พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมงคลวุฒ

(เครื่อง สุภทฺโท)
คำนำหน้าชื่อพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณ หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท
ส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 (98 ปี)
มรณภาพ28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
บรรพชาพ.ศ. 2471
อุปสมบทพ.ศ. 2474
พรรษา77
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่รูปที่ 7, ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท) เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับท่านเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานวิชชาธรรมกาย, อดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่รูปที่ 7,ผู้ก่อตั้งและผู้มีคุณูปการต่อวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท)ท่านมีนามเดิมว่า เครื่อง นามสกุลประถมบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ณ บ้านค้อกำแพง (ปัจจุบันคือ บ้านหนองแปน) หมู่ที่ 3 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายสอน และ นางยม ประถมบุตร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 14 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 แต่พี่น้องเสียชีวิตไปในวัยเยาว์ 6 คน คงเหลืออยู่เพียง 8 คน ต่อมาเมื่อวัยเยาว์ตอนอายุได้ 8 ปี ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย กับลุงเกษ ประถมบุตร ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของท่าน ซึ่งเป็นครูสอนอยู่กับบ้านตอนเย็นหรือตอนกลางคืนเวลาว่าง ๆ เท่านั้น ครั้นต่อมาเมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลที่วัดสระกำแพงใหญ่ และมีพี่น้องของท่านได้เข้าไปเรียนหนังสือพร้อมกันถึง 3 คน แต่ว่าไม่มีใครช่วยพ่อแม่ทำเกษตรกรรมหรือเลี้ยงสัตว์ โยมพ่อจึงให้พี่น้องพลัดกันไปเรียนคนละวัน

ต่อมาหลวงปู่จึงได้ตัดสินใจมเล่าเรียนที่โรงเรียนคนเดียว ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นยประถมศึกษาปีที่ 2 ท่านเรียนได้ครึ่งปี รัฐบาลก็มีกำหนดใหม่เปลี่ยนแปลง ต่อมาท่านก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานเลี่ยงชีพ รับผิดชอบในหน้าที่ทุกอย่างของผู้หญิง เสียสละช่วยเหลืทอพ่อแม่ทุกอย่างทั้งงานบ้านและงานเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม [1] ต่อมาเมื่อมีอายุได้ 21 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2474 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดสำโรงน้อย หมู่ 6 ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูเทวราชกวีวรญาณ (จูม ธฺมมทีโป) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ใบฎีกาชม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุภทฺโท” ซึ่งแปลว่า “ผู้ประพฤติงาม” [2] และหลังจากอุปสมบทแล้ว โยมมารดาได้ล้มป่วยหนักและเสียชีวิตลง ต่อมาเมื่ออกพรรษา ญาติพี่น้องได้พูดขอร้องให้หลวงพ่อสึกออกมา หลวงพ่อท่านก็ยังไม่ตกลงใจ ก่อนที่จะสึกออกมา โยมพ่อของท่านบอกให้ท่านเป็นพระสงฆ์ต่อไป เพราะ ถึงอย่างไหนท่านก็ช่วยน้องไม่ได้ จงแสวงหาทางพ้นทุกข์เถิด [3]

ต่อมาท่านตัดสินใจเดินทางไปวัดทุ่งไชยเพื่อไปศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์ เป็นเวลา 2 เดือน ก่อนเดินทางต่อไปที่วัดบ้านยางใหญ่ ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ฝากตัวเป็นศิษย์กับพระอุปัชฌาย์สาย เจ้าอาวาส เพื่อขอเรียนบาลีและคัมภีร์มูลกัจจายน์ พระอุปัชฌาย์สาย เอ็นดูลูกศิษย์คนนี้มาก ด้วยผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจ ท่านเรียนได้ดี ทั้งในการแปลภาษาบาลีเป็นประโยคคล่องแคล่วและใส่สัมพันธ์ด้วย เริ่มตั้งแต่การสนธิ เป็นต้นไป จนกระทั่งท่านได้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2479 และได้สอบนักธรรมชั้นโทเมื่อปี พ.ศ. 2480 และต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพงพรต ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่ 10 ปี ก็พ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2494 และย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสระกำแพงใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2495 พร้อมกับได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ รูปที่ 7 [4]

ศึกษาธรรมจากพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

กระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๔๙๔ เดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร ไปขอเรียนวิชาธรรมกายจากหลวงพ่อเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตั้งใจทำสมาธิประพฤติแนววิชาธรรมกายอยู่ ๓ วัน ก็อำลาจากไป หลวงพ่อสด จนฺทสโร ถึงกับประกาศในหมู่ศิษย์ของท่านว่า หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโทได้บรรลุวิชาธรรมกายแล้วอำลาจากไป

จากนั้นท่านก็ตั้งใจปฏิบัติสมาธิกัมมัฏฐานตามป่า ถ้ำ ภูเขา อีกหลายแห่งด้วยความมุ่งมั่นมานะพยายามอย่างเต็มที่ ได้พบภาพนิมิตต่างๆ มากมาย เป็นงูบ้าง เป็นเสือบ้าง เป็นช้างบ้าง จะเข้ามาทำร้าย ซึ่งเป็นภาพนิมิตประหลาดๆ พิกลพิการไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ท่านไม่กลัวไม่หวาดหวั่น ควบคุมสติพิจารณา พยายามตีความด้วยปัญญา สามารถรู้ไปถึงอริยสัจธรรมแก่นแท้ได้

ช่วงปัจฉิมวัย

หลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านก็เปิดสอนพระปริยัติธรรม และได้พัฒนาวัดสระกำแพงใหญ่ รวมทั้งเป็นประธานก่อสร้างอาคาร วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกิดขึ้นที่วัดสระกำแพงใหญ่ และได้พัฒนาสร้างพัฒนาวัด เมรุ ศาลา กุฏิ ต่อมาท่านได้อาพาธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสะเกษเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และย้ายมารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งได้ละสังขารด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 รวมสิริอายุได้ 98 ปี บวชพระมาได้ 77 พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพงพรตได้ 10 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ได้ 56 ปี[5]

ลำดับสมณศักดิ์พัดยศ

อ้างอิง[แก้]

  1. [http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7733
    การบรรพชาและอุปสมบท
    หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท]
  2. ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
  3. ประวัติหลวงพ่อเครื่อง เกจิแห่งอีสาน
  4. "ผลงานของพระอริยสงฆ์สายธรรมยุติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.
  5. "หลวงปู่เครื่องมรณภาพแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๕, ตอนที่ ๓ ข, ๑๔ มกราคม ๒๕๕๑, หน้า ๘


ก่อนหน้า พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท) ถัดไป
หลวงพ่อคำ จนฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่
(พ.ศ. 2494 — พ.ศ. 2551)
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร