ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศมาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐมาลี)
สาธารณรัฐมาลี

Mali ka Fasojamana (บัมบารา)
Republik bu Maali (Fula)
ตราแผ่นดินของมาลี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญหนึ่งชนชาติ หนึ่งเป้าหมาย หนึ่งศรัทธา (Un peuple, un but, une foi)
ที่ตั้งของ ประเทศมาลี  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ ประเทศมาลี  (สีเขียว)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
บามาโก
12°39′N 8°0′W / 12.650°N 8.000°W / 12.650; -8.000
ภาษาราชการภาษาบัมบารา และอีก 12 ภาษา[1]
การปกครองสาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดีแบบเดี่ยวภายใต้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง[2]
Assimi Goïta (ชั่วคราว)
Choguel Kokalla Maïga (รักษาการ)[3]
ประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส
• ประกาศ
22 กันยายน พ.ศ. 2503
พื้นที่
• รวม
1,240,192 ตารางกิโลเมตร (478,841 ตารางไมล์) (23)
1.6
ประชากร
• 2563 ประมาณ
20,250,833[4] (59)
• สำมะโนประชากร พฤศจิกายน 2561
19,329,841[5]
11.7 ต่อตารางกิโลเมตร (30.3 ต่อตารางไมล์) (215)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2561 (ประมาณ)
• รวม
$44.329 พันล้าน[6]
$2,271[6]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2561 (ประมาณ)
• รวม
$17.407 พันล้าน[6]
$891[6]
จีนี (2553)33.0[7]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.434[8]
ต่ำ · 184
สกุลเงินฟรังก์ซีเอฟเอ (CFA franc) (XOF)
เขตเวลาUTC0
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+0
รหัสโทรศัพท์223
โดเมนบนสุด.ml

ประเทศมาลี (ฝรั่งเศส: Mali) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมาลี (ฝรั่งเศส: République du Mali) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกาตะวันตก ประเทศมาลีมีพรมแดนทางเหนือจดประเทศแอลจีเรีย ทางตะวันออกจดประเทศไนเจอร์ ทางใต้จดประเทศบูร์กินาฟาโซและประเทศโกตดิวัวร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศกินี และทางตะวันตกจดประเทศเซเนกัลและประเทศมอริเตเนีย มีพื้นที่ 1,240,000 กม.² และประชากร 18.5 ล้านคน เมืองหลวง คือ กรุงบามาโก มาลีแบ่งการปกครองเป็นแปดเขต และมีพรมแดนที่เป็นเส้นตรงทางเหนืออยู่ลึกเข้าไปใจกลางทะเลทรายซาฮารา ส่วนทางใต้ของประเทศเป็นที่ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ มีแม่น้ำไนเจอร์และแม่น้ำเซเนกัลไหลผ่าน โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศมีศูนยฺกลางอยู่ที่เกษตรกรรมและการประมง ทรัพยากรธรรมชาติบางส่วนของมาลีมีทองคำ ยูเรเนียม ปศุสัตว์และเกลือ ราวครึ่งหนึ่งของประชากรมีชีวิตอยู่ใต้เส้นยากจนนานาชาติที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[9]

ประเทศมาลีปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแอฟริกาตะวันตกสามแห่งซึ่งควบคุมการค้าข้ามซาฮารา คือ จักรวรรดิกานา จักรวรรดิมาลี (อันเป็นที่มาของชื่อมาลี) และจักรวรรดิซองไฮ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสเข้าควบคุมมาลีและทำให้เป็นส่วนหนึ่งของซูดานของฝรั่งเศส (French Sudan) ซึ่งขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ สาธารณรัฐชาวซูดาน และเข้าร่วมกับเซเนกัลใน พ.ศ. 2502 และได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2503 ในฐานะสหพันธรัฐมาลี ไม่นานหลังจากนั้น หลังเซเนกัลถอนตัวจากสหพันธรัฐ สาธารณรัฐชาวซูดานได้ประกาศตนเป็นสาธารณรัฐมาลีอันมีเอกราช หลังการปกครองแบบพรรคเดียวอันยาวนาน รัฐประหาร พ.ศ. 2534 ได้นำไปสู่การเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการสถาปนามาลีเป็นรัฐประชาธิปไตยระบบหลายพรรค วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 กลุ่มนายทหารอ่อนอาวุโสยึดการควบคุมทำเนียบประธานาธิบดีของประเทศและประกาศยุบรัฐบาลและระงับรัฐธรรมนูญ[10] วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555 กบฏขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติอาซาวัด (MNLA) ประกาศการแยกรัฐอาซาวัดใหม่ออกจากมาลี[11]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
แผนที่แบ่งเขตการปกครองของประเทศมาลี

ประเทศมาลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ดินแดน (régions) และ 1 เขต (district) ได้แก่

  1. เขตกาโอ
  2. เขตกาเยส
  3. เขตกีดาล
  4. เขตกูลีกอโร
  5. เขตม็อปตี
  6. เขตเซกู
  7. เขตซีกาโซ
  8. เขตตงบุกตู
  9. บามาโก

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.dailysabah.com/world/africa/malis-new-constitution-drops-french-as-official-language
  2. "Mali junta defies mediators with 5-year transition plan". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-17.
  3. "Mali appoints interim replacement for ill civilian prime minister". Al Jazeera. 22 August 2022.
  4. "UNdata | record view | Total population, both sexes combined (thousands)". data.un.org. Retrieved 18 April 2020.
  5. "Mali preliminary 2018 census". Institut National de la Statistique. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2010. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Mali". International Monetary Fund.
  7. "Gini Index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2 March 2011.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. Human Development Indices, Table 3: Human and income poverty, p. 35. Retrieved on 1 June 2009
  10. "New York Times"
  11. Lydia Polgreen and Alan Cowell, "Mali Rebels Proclaim Independent State in North" "New York Times" April 6, 2012 http://www.nytimes.com/2012/04/07/world/africa/mali-rebels-proclaim-independent-state-in-north.html?_r=1&adxnnl=1&adxnnlx=1333728086-ZXpwSz3KFqUnA4lteq4j4w