กู้น้อย วิถีชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กู้น้อย วิถีชัย
สถิติ
ชื่อจริงกู้น้อย มหัตถพงศ์
เอี้ยหยู แซ่เฮ้ง (ชื่อเดิม)
ฉายาไอ้หยู
น้ำหนักฟลายเวท
สัญชาติไทย
เกิด6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
ถนนเยาวราช จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2551 (74 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
รูปแบบการชกออร์โทด็อกซ์
สถิติขึ้นชก
ชกทั้งหมด18
ชนะ8
ชนะน็อก6
แพ้10 (3KOs)
เสมอ0
ไม่มีการตัดสิน0

กู้น้อย วิถีชัย (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 3 มกราคม พ.ศ. 2551) อดีตนักมวยสากลอาชีพของประเทศไทย เขาต่อสู้ในรุ่นฟลายเวท ในปี 2490–2500

ประวัติ[แก้]

กู้น้อยเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นบุตรของนายเช้ง และนางน้อย แซ่เฮ้ง มีชื่อจริงว่า กู้น้อย มหัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ที่ย่านเยาวราช จังหวัดพระนคร มีชื่อเดิมว่า เอี้ยหยู แซ่เฮ้ง หัดมวยครั้งแรกกับชิต อัมพงสิน หัวหน้าคณะวิถีชัย และขึ้นชกมวยไทยในต่างจังหวัดใช้ชื่อว่า กิมหยู วิถีชัย แฟนมวยและสื่อมวลชนจึงนิยมเรียกชื่อติดปากว่า "ไอ้หยู" ต่อมาจึงขึ้นชกที่เวทีราชดำเนินในชื่อ กู้น้อย วิถีชัย ขณะอายุเพียง 17 ปี ชกมวยไทยอยู่ระยะหนึ่ง แต่พอแพ้ศรีเดช สมานฉันท์อย่างบอบช้ำ จึงเปลี่ยนมาชกมวยสากล และเป็นคู่ซ้อมให้กับ บุญธรรม วิถีชัย นักมวยสากลชื่อดังค่ายเดียวกัน

กู้น้อยชกมวยสากลชนะนักมวยชื่อดังหลายคน เช่น สมานชัย ร.ฟ.ท., วีระ ฉวีวงษ์, วิทยา ราชวัฏ จนได้ครองแชมป์เวทีราชดำเนินรุ่นฟลายเวท เคยชกกับนักมวยระดับแชมป์โลกอย่าง โผน กิ่งเพชร และชาติชาย เชี่ยวน้อย มาแล้ว โดยเฉพาะกับโผนเคยชกกันถึง 3 ครั้งด้วยกันในสมัยที่โผนยังไม่ได้เป็นแชมป์โลก ในครั้งแรก กู้น้อยเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนนโผนไปได้ และครั้งที่ 2 กู้น้อยเป็นฝ่ายแพ้ที.เค.โอ.โผน ถึงขนาดอาเจียนออกมาเป็นน้ำบนเวที ที่เวทีมวยชั่วคราว ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 หน้าสวนลุมพินี และครั้งที่ 3 กู้น้อยเป็นฝ่ายแพ้คะแนนโผน และยังเคยชิงแชมป์ OPBF ถึง 3 ครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

เมื่อเลิกชกมวย กู้น้อยหันไปขับรถแท็กซี่และเป็นพนักงานขับรถของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงมาทำงานที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์จนเกษียณอายุ นอกจากนั้น ยังเคยเป็นเทรนเนอร์ให้กับนักมวยระดับอดีตแชมป์โลกถึง 3 คนคือ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, นภา เกียรติวันชัย และเมืองชัย กิตติเกษม ในช่วงที่เกษียณอายุแล้วยังเป็นเทรนเนอร์ให้กับนิวแสนเชิง ปิ่นสินชัย ด้วย

โผน กิ่งเพชร เคยกล่าวถึงกู้น้อยว่า ในชีวิตการชกมวยของตน คู่ชกที่เก่งที่สุดที่เคยพบมาไม่ใช่ ปาสกาล เปเรซ หรือ ไฟติ้ง ฮาราด้า หากแต่เป็น กู้น้อย วิถีชัย

ด้านชีวิตส่วนตัว กู้น้อยมีภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้าน ทั้งคู่มีลูกด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นลูกชาย 3 คน และลูกสาวเพียงคนเดียวซึ่งเป็นคนที่ 3 คือ บุษบา มหัตถพงศ์ หรือวีเจตะแง้ว อดีตวีเจชื่อดังในยุคก่อน พ.ศ. 2540[1]

กู้น้อยเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 ด้วยโรคอัลไซเมอร์ที่ป่วยมานานกว่า 4 ปี รวมอายุได้ 74 ปี รวมสถิติการชกทั้งหมด 99 ครั้ง ชนะ77 เสมอ 4 แพ้ 14 (ข้อมูลบันทึกการชกจากครอบครัวมหัตถพงศ์)

เกียรติประวัติ[แก้]

แชมป์ประเทศไทยรุ่นฟลายเวท (2499)
  • ชิง, 7 มีนาคม 2497 ชนะน็อค แสง จอมทอง ยก 6
  • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 15 เม.ย. 2499 ชนะน็อค โผน กิ่งเพชร ยก 7 ที่ กรุงเทพฯ
  • เสียแชมป์, 14 ตุลาคม 2499 แพ้คะแนน โผน กิ่งเพชร ที่ กรุงเทพฯ
เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
  • ชิงแชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวทเมื่อ 30 ตุลาคม 2497 แพ้น็อค แทนนี่ แคมโป (ฟิลิปปินส์)ยก 11 ที่ ฟิลิปปินส์
  • ชิงแชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวทเมื่อ 7 ธันวาคม 2498 แพ้คะแนน แดนนี่ คิด (ฟิลิปปินส์) ที่มะนิลา, ฟิลิปปินส์
  • ชิงแชมป์ OPBF รุ่นฟลายเวทเมื่อ 7 เมษายน 2503 แพ้คะแนน ซาดาโอะ ยาโออิตะ ที่ ญี่ปุ่น
เสื้อสามารถของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)

รวมประวัติการชก[แก้]

จากสมุดบันทึกของ กู้น้อย วิถีชัย[แก้]

  • ชกครั้งที่ 1 : 2 มกราคม 2494 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : นรสิงห์ ยอดใจเพชร / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (ใช้ชื่อกิมหยู วิถีชัย)
  • ชกครั้งที่ 2 : 10 มกราคม 2494 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : เอนก เทียมกำแหง / ผลการชก : ชนะ KO ยก 2
  • ชกครั้งที่ 3 : มีนาคม 2494 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : ปิคมี่ ทรงกิติรัตน์ / ผลการชก : ชนะ OK ยก 4 (เริ่มใช้ชื่อกู้น้อย วิถีชัย)
  • ชกครั้งที่ 4 : 13 เมษายน 2494 เวทีชลบุรี (ไทย) คู่ชก : อารีย์ ศรแดง / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 5 : 15 เมษายน 2494 เวทีชลบุรี (ไทย) คู่ชก : จเร เลือดระยอง / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 6 : พฤษภาคม 2494 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : หลาว เลิศฤทธิ์ / ผลการชก : เสมอ
  • ชกครั้งที่ 7 : มิถุนายน 2494 เวทีมหาชัย (ไทย) คู่ชก : มาโน ใจมีบุญ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 8 : กรกฎาคม 2494 เวทีตรัง (ไทย) คู่ชก : บุญพา ส.เย็นดี / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 9 : กรกฎาคม 2494 เวทีจันทบุรี (ไทย) คู่ชก : หนูน้อย สิงห์เมืองจันทร์ / ผลการชก : ชนะ KO ยกแรก
  • ชกครั้งที่ 10 : สิงหาคม 2494 เวทีราชสีมา (ไทย) คู่ชก : วิทยา (แขวงมีชัย) ราชวัฎ / ผลการชก : เสมอ (ชกครอง 5 ยก / เดิมพันข้างละหมื่น)
  • ชกครั้งที่ 11 : กันยายน 2494 / ผลการชก : ชนะ KO (ข้อมูลจากสมุดบันทึกบางส่วนหายไป)
  • ชกครั้งที่ 12 : ตุลาคม 2494 เวทีสะพานหิน (ไทย) คู่ชก : ทานตะวัน ลูกเมืองเพชร / ผลการชก : ชนะ KO ยกแรก
  • ชกครั้งที่ 13 : ตุลาคม 2494 เวทีสะพานหิน (ไทย) คู่ชก : เรืองยุทธ กฤษณะวรรณ / ผลการชก : ชนะ KO ยกแรก
  • ชกครั้งที่ 14 : ตุลาคม 2494 เวทีสะพานหิน (ไทย) คู่ชก : ประสิทธิ์ กฤษณะสุวรรณ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3 (แบกน้ำหนัก 3 กิโล)
  • ชกครั้งที่ 15 : พฤศจิกายน 2494 เวทีสุรินทร์ (ไทย) คู่ชก : ประชันชัย ลูกสุรินทร์ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 16 : 31 ธันวาคม 2494 เวทีตรัง (ไทย) คู่ชก : มังกร ส.แสงทิพย์ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 17 : 1 มกราคม 2495 เวทีตรัง (ไทย) คู่ชก : นิยม อมรบุตร / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 18 : 2 มกราคม 2495 เวทีตรัง (ไทย) คู่ชก : นิยม อมรบุตร / ผลการชก : เสมอ (ชกแก้ตัว)
  • ชกครั้งที่ 19 : กุมภาพันธ์ 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สง่า โพธิ์ทะเล / ผลการชก : ชนะ TKO ยกแรก (ขึ้นชกแทน บุญธรรม วิถีชัย)
  • ชกครั้งที่ 20 : มีนาคม 2495 เวทีลำปาง (ไทย) คู่ชก : จากค่ายเทพวิมาน (ข้อมูลจากสมุดบันทึกขาดหาย/เสียหาย)
  • ชกครั้งที่ 21 : เมษายน 2495 เวทีตรัง (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : สมณศักดิ์ ล่องมัยตยู / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (แบกน้ำหนัก 7 กิโล)
  • ชกครั้งที่ 22 : พฤษภาคม 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : เผชิญ พิชิตปรปักษ์ / ผลการชก : ชนะ TKO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 23 : มิถุนายน 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สมยศ สิงห์พันลภ / ผลการชก : ชนะคะแนน (ชก 6 ยก)
  • ชกครั้งที่ 24 : กรกฎาคม 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : อดุลย์ สิงห์พันลภ / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 25 : กรกฎาคม 2495 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : เคบาล ชัยณรงค์ / ผลการชก : ชนะ KO ยกแรก (แชมป์กองทัพ 3 ปี)
  • ชกครั้งที่ 26 : สิงหาคม 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สมเกียรติ ส.ส. / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 27 : กันยายน 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : วีระ บาร์โบส / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 28 : ตุลาคม 2495 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สมชาย ร.ส.พ. / ผลการชก : ชนะคะแนน (ชก 8 ยก)
  • ชกครั้งที่ 29 : พฤศจิกายน 2495 (ไทย /ไม่ได้ระบุสถานที่) คู่ชก : บรรเทิง ใจมีบุญ / ผลการชก : ชนะคะแนน (แชมป์กองทัพบก 4 ปี)
  • ชกครั้งที่ 30 : ธันวาคม 2495 เวทีเชียงใหม่ (ไทย) คู่ชก : สมอาจ เทียมกำแหง / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 31 : ธันวาคม 2495 เวทีลำปาง (ไทย) คู่ชก : ราวี กล้าศึก / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 32 : ธันวาคม 2495 เวทีลำปาง (ไทย) คู่ชก : วิทยา ราชวัฏ / ผลการชก : แพ้แตก TKO ยก 4)
  • ชกครั้งที่ 33 : 13 มกราคม 2496 เวทีแปดริ้ว (ไทย) คู่ชก : พร ร.ส.พ. / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 34 : 31 มกราคม 2496 เวทีแปดริ้ว (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : จำเริญ ทรงกิติรัตน์ / ผลการชก : (ชกโชว์)
  • ชกครั้งที่ 35 : 7 กุมภาพันธ์ 2496 เวทีคลองด่าน วัดหลวงพ่อปาน (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : นารายณ์ จิตโสภา / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 36 : 27 กุมภาพันธ์ 2496 เวทีราชดำเนิน (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : ศุภศักดิ์ สารคาม / ผลการชก : ชนะ KO ยก 7 (ป้องกันแชมป์)
  • ชกครั้งที่ 37 : มีนาคม 2496 เวทีคลองด่าน (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : สุวิทย์ สมานฉันท์ / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 38 : เมษายน 2496 เวทีราชดำเนิน (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : ประยุทธ์ ยนตรกิจ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 39 : กรกฎาคม 2496 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : นักมวยจากค่ายนภาพล (ข้อมูลบางส่วนหายไป) / ผลการชก : ชนะ KO ยก 2
  • ชกครั้งที่ 40 : 17 กรกฎาคม 2496 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : นักมวยจากค่ายเลิศฤทธิ์ (ข้อมูลบางส่วนหายไป) / ผลการชก : ชนะ KO ยก 2
  • ชกครั้งที่ 41 : 2 สิงหาคม 2496 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : ฤทธิรงค์ เลิศฤทธิ์ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 42 : 23 สิงหาคม 2496 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (สากล) คู่ชก : สปีดี้ อากีล่า / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3 (แชมป์รุ่น 112 ปอนด์ / ประเทศญี่ปุ่น)
  • ชกครั้งที่ 43 : 27 สิงหาคม 2496 ประเทศฟิลิปปินส์ (สากล) คู่ชก : ลาร์รี่ ไพน์ด้า / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (แชมป์รุ่น 112 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 44 : 24 ตุลาคม 2496 (ข้อมูลบางส่วนหายไป) คู่ชก : สำอาง ลูกทะเล / ผลการชก : ชนะ TKO ยก 4 (แชมป์แบนตั้มเวท)
  • ชกครั้งที่ 45 : พฤศจิกายน 2496 เวทีฉะเชิงเทรา (ไม่ได้ระบุ) คู่ชก : ศุภศักดิ์ พันธุรเกียรติ / ผลการชก : เสมอ
  • ชกครั้งที่ 46 : ธันวาคม 2496 (ข้อมูลบางส่วนหายไป) คู่ชก : ประยุทธ ยนตรกิจ / ผลการชก : ชนะคะแนน (ถูกหมัดฮุ๊กซ้าย ลงไปนับยก 4)
  • ชกครั้งที่ 47 : มกราคม 2497 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : ชุมพล ศรีอยุธยา / ผลการชก : ชนะ TKO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 48 : กุมภาพันธ์ 2497 เวทีราชดำเนิน (สาก) คู่ชก : จิตรลดา สมาคมิตร / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 49 : 4 มีนาคม 2497 เวทีราชดำเนิน(สากล) คู่ชก : แสง จอมทอง / ผลการชก : ชนะ KO ยก 7 (แชมป์รุ่น 122 ปอนด์ คนที่ 3 ของเวทีราชดำเนิน / คนที่ 1. จะเด็ด เลือดชลบท / คนที่ 2. แสง จอมทอง / คนที่ 3. กู้น้อย วิถีชัย)
  • ชกครั้งที่ 50 : เมษายน 2497 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สัมฤทธิ์ วัดอิ่ม / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (แชมป์แบนตั้มเวท ทบ.)
  • ชกครั้งที่ 51 : พฤษภาคม 2497 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : ศุภศักดิ์ รัตนสิทธิ์ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 52 : มิถุนายน 2497 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สุดใจ ศิลาชัย / ผลการชก : ชนะ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 53 : กรกฎาคม 2497 ประเทศญี่ปุ่น (สากล) คู่ชก : โอซากะ / ชนะ KO ยก 8 (รุ่นแบนตั้มเวท)
  • ชกครั้งที่ 54 : มกราคม 2498 เวทีราชสีมา (สากล) คู่ชก : เจริญ ทรงกิติรัตน์ / ผลการชก : ชกโชว์ (จัดโดย พลตรี เยี่ยม)
  • ชกครั้งที่ 55 : 7 กุมภาพันธ์ 2498 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : ศุภศักดิ์ สารคาม / ผลการชก : ชนะ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 56 : 2 มิถุนายน 2498 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : วรยุทธิ์ ยนตรกิจ / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 57 : 5 ตุลาคม 2498 เวทีปากน้ำ (สากล) คู่ชก : ลูกทะเล สิงห์สำอาง / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4
  • ชกครั้งที่ 58 : ตุลาคม 2498 (สากล) คู่ชก : แอนนี่คิด / ผลการชก : แพ้คะแนน (ชิงแชมป์ภาค รุ่น 112 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 59 : 7 มกราคม 2499 มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (สากล) คู่ชก : แทนนี่ แคมโป / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 60 : 25 มีนาคม 2499 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : เจริญ ราชวัฏ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 61 : 15 เมษายน 2499 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : โผน กิ่งเพชร / ผลการชก : ชนะ TKO ยก 9 (ป้องกันแชมป์)
  • ชกครั้งที่ 62 : เมษายน 2499 เวทีนครราชสีมา (สากล) คู่ชก : วิทยา ราชวัฏ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (แชมป์มวยสากล 118 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 63 : 5 พฤษภาคม 2499 มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (สากล) คู่ชก : ทอมมี่ เอิลซุอา / ผลการชก : แพ้ KO ยก 3 (ยกแรกทอมมี่ถูกนับ)
  • ชกครั้งที่ 64 : 14 กรกฎาคม 2499 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : โผน กิ่งเพชร / ผลการชก : แพ้ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 65 : 26 สิงหาคม 2499 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : วาฮัม สรแดง / ผลการชก : ชนะ KO ยก 5
  • ชกครั้งที่ 66 : (ข้อมูลเสียหาย/หายไป) / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 67 : 13 ตุลาคม 2499 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : โผน กิ่งเพชร / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 68 : 5 พฤศจิกายน 2499 บาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ (สากล) คู่ชก : อาลี / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 69 : 6 เมษายน 2500 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : พร พันธุลเกียรติ / ผลการชก : ชนะคะแนน (มวยไทย 4 ทัพ)
  • ชกครั้งที่ 70 : พฤษภาคม 2500 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : พร พัยธุลเกียรติ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 6
  • ชกครั้งที่ 71 : 1 มิถุนายน 2500 เวทีสุรนารี (สากล) คู่ชก : สกลนคร เมืองศล / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 72 : 6 กรกฎาคม 2500 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : บัวแก้ว ยนตรกิจ / ผลการชก : ชนะคะแนน (ศึก 4 เหล่าทัพ)
  • ชกครั้งที่ 73 : 7 สิงหาคม 2500 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : คาเตชิ ยามากุจิ (ชาวญี่ปุ่น) / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 74 : 14 กันยายน 2500 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : บัวแก้ว ยนตรกิจ / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 75 : กันยายน 2500 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (สากล) คู่ชก : มิซาโกะ / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 76 : 15 พฤศจิกายน 2500 ประเทศฟิลิปปินส์ (สากล) คู่ชก : ยิมฮัคมัน / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 77 : 14 เมษายน 2501 เวทีชลบุรี (สากล) คู่ชก : แดงต้อย / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 78 : 20 เมษายน 2501 เวทีราชดำเนิน (สาก) คู่ชก : แสงเพชร สุรพรหม / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 79 : 25 พฤษภาคม 2501 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : คิมูร่า / ผลการชก : ชนะ KO ยก 7
  • ชกครั้งที่ 80 : 20 กรกฎาคม 2501 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : สนธิชัย คะนองศึก / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 81 : 20 กันยายน 2501 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : ก้องไพร ลูกพลับชัย / ผลการชก : ชนะคะแนน
  • ชกครั้งที่ 82 : 28 ตุลาคม 2501 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : วิชัย ลูกมาตุลี / ผลการชก : ชนะ KO ยก 8 (รุ่น 118 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 83 : 25 พฤศจิกายน 2501 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : เลียว ซูลูต้า / ผลการชก : ชนะคะแนน (รองอันดับ 1 โลก)
  • ชกครั้งที่ 84 : 4 ธันวาคม 2501 เวทีชลบุรี (สากล) คู่ชก : แดงต้อย ศรีโสธร / ผลการชก : ชนะ KO ยก 4 (รุ่น 112 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 85 : 23 มกราคม 2502 เวทีศรีราชา (สากล) คู่ชก : วีรชัย คะนองศึก / ผลการชก : ชนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 86 : 3 กุมภาพันธ์ 2502 เวทีลุมพินี (สากล)คู่ชก : แสงเพชร สุรพรหม / ผลการชก : ชนะคะแนน (ชิงแชมป์ 112 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 87 : 2 เมษายน 2502 เวทีราชดำเนิน (สากล) คู่ชก : วีระน้อย เจริญเมือง / ผลการชก : ชนะคะแนน (รุ่น 118 ปอนด์)
  • ชกครั้งที่ 88 : 2 กรกฎาคม 2502 (ข้อมูลบางส่วนหายไป) (สากล) คู่ชก : วันชัย พยัคฆ์โสภณ / ผลการชก : ขนะ KO ยก 3
  • ชกครั้งที่ 89 : 13 กรกฎาคม 2502 เวทีราชดำเนิน (ไทย) คู่ชก : สนธิชัย คะนองศึก / ผลการชก : ชนะคะแนน (ชก 12 ยก)
  • ชกครั้งที่ 90 : 20 ตุลาคม 2502 เวทีลุมพินี (ไทย) คู่ชก : กุมารทอง ยนตรกิจ / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 91 : 7 พฤศจิกายน 2502 เวทีลุมพินี (ไทย) คู่ชก : สนธิชัย คะนองศึก / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 92 : 11 กุมภาพันธ์ 2503 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : ซาดาโอะ โยโออิตะ (ชาวญี่ปุ่น) / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • ชกครั้งที่ 93 : 7 เมษายน 2503 โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น (สากล) คู่ชก : เซกิ / ผลการชก : แพ้ KO
  • ชกครั้งที่ 94 : 2503 (ข้อมูลบางส่วนหายไป) ประเทศเขมร (สากล) / ผลการชก : ชนะ KO
  • ชกครั้งที่ 95 : 5 พฤศจิกายน 2503 ปีนัง ประเทศมาเลเซีย (สากล) คู่ชก : ลิตเตอร์ ปันโจ / ผลการชก : ชนะ KO ยก 9 (โค่นแชมป์ปีนัง)
  • ชกครั้งที่ 96 : 13 มกราคม 2504 เวทีลุมพินี (สากล) คู่ชก : ก้องไพร ลูกพลับชัย / ผลการชก : ชนะ KO ยก 8
  • ชกครั้งที่ 97 : 18 กุมภาพันธ์ 2504 เวทีบ้านบึง (สากล) คู่ชก : สมหวัง บ้านบึง / ผลการชก : แพ้คะแนน (สมหวัง ถูกนับ 2 ครั้ง)
  • ชกครั้งที่ 98 : 14 กรกฎาคม 2504 เวทีชลบุรี (สากล) คู่ชก : สิงห์ทอง พ.ท. / ผลการชก : แพ้คะแนน
  • 2505 คู่ชก : ชาติชาย เชี่ยวน้อย / ผลการชก : ชกโชว์ (2 ครั้งสุดท้าย ก่อนแขวนนวม)
ข้อมูลการชกทั้งหมดนี้ นำมาจากสมุดบันทึกส่วนตัวของกู้น้อย วิถีชัย ที่ให้ไว้กับครอบครัว ""มหัตถพงศ์"" เมื่อครั้งยังมีชีวิต (ก่อนปี 2551)
  • ข้อมูลการชกบางปีอาจไม่สมบูรณ์ เนื่องจากข้อมูลถูกบันทึกในสมุดด้วยลายมือ เป็นเวลาหลายสิบปี จึงเลือนลางและผุกร่อนบ้างเป็นบางส่วน

อ้างอิง[แก้]

  1. Minou (2016-06-10). "ชีวิตเรียบง่ายใต้ร่มเงาธรรมะ วีเจตะแง้ว บุษบา มหัตถพงศ์ (1)". GOODLIFeupdate.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 2017-11-04.
  • สถิติการชก boxrec.com[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
  • อำลาอาลัย กู้น้อย วิถีชัย อดีตแชมป์ 2 เวที คู่ปรับ โผน กิ่งเพชร.หนังสือพิมพ์สยามกีฬา. ปีที่ 23 ฉบับที่ 8343. วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551 หน้า 27.