คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 31
คณะรัฐมนตรีถนอม 3 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 31 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2512 - 2514 | |
วันแต่งตั้ง | 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 |
วันสิ้นสุด | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (2 ปี 251 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ถนอม กิตติขจร |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคสหประชาไทย |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 30 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 32 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย (9 มีนาคม พ.ศ. 2512 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514)
จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2512[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ พันเอก นายวรการบัญชา ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย
[แก้]ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2512 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้
- พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายพจน์ สารสิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลโท แสวง เสนาณรงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
- พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- หลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- หม่อมราชวงศ์ทองแท่ง ทองแถม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายจิตติ สุจริตกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายมนูญ บริสุทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- หม่อมหลวงชูชาติ กำภู เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
- นายทวี แรงขำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายถวิล สุนทรศารทูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลเอก กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายสมบุญ ผ่องอักษร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสอาด หงษ์ยนต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
การปรับคณะรัฐมนตรี
[แก้]คณะรัฐมนตรีมีการแต่งตั้งเปลี่ยนแปลง คือ
เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2512
- นายบุญรอด บิณฑสันต์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ แทน ม.ล.ชูชาติ กำภู ที่ถึงแก่อนิจกรรม
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513
- พลตำรวจตรีสง่า กิตติขจร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนนายจิตติ สุจริตกุล ที่ถึงแก่อนิจกรรม
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2513
- พลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ถึงแก่อนิจกรรม
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513[2]
- พลเอกกฤษณ์ สีวะรา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ พ้นจากตแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
- นายมนูญ บริสุทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนพลโท อัมพร ศรีไชยยันต์ ที่ถึงแก่อนิจกรรม
- นายอภัย จันทวิมล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี คณะที่ 31 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะเหตุที่ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 19.00 น. โดยออกแถลงการณ์ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 เมื่อวันที่ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 มีเนื้อความสำคัญดังนี้
"ในระหว่างที่ยังไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายได้บัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิวัติหรือผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิวัติมอบหมาย"
ต่อมาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมตินำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทำให้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของคณะปฏิวัติ ที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะ