ข้ามไปเนื้อหา

สุริยุปราคา 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
แผนที่
ประเภท
ประเภทวงแหวน
แกมมา–0.9743
ความส่องสว่าง0.9630
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา140 วินาที (2 นาที 20 วินาที)
พิกัด64°42′S 86°48′E / 64.7°S 86.8°E / -64.7; 86.8
ความกว้างของเงามืด616 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน09:56:14
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด11:42:37
บดบังมากที่สุด12:11:44
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด12:41:21
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน14:27:29
แหล่งอ้างอิง
แซรอส121 (61 จาก 71)
บัญชี # (SE5000)9565

สุริยุปราคาวงแหวนจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมปรากฏของดวงจันทร์ มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงส่วนมากจากดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์มีลักษณะเหมือนแผ่นวงแหวน สุริยุปราคาวงแหวนจะปรากฏสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร

การมองเห็น

[แก้]

อุปราคาครั้งนี้มองเห็นได้ในแอนตาร์กติกและมหาสมุทรใต้ ส่วนเงามัวสามารถมองเห็นได้ในส่วนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ของทวีปแอฟริกา เกาะมาดากัสการ์ และมหาสมุทรอินเดีย

ภาพเคลื่อนไหวแสดงแนวคราส

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

อุปราคาในปี พ.ศ. 2569

[แก้]

สุริยุปราคา พ.ศ. 2569–2572

[แก้]

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[1]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2569–2572
โหนดขึ้น   โหนดลง
121 17 กุมภาพันธ์ 2569

วงแหวน
126 12 สิงหาคม 2569

เต็มดวง
131 6 กุมภาพันธ์ 2570

วงแหวน
136 2 สิงหาคม 2570

เต็มดวง
141 26 มกราคม 2571

วงแหวน
146 22 กรกฎาคม 2571

เต็มดวง
151 14 มกราคม 2572

บางส่วน
156 11 กรกฎาคม 2572

บางส่วน
สุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 12 มิถุนายน 2572 และ 5 ธันวาคม 2572 เกิดขึ้นในชุดของปีจันทรคติถัดไป

แซรอส 121

[แก้]

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 121 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 71 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 1487 (ค.ศ. 944) สุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 1613 (ค.ศ. 1070) จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2352 (ค.ศ. 1809) สุริยุปราคาผสมในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2370 (ค.ศ. 1827) และวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) สุริยุปราคาวงแหวนเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2587 (ค.ศ. 2044) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2749 (ค.ศ. 2206) ซึ่งเป็นเหตุการณ์อุปราคาครั้งที่ 71 ของชุดแซรอสนี้ คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2172 (ค.ศ. 1629) ที่ระยะเวลา 6 นาที 20 วินาที ส่วนคราสวงแหวนที่นานที่สุดอยู่ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2587 (ค.ศ. 2044) ที่ระยะเวลา 2 นาที 27 วินาที[2]

ชุดเมตอน

[แก้]

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน) ทุกอุปราคาในตารางนี้เกิดขึ้นที่โหนดขึ้นของดวงจันทร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  2. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros121.html

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
21 กันยายน 2568
(สุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาบางส่วน)
สุริยุปราคา 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
12 สิงหาคม 2569
(สุริยุปราคาเต็มดวง สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า:
2 ตุลาคม 2567
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป:
6 กุมภาพันธ์ 2570