ภาษาไทหย่า
ภาษาไทหย่า | |
---|---|
ไตจุ้ง[1] | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศจีน |
ชาติพันธุ์ | ไทหย่า |
จำนวนผู้พูด | 50,000 (2000 census)[2] |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | cuu |
ภาษาไทหย่า หรือ ไตหย่า[3] (จีน: 傣雅语) ในประเทศจีนเป็นที่รู้จักในชื่อ หงจินไต่ (จีน: 红金傣语) เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง ถูกจัดอยู่กลุ่มกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ภาษานี้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยกลุ่มหงจินไต่อาศัยอยู่แถบลุ่มน้ำแดง (红河, 元江) และแม่น้ำจินชา (金沙江) ทางภาคใต้ตอนกลางของมณฑลยูนนาน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และอีกส่วนอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายของประเทศไทย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ใน พ.ศ. 2547 มีผู้พูดจำนวน 300 คน[1]
ภาษาไทหย่ามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 18 เสียง เสียงสระ 18 เสียง และวรรณยุกต์ 5 เสียง[1][4] มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทลื้อและไทยอง[5] รวมทั้งสามารถเข้าใจภาษาไทยถิ่นเหนือได้แม้จะมีบางคำที่ต่างกันบ้างก็ตาม[1] โดยภาษาไทหย่าจะออกเสียงพยัญชนะต่างจากภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่น ด จะออกเสียง ล เช่น สีดำ เป็น สีลำ, ดอกไม้ เป็น ลอกไม้ ไม่มีคำควบกล้ำ เช่น ปลา เป็น ปา[1][4] ไม่มีสระประสม ได้แก่ สระเอีย สระเอือ และสระอัว แต่จะออกเสียงเป็น สระเอ สระเออ และสระไอไม้ม้วน เช่น เมีย เป็น เม, ดินเหนียว เป็น ลินเหนว, เรือน เป็น เฮอน, หัว เป็น โห และสระไอไม้ม้วนออกเสียงเป็นสระเออ เช่น ใหญ่ เป็น เหญ่อ, ใจ เป็น เจอ, ใน เป็น เนอ, ใคร เป็น เผอ เป็นต้น[6] นอกจากนี้ยังมีคำที่ออกเสียงต่างออกไป เช่น วิญญาณ ว่า มิ่งคัน, รักษา ว่า ละคอมหา, มีเยอะ ว่า อู๋หลาย, ไปเที่ยว ว่า กาห่อน, ไปไหนมา ว่า กาสังม่า, มาเที่ยวหรือ ว่า ม่าห่อนว่อ, มีธุระอะไร ว่า หย่งโจ่วแทง และ มากี่คน ว่า มาจิก้อ เป็นต้น[7]
ภาษาไทหย่ามีเพียงภาษาพูดไม่มีระบบการเขียนเป็นของตัวเองต่างจากภาษาไทกลุ่มอื่น ๆ[8] ภาษาไทหย่าในประเทศไทยกำลังสูญหายเพราะชาวไทหย่าเปลี่ยนไปใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือและภาษาไทยมาตรฐาน[9] ต่างจากชาวไทหย่าในประเทศจีนที่ยังมีแนวโน้มว่าลูกหลานจะยังคงใช้ภาษานี้ต่อไป[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "กลุ่มชาติพันธุ์ : ไทหย่า". กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-11. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ภาษาไทหย่า ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ William Frawley (1 May 2003). International Encyclopedia of Linguistics. Oxford University Press. p. 210. ISBN 978-0-19-513977-8. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
- ↑ 4.0 4.1 "รู้จักไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย". กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน). 3 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ไทหย่า". ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เรืองเดช ปันเขื่อนปัติย์. ภาษาไตหย่า. นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 2534, หน้า 13
- ↑ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 30 ชาติในเชียงราย. กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์, 2557, หน้า 181
- ↑ 8.0 8.1 Kirk R. Person; Wenxue Yang (2005). The Tones of Tai Ya. Department of Linguistics, School of Graduate Studies, Payap University. สืบค้นเมื่อ 8 September 2013.
- ↑ Tehan, T. Tehan; E. Dawkins (2010-12-07), "Tai Ya Reversing Language Shift 7 December 2010 1 Tai Ya in Thailand Present and Future: Reversing Language Shift" (PDF), Tai Ya Reversing Language Shift, pp. 2–3, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-10, สืบค้นเมื่อ 2021-07-30
บรรณานุกรม
[แก้]- Dawkins, Erin. 2007. A sociolingustic survey of Tai Ya in Thailand เก็บถาวร 2019-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Chiang Mai: Payap University.
- Tehan, Thomas M., and Erin Dawkins. 2010. Tai Ya in Thailand Present and Future: Reversing Language Shift เก็บถาวร 2014-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Research Project #53-01 in Linguistics Department Research Series, Payap University, Chiangmai, Thailand.
- Xing Gongwan 邢公畹. 1989. Honghe Shangyou Daiyayu 红河上游傣雅语. China: Yuwen.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Xing Gongwan [邢公畹]. 1989. Upper Hongjin Dai Ya Language [红河上游傣雅语]. Language Publishing House [语文出版社].
- Zhou Yaowen [周耀文]. 2001. A Study of Dai Dialects [傣语方言研究]. Ethnic Publishing House [民族出版社].
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 283-word wordlist in Wuding Tianxin Tai dialect archived with Kaipuleohone