ประเทศไทยใน พ.ศ. 2551
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 227 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นปีที่ 63 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยในช่วงส่วนใหญ่ของปีนั้น จะมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องภายใต้วิกฤตการณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2551 เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการประท้วงทางการเมืองเกิดขึ้น นำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- สยามมกุฎราชกุมาร: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร)
- นายกรัฐมนตรี:
- สุรยุทธ์ จุลานนท์ (รัฐประหาร) (จนถึง 29 มกราคม)
- สมัคร สุนทรเวช (พลังประชาชน) (29 มกราคม – 9 กันยายน)
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พลังประชาชน, รักษาการ) (9 – 18 กันยายน)
- สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (พลังประชาชน) (18 กันยายน – 2 ธันวาคม)
- ชวรัตน์ ชาญวีรกูล (อิสระ, รักษาการ) (3 – 17 ธันวาคม)
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประชาธิปัตย์) (ตั้งแต่ 17 ธันวาคม)
- คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (ถึง 7 กุมภาพันธ์)
- ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ: ชลิต พุกผาสุข (รักษาการ) (จนถึง 7 กุมภาพันธ์)
- รัฐสภา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ถึง 28 มกราคม)
- ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: มีชัย ฤชุพันธุ์ (แต่งตั้ง) (จนถึง 28 มกราคม)
- สภาผู้แทนราษฎร: ชุดที่ 23
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร:
- ยงยุทธ ติยะไพรัช (พลังประชาชน) (24 มกราคม – 30 เมษายน)
- ชัย ชิดชอบ (ภูมิใจไทย) (ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม)
- วุฒิสภา: ชุดที่ 10 (เริ่ม 2 มีนาคม)
- ประธานวุฒิสภา: ประสพสุข บุญเดช (สรรหา) (ตั้งแต่ 18 มีนาคม)
- ประธานศาลฎีกา: วิรัช ลิ้มวิชัย
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 2 มกราคม – สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี (ท้อง) ในเวลา 02:54 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมมายุได้ 84 ปี
- 15 มกราคม – สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ยุติการออกอากาศในเวลา 00:08 น. โดยกรมประชาสัมพันธ์และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้โอนกิจการสถานีโทรทัศน์ รวมไปถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปให้แก่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย สถานีฯ จึงออกอากาศในชื่อใหม่เป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ก่อนจะออกอากาศอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อมา
- 28 มกราคม – มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551 ผลปรากฏว่า สมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทย นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศ ด้วยคะแนนโหวต 310 เสียง
- 29 มกราคม – พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พ้นจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
กุมภาพันธ์
[แก้]- 28 กุมภาพันธ์ - ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทากลับมาประเทศไทยครั้งแรก ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[1]
มีนาคม
[แก้]- 2 มีนาคม – จัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั่วประเทศ เพื่อหาชุดผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาใหม่แทนชุดเดิมที่ถูกยกเลิกอันเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร ในปี 2549
เมษายน
[แก้]- 30 เมษายน – บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ยุติการให้บริการโทรเลขทั่วประเทศเมื่อเวลา 20:00 น. รวมเวลาในการให้บริการยาวนานถึง 125 ปี
พฤษภาคม
[แก้]กันยายน
[แก้]- 4 กันยายน – วันคล้ายวันพระบวรราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครบ 200 ปี
- 9 กันยายน – ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้สมัคร สุนทรเวชพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
- 17 กันยายน – มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551 ผลปรากฏว่า สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของประเทศไทย นับเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศ ด้วยคะแนนโหวต 298 เสียง
- 18 กันยายน – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย
พฤศจิกายน
[แก้]- 14 - 19 พฤศจิกายน – พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม – ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมทั้งให้กรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรค ยุติบทบาททางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และ ทำให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของ พรรคพลังประชาชนจึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
- 3 ธันวาคม – พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยุติการชุมนุมหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคพลังประชาชน, พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย
- 15 ธันวาคม – มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผลปรากฏว่าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ มีมติเลือก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนน 235 เสียง ส่วนพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 198 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง
- 17 ธันวาคม – มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มกราคม
[แก้]- 2 มกราคม – สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ พ.ศ. 2466)
- 3 มกราคม – กู้น้อย วิถีชัย นักมวยสากลชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2475)
- 13 มกราคม – สมควร กระจ่างศาสตร์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2463)
- 18 มกราคม – สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ แพทย์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2495)
- 26 มกราคม – ละเมียน บุณยะมาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา (เกิด พ.ศ. 2462)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์
- วิโรฒ ศรีสุโร สถาปนิกชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2482)
- พิเศษ สังข์สุวรรณ นักประพันธ์เพลง (เกิด พ.ศ. 2491)
- 11 กุมภาพันธ์ – จรูญ กุวานนท์ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2467)
- 13 กุมภาพันธ์ – พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2465)
- 16 กุมภาพันธ์ – สำราญทอง เกียรติบ้านช่อง นักมวยไทยชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2514)
- ไม่ทราบวัน – ชอุ่ม ประเสริฐสกุล นักถ่ายภาพชาวไทย (ไม่ทราบปีเกิด)
มีนาคม
[แก้]- 10 มีนาคม – หะริน หงสกุล อดีตประธานรัฐสภา (เกิด พ.ศ. 2457)
- 29 มีนาคม – หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล (ประสูติ พ.ศ. 2467)
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน – เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ แพทย์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2495)
พฤษภาคม
[แก้]- 8 พฤษภาคม – สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (เกิด พ.ศ. 2473)
- 19 พฤษภาคม – หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (เกิด พ.ศ. 2451)
- 25 พฤษภาคม – สง่า วัชราภรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ (เกิด พ.ศ. 2459)
มิถุนายน
[แก้]- 9 มิถุนายน – บุญสม มาร์ติน อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (เกิด พ.ศ. 2465)
- 20 มิถุนายน – กฤตติกุล บุญลือ ตำรวจชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2527)
- 29 มิถุนายน – ไสว จารุเสถียร ภริยาของประภาส จารุเสถียร (เกิด พ.ศ. 2461)
กรกฎาคม
[แก้]- 11 กรกฎาคม
- พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พระราชาคณะชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2460)
- จำรูญ ไชยลังการณ์ ครูชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2473)
- 22 กรกฎาคม – แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต (เกิด พ.ศ. 2454)
- 28 กรกฎาคม – พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2453)
สิงหาคม
[แก้]- 9 สิงหาคม – ยอดรัก สลักใจ นักร้องชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2499)
- 12 สิงหาคม – สมพร ยกตรี นักวิชาการชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2479)
- 13 สิงหาคม
- ไพศาล มาลาพันธ์ นักเขียนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2457)
- ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ นักวิชาการชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2487)
- 22 สิงหาคม – ศุลี มหาสันทนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (เกิด พ.ศ. 2462)
- 24 สิงหาคม – เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เกิด พ.ศ. 2473)
กันยายน
[แก้]- 7 กันยายน – พระสิทธิสารมุนี (ชวรัชต์ มุนิจโร) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2482)
- 12 กันยายน – จารุจินต์ นภีตะภัฏ นักชีววิทยาชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2493)
- 15 กันยายน
- หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่ อดีตคู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (เกิด พ.ศ. 2459)
- อภิชาติ หาลำเจียก นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2497)
- 29 กันยายน – อรุณ กิติยากร ณ อยุธยา ภริยาของหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร (เกิด พ.ศ. 2470)
ตุลาคม
[แก้]- 4 ตุลาคม – พรรณชื่น รื่นศิริ ครูชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2472)
- 7 ตุลาคม
- เมธี ชาติมนตรี นักเคลื่อนไหวชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2512)
- อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ นักเคลื่อนไหวชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2523)
- 12 ตุลาคม – เย็น แก้วมะณี ศตวรรษิกชนชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2443)
- 25 ตุลาคม – พยอม สีนะวัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2452)
พฤศจิกายน
[แก้]- 10 พฤศจิกายน – พระปัญญาพิศาลเถร (ทูล ขิปฺปปญฺโญ) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2468)
- 23 พฤศจิกายน – หม่อมเจ้าพงษ์พิศมัย เกษมสันต์ (ประสูติ พ.ศ. 2442)
- 30 พฤศจิกายน – มานิตย์ ภู่อารีย์ ศิลปินแห่งชาติ (เกิด พ.ศ. 2478)
- ไม่ทราบวัน – สมศักดิ์ ชัยสงคราม นักแสดงชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2481)
ธันวาคม
[แก้]- 3 ธันวาคม – พระครูนิภาวิหารกิจ (ดำ จนฺทสโร) พระสงฆ์ชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2484)
- 8 ธันวาคม – ปรีดา กรรณสูต อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง (เกิด พ.ศ. 2463)
- 14 ธันวาคม – สายัณห์ ดอกสะเดา นักแสดงตลกชาวไทย (เกิด พ.ศ. 2503)
- 24 ธันวาคม – เจี่ย ก๊กผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (เกิด พ.ศ. 2479)
ดูเพิ่ม
[แก้]- คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย มกราคม พ.ศ. 2551
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551
- การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551
- การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551
- พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ "ทักษิณเดินทางมาถึงประเทศไทย 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)