จำรูญ ไชยลังการณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำรูญ ไชยลังการณ์
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2534
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2473
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (78 ปี)
อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ศาสนาคริสต์
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

ดร.จำรูญ ไชยลังการณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1] และเป็นอดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

ดร.จำรูญ ไชยลังการณ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน[2] พ.ศ. 2473 เป็นบุตรของนายปั๋น กับนางขันแก้ว ไชยลังการณ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ระดับปริญญาโทสาขามัธยมศึกษา จากมหาวิทยาลัยทัลชา รัฐโอคลาโฮมา และสาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย และปริญญาเอกทางการศึกษา สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยทัลชา รัฐโอคลาโฮมา

สมรสกับนางทองศรี สิทธานนท์ มีบุตรชาย 2 คน คือ พ.ต.อ.ศุภรักษ์ และนายศุภวิชญ์ ไชยลังการณ์

ดร.จำรูญ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[3] เวลา 02.00 น. ด้วยโรคหอบหืด ตับอักเสบบี ติดเชื้อในกระแสเลือด และโรคพาร์กินสัน

การทำงาน[แก้]

ด้านการศึกษา[แก้]

ดร.จำรูญ ทำงานเป็นครูสอนประจำโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย และเป็นอาจารย์ใหญ่/ผู้อำนวยการ[4] ในระหว่างปี พ.ศ. 2513 ถึงปี พ.ศ. 2534 เป็นกรรมการกองทุนสงเคราะห์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ปี พ.ศ. 2523-2527 เป็นกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2524-2527 เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยพายัพ ปี พ.ศ. 2520

ดร.จำรูญ เป็นหนึ่งในกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยพายัพ (มหาวิทยาลัยพายัพ ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2513[5]

ด้านการเมือง[แก้]

ดร.จำรูญ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ (ส.จ.) รวม 2 สมัย คือ ปี พ.ศ. 2516-2517 และปี พ.ศ. 2518-2522 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6][7] โดยการประสานงานของนายไกรสร ตันติพงศ์ ซึ่งจากการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกวิจารณ์ว่า ดร.จำรูญ เป็นม้ามืดที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ หลังจากนั้นเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก 3 ครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก จึงวางมือทางการเมืองในที่สุด[1]

ดร.จำรูญ เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย๋ ในปี พ.ศ. 2530[8]

ด้านอื่นๆ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2520 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาสมทบคดีเด็กและเยาวชนเชียงใหม่

อนุสรณ์[แก้]

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ได้ใช้ชื่อของจำรูญ ไชยลังการณ์ เป็นชื่ออาคารเรียน[9] เพื่อรำลึกถึงอดีตอาจารย์ใหญ่และเป็นเกียรติประวัติ

อาคารดังกล่าวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น ใต้ถุนอาคารเป็นลานโล่ง ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สอง สถาปนิกผู้ออกแบบคือ ประดิษฐ์ ราชแพทยาคม

อาคารจำรูญ ไชยลังการณ์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
  2. แสดงความยินดี ดร.จำรูญ ไชยลังการณ์[ลิงก์เสีย]สืบค้น 9 มีนาคม 2561
  3. ดร.อุทัย สื่อกระแสร์ ร่วมแสดงความเสียใจกับครอบครัว "ไชยลังการณ์"
  4. นมัสการระลึกถึง ดร.จำรูญ ไชยลังการณ์[ลิงก์เสีย]
  5. "คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาลัยพายัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  6. รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529
  7. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
  9. ข้อมูลโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๘ เก็บถาวร 2022-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๙

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรมการปกครอง. 2529