ข้ามไปเนื้อหา

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ ในงานเลี้ยงของสมาคมนักเขียน เมื่อ พ.ศ. 2526
ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ ในงานเลี้ยงของสมาคมนักเขียน เมื่อ พ.ศ. 2526
เกิด28 กรกฎาคม พ.ศ. 2461
ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เสียชีวิต16 มิถุนายน พ.ศ. 2546 (85 ปี)
นามปากกาชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
อาชีพนักเขียน

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546) เป็นนักเขียนเรื่องสั้น และนวนิยายแนวการผจญภัยในป่าดงดิบ และบทความสารคดีชุด "ราชสำนัก" และ "เมืองไทยในอดีต" ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2544

ประวัติ

[แก้]

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ เกิดที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรคนโตของ นายบุญชู และนางแฉล้ม เอี่ยมกระสินธุ์ มีน้องชายชื่อชวลิต และน้องสาวชื่อชุลี เมื่ออายุ 7 ปี ได้ย้ายมาอยู่กรุงเทพมหานคร ที่บ้านพักริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้วัดบพิตรพิมุข (วัดเชิงเลน) สะพานยาว

บิดาของชาลี เป็นครู และเป็นนักเขียน มีนามปากกาว่า "ช. เอี่ยมกระสินธุ์" ต่อมาได้ตั้งสำนักพิมพ์ อ.ก.ส. (ย่อมาจาก เอี่ยมกระสินธุ์) จัดพิมพ์นวนิยาย และเรื่องอ่านเล่น ทำให้ชาลีได้รับการปลูกฝังให้รักการอ่าน และการประพันธ์มาตั้งแต่เด็ก

การทำงาน

[แก้]

หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดปรินายก ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ เริ่มรับราชการที่ สำนักงาน ก.พ. ตั้งแต่ พ.ศ. 2479 เริ่มเขียนนวนิยายส่งหนังสือพิมพ์ ครั้งแรกชื่อเรื่อง "ธาตุของผู้หญิง" ในหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์รายวัน และเขียนการ์ตูนล้อเลียนในหนังสือพิมพ์สยามรีวิว ของ ชอ้อน อำพล ใช้นามปากกา "กระเบื้องแก้ว" "หอกหัก" "ด้ามสาก" "น้ำใสใจจริง" เริ่มเขียนนวนิยายส่งไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ "เอกชน" "ประมวญวัน" และ "นิกร" และเริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่อง "สุดหล้าฟ้าเขียว" ส่งเข้าประกวดรางวัลโบแดง ของหนังสือ "นิกรวันอาทิจ" เมื่อ พ.ศ. 2486 และได้รับรางวัลชนะเลิศ

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ เริ่มเขียนเรื่องเกี่ยวกับป่าดงดิบตั้งแต่ พ.ศ. 2493 โดยได้รับมอบหมายให้นำบันทึกเรื่องราว มาเรียงเรียงใหม่เป็นสำนวนของตัวเอง ตีพิมพ์ใน "พิมพ์ไทยรายวัน" เป็นบรรณาธิการ ชื่อเรื่อง "สิบห้าวันในป่ากะเหรี่ยง" โดยที่เจ้าตัวไม่เคยเข้าป่ามาก่อน และทำให้ต้องค้นคว้าเกี่ยวกับการเดินป่า ล่าสัตว์ และเขียนนวนิยายในแนวนี้ต่อมาอีกเป็นจำนวนมาก เรื่องที่มีชื่อเสียง เช่น

  • ชุมนุมฟ้าผ่า ตีพิมพ์ใน ปิยมิตรรายสัปดาห์
  • โป่งผี ตีพิมพ์ใน สกุลไทยรายสัปดาห์
  • เรื่องสมิงไพร ไพรมัจจุราช ไพรภยัคฆ์ ตีพิมพ์ใน เพลินจิตต์สามรส รายวัน
  • ไพรผาดำ ตีพิมพ์ใน นครไทยเบื้องหลังข่าว

อ้างอิง

[แก้]
  • ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์เมื่อข้าพเจ้าอยากเป็นนักประพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2538. 215 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-602-576-7
  • ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์ ดำรงค์ แสงชูวงศ์ 2 นักนิยมไพรร่วมกันจารึกความทรงจำจากป่าในอดีต[ลิงก์เสีย] นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2534