อนหน้า เสริม วินิจฉัยกุล ถัดไป
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(17 ตุลาคม พ.ศ. 2489 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (วาระที่ 2)
1 มีนาคม พ.ศ. 2495 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 (วาระที่ 1))
เล้ง ศรีสมวงศ์
หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เกษม ศรีพยัคฆ์