สุขาภิบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุขาภิบาล เป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทย บริหารโดยคณะกรรมการสุขาภิบาล ซึ่งมีทั้งกำนัน หัวหน้าประจำหมู่บ้าน และพ่อค้าในท้องที่

สุขาภิบาล เป็นเขตปกครองตนเองย่อยแบบแรกที่ก่อตั้งในประเทศไทย โดยสุขาภิบาลแรกก่อตั้งในกรุงเทพฯ ตามพระราชกฤษฎีกาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2440 พระองค์ทรงเรียนรู้จากสุขาภิบาลในอังกฤษในระหว่างเสด็จประพาสยุโรป และพระองค์ทรงอยากลองเขตการปกครองท้องถิ่นในประเทศของพระองค์เอง สุขาภิบาลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลแห่งที่สองที่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2448

ในปี พ.ศ. 2450 ได้มีร่างพระราชบัญญัติการดำเนินการสุขาภิบาล หลังจากนั้นได้มี พระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ใน พ.ศ. 2457 ทำให้เกิดสุขาภิบาลอยู่ 2 ระดับ คือ สุขาภิบาลเมือง ในเขตเมือง และ สุขาภิบาลตำบล ในเขตชนบท

จำนวนสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นถึง 35 แห่งใน พ.ศ. 2478 แต่ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาล แล้วมีการจัดตั้งสุขาภิบาลอีกครั้งใน พ.ศ. 2495 โดยนายกรัฐมนตรีแปลก พิบูลสงคราม

ด้วยเหตุจาก พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ทำให้สุขาภิบาลต้องถูกยุบอีกครั้ง แล้วแปรสภาพเป็น เทศบาลตำบล แทน[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542" พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 Feb 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]