ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
ประสูติ19 กันยายน พ.ศ. 2430
สิ้นพระชนม์19 เมษายน พ.ศ. 2433
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาวง ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล หรือ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์[1] (19 กันยายน พ.ศ. 2430 — 19 เมษายน พ.ศ. 2433) พระราชธิดาพระองค์ที่ 55 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวง

พระประวัติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล ประสูติเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน นพศก จ.ศ. 1249 ตรงกับวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2430[2] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวง พระองค์ทรงได้รับพระราชทานพระนามและสมโภชน์เดือนในวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2430 โดยในเวลาเช้าได้ทรงเลี้ยงพระ และทรงเครื่องไว้พระเกษา เวลาเย็นทรงตั้งบายศรีทองเงินสมโภชตามธรรมเนียม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาล[3]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์ว่า[4]

"...วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๐... ค่ำเราได้เชิญหีบพระมหาสังข์ตามเสด็จลงไปสมโภชน์เดือนลูกแม่วงประทานพระนามว่าพระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาล เสด็จขึ้น เรากลับมาเรือน..."

ต่อมาในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2433 พระองค์เริ่มประชวร เดิมคณะแพทย์หลวงวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัด ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นโรคซาง มีพระอาการซึมและหอบ จนกระทั่งวันที่ 16 เมษายน ประชวรหนักและมีพระอาการอ่อนเพลีย จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2433 พระชันษา 3 ปี เวลาบ่าย 4 โมง พระบรมวงศานุวงศ์ได้ไปสรงน้ำพระศพ เจ้าพนักงานทรงเครื่อง เชิญลงในพระลอง แห่ออกมาทางประตูพรหมศรีสวัสดิ เชิญไปประดิษฐาน ณ หอธรรมสังเวช พระศพทรงกระโกศมณฑป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์เสด็จทอดผ้าไตร 30 ไตร ผ้าขาว 60 พับ หม่อมเจ้าพระพิริยสถาพรพรต และพระราชาคณะสดัปกรณ์ตามธรรมเนียม[5] วันที่ 5 มิถุนายน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์เสด็จไปในการพระราชกุศล 50 วัน[6]

พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2433 พระสรีรังคารของพระองค์ถูกบรรจุในอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล ในสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร[7]

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (20 ตุลาคม พ.ศ. 2430 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (พระนามภายหลังการสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 ;23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (พระนามภายหลังการสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 ;9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 — 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (พระนามภายหลังการสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 ;10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นต้นไป)

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 4 (29): 231. 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-05-13.
  3. "สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ [พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาลย์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 4: หน้า 231. 31 ตุลาคม 2430. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. จดหมายเหตุรายวัน ในสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เก็บถาวร 2017-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
  5. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 4: หน้า 41. 27 เมษายน 2433. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "การพระราชกุศล บรรจบ ๕๐ วัน ตั้งแต่พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลสิ้นพระชนม์ ล่วงมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7: หน้า 115. 15 มิถุนายน 2433. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "วัดประจำรัชกาลที่ ๔ : วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-05-13.