ประเทศเอสวาตินี

พิกัด: 26°30′S 31°30′E / 26.500°S 31.500°E / -26.500; 31.500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Swaziland)
ราชอาณาจักรเอสวาตินี

Umbuso weSwatini (สวาซี)
Kingdom of Eswatini (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของเอสวาตินี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
"Siyinqaba" (Swazi)
"เราคือป้อมปราการ"
"เราคือความลับ"
"เราซ่อนตัวเองเอาไว้"
"เราคือผู้ทรงพลัง"
เพลงชาติ
"อึนกูลุนกูลูอึมนีกาตีเวตีบูซีโซเตมาสวาตี"
"โอ้พระเจ้า ผู้ประทานพรแก่ชาวสวาซี'"

ที่ตั้งของ ประเทศเอสวาตินี  (น้ำเงินเข้ม) ในสหภาพแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน)
ที่ตั้งของ ประเทศเอสวาตินี  (น้ำเงินเข้ม)

ในสหภาพแอฟริกา  (น้ำเงินอ่อน)

เมืองหลวง

26°30′S 31°30′E / 26.500°S 31.500°E / -26.500; 31.500
เมืองใหญ่สุดอึมบาบานี
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
  • 84% สวาซี
  • 10% ซูลู
  • 3% ยุโรป
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยวแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3
สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี
Russell Dlamini
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร
• ได้รับเอกราช
6 กันยายน ค.ศ. 1968
24 กันยายน ค.ศ. 1968
ค.ศ. 2005[2][3][4]
• เปลี่ยนชื่อ
19 เมษายน ค.ศ. 2018
พื้นที่
• รวม
17,364 ตารางกิโลเมตร (6,704 ตารางไมล์) (อันดับที่ 153)
0.9
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
[5] (อันดับที่ 155)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2017
1,093,238[6]
68.2 ต่อตารางกิโลเมตร (176.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 135)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
10.463 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
9,186 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
4.211 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
3,697 ดอลลาร์สหรัฐ[7]
จีนี (ค.ศ. 2015)positive decrease 49.5[8]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.611[9]
ปานกลาง · อันดับที่ 138
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC+2 (เวลามาตรฐานแอฟริกาใต้)
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+268
โดเมนบนสุด.sz
เว็บไซต์
www.gov.sz

เอสวาตินี (สวาซี: eSwatini, ออกเสียง [ɛswáˈtʼiːni]; อังกฤษ: Eswatini, ออกเสียง: /ˌɛswɑːtˈiːni/) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเอสวาตินี (สวาซี: Umbuso weSwatini; อังกฤษ: Kingdom of Eswatini) และยังคงรู้จักกันในภาษาอังกฤษและในอดีตว่า สวาซีแลนด์ (อังกฤษ: Swaziland, ออกเสียง: /ˈswɑːzilænd/; เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2018)[10][11] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคแอฟริกาใต้ มีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศโมซัมบิก ส่วนทางเหนือ ตะวันตก และใต้ติดต่อกับประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยระยะทางจากเหนือจรดใต้ไม่เกิน 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) และจากตะวันออกจรดตะวันตก 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) เอสวาตินีจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในทวีปแอฟริกา

ประชากรของประเทศประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์สวาซีเป็นหลัก ภาษาที่ใช้แพร่หลายคือภาษาสวาซี (siSwati) ชาวสวาซีก่อตั้งอาณาจักรของตนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายใต้การนำของพระเจ้าอึงกวาเนที่ 3[12] ชื่อประเทศและกลุ่มชาติพันธุ์มาจากพระนามของพระเจ้าอึมสวาตีที่ 2 พระมหากษัตริย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ทรงขยายและรวมดินแดนสวาซีเป็นปึกแผ่น เขตแดนในปัจจุบันได้รับการกำหนดขึ้นใน ค.ศ. 1881 ในสมัยลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา[13] หลังจากสงครามบูร์ครั้งที่สอง ราชอาณาจักรสวาซีแลนด์ตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนกระทั่งได้รับเอกราชในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1968[14] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ราชอาณาจักรสวาซีแลนด์ ไปเป็น ราชอาณาจักรเอสวาตินี เพื่อสะท้อนถึงชื่อที่ใช้กันทั่วไปในภาษาสวาซี[15][16][11]

ประเทศนี้ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3มาตั้งแต่ ค.ศ. 1986[17][18] มีการจัดการเลือกตั้งทุก 5 ปี เพื่อกำหนดเสียงข้างมากในรัฐสภาและวุฒิสภา รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับการประกาศใช้ใน ค.ศ. 2005 งานประเพณีที่สำคัญที่สุดของประเทศคือพิธีระบำกกหรือ อุมลางกา ในเดือนสิงหาคม/กันยายน[19] และระบำราชันหรือ อิงวาลา ในเดือนธันวาคม/มกราคม[20]

เอสวาตินีเป็นประเทศกำลังพัฒนาและถูกจัดเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับล่าง เป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้และตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ โดยมีคู่ค้าหลักในภูมิภาคคือแอฟริกาใต้ สกุลเงินลีลังเกนีของเอสวาตินีถูกผูกค่าเงินไว้กับสกุลเงินรันด์ของแอฟริกาใต้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คู่ค้ารายใหญ่นอกภูมิภาคของเอสวาตินีคือสหรัฐ[21] และสหภาพยุโรป[22] การจ้างงานส่วนใหญ่ของประเทศนั้นมาจากภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต นอกจากนี้เอสวาตินียังเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาการแอฟริกาตอนใต้, สหภาพแอฟริกา, เครือจักรภพแห่งประชาชาติ และสหประชาชาติ

ประชากรของประเทศเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือเอชไอวี/เอดส์และวัณโรค (ในระดับที่น้อยกว่า)[23][24] มีการประมาณว่าประชากรผู้ใหญ่ร้อยละ 26 ติดเชื้อเอชไอวี ณ ค.ศ. 2018 เอสวาตินีมีการคาดหมายคงชีพสั้นที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยอยู่ที่ 58 ปี[25] ประชากรของประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาว โดยมีอายุมัธยฐานอยู่ที่ 20.5 ปี และประชากรที่มีอายุ 14 ปีหรือต่ำกว่ามีจำนวนร้อยละ 37.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ[26] อัตราการเติบโตของประชากรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.2

ประวัติศาสตร์[แก้]

ชนชาติสวาซีเป็นชนเผ่างูนี เดิมอาศัยอยู่ทางแอฟริกากลาง ชนชาติสวาซีหรือเผ่างูนี ได้เคลื่อนย้ายลงมาทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรเอสวาตินีในปัจจุบันประมาณปี ค.ศ. 1750 ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอึงวาเนที่ 3 จึงได้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรเอสวาตินีปัจจุบัน โดยครองราชย์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1780 เมื่อชนชาติเอสวาตินีอพยพลงมาอาศัยมาในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศนี้ ใหม่ ๆ ได้เกิดข้อขัดแย้งในการแย่งดินแดนกับชนเผ่าซูลู ซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าชนเผ่าสวาซี

ต่อมาเมื่อมีการขุดพบทองคำในภูมิภาคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1879 จึงมีคนผิวขาวจากยุโรปอพยพเข้าไปแสวงโชคกันมากและยึดดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเมืองขึ้น เอสวาตินีได้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาวเชื้อสายดัตช์ ซึ่งได้ครองดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ปัจจุบันด้วย ในขณะนั้นเรียกว่า Boer Republic of Transvaal ต่อมาคนเชื้อสายอังกฤษได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้และได้ทำสงครามชนะคนเชื้อสายดัช (Boer) เมื่อปี ค.ศ. 1903 เอสวาตินีจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหรือเป็น British High Commission Territory เอสวาตินีได้รับเอกราชเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ. 1968 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับเอกราช เอสวาตินีเคยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง

ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973-1977 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 แห่งราชวงศ์ดลามีนี ได้ทรงปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของเอสวาตินี โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศเอสวาตินีซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ปัจจุบันสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือราชอาณาจักรเอสวาตินีพยายามกดดันให้เอสวาตินีเปลี่ยนเปลงการปกครองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ก่อนการสวรรคตของพระเจ้าซอบูซาที่ 2 ในปี ค.ศ. 1982 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระมเหสีเจลีเว (Queen Dzeliwe) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าเจ้าชายมาคอเซตีเว (Prince Makhosetive) ซึ่งประสูติแต่พระสนมอึนตอมบี (Ntombi) จะบรรลุนิติภาวะพระชันษา 21 ปีบริบูรณ์ แต่หนึ่งปีต่อมาพระสนมอึนตอมบีได้ยึดอำนาจจากพระมเหสี หลังจากนั้นอีกสามปีเจ้าชายมาคอเซตีเวที่มีพระชันษา 18 ปี ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) แต่ก็ปกครองอาณาจักรร่วมกับพระมารดาในลักษณะพระมหากษัตริย์คู่จึงถึงปัจจุบัน[27]

การเมือง[แก้]

เมื่อเอสวาตินีเป็นประเทศเอกราชแล้ว ก็มีการปกครองปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ในปี 2520 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II) ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตราบถึงทุกวันนี้ แต่หลังการสวรรคตของกษัตริย์ซอบูซาที่ 2 ได้มีการสถาปนาพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 ซึ่งมีพระมารดาคือพระสนมอึนตอมบีเป็นผู้ปกครองร่วม ทำให้เกิดการแบ่งอำนาจในลักษณะที่เรียกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์คู่ (Dual Monarchy)[27] ซึ่งมีโครงสร้างการเมืองที่รวมศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์, พระมารดา และเหล่าเชื้อพระวงศ์ และพระญาติที่เป็นเพศชายของทั้งสองพระองค์[27] กษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือระบบศาลและการทหาร รวมไปถึงอำนาจในการแบ่งปันที่ดินแก่ราษฎรทั่วประเทศ แต่อำนาจเหล่านี้จะถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้ความร่วมมือจากพระมารดา[27]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เอสวาตินีแบ่งการปกครองใหญ่เป็น 4 จังหวัด คือ

ภูมิศาสตร์[แก้]

มีลักษณะเป็นที่ราบสูงและภูเขา

เศรษฐกิจ[แก้]

เศรษฐกิจของเอสวาตินีเป็นเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ พึ่งพิงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ประชาชนอยู่ในภาคการเกษตรกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของเอสวาตินียังผูกพันอยู่กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยประมาณร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ และร้อยละ 30 ของสินค้าส่งออกของเอสวาตินีส่งไปยังแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ระบบการเงินและการคลังรวมทั้งระบบภาษีศุลกากรของเอสวาตินีก็ผูกพันกับแอฟริกาใต้

ประชากร[แก้]

มีประชากรทั้งหมด 1,032,000 คน เป็นชาวแอฟริกันเป็นส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 81.6 [ต้องการอ้างอิง] ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้

วัฒนธรรม[แก้]

ชนเผ่าพื้นเมืองท้องถิ่นซึ่งยังคงรักษาซึ่งเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมของแต่ละชนเผ่า

อ้างอิง[แก้]

  1. (PDF) http://www.gov.sz/images/FinanceDocuments/Volume-3.pdf. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  2. "Laws" (PDF). wipo.int. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  3. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 September 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "Constitution" (PDF). gov.sz. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
  5. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  6. "Swaziland Releases Population Count from 2017 Census". United Nations Population Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
  7. 7.0 7.1 "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org.
  8. "Swaziland – Country partnership strategy FY2015–2018". World Bank. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  9. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  10. "Swaziland king changes the country's name". BBC News. 19 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  11. 11.0 11.1 "Kingdom of Swaziland Change Now Official". Times Of Swaziland. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
  12. Bonner, Philip (1982). Kings, Commoners and Concessionaires. Great Britain: Cambridge University Press. pp. 9–27. ISBN 0521242703.
  13. Kuper, Hilda (1986). The Swazi: A South African Kingdom. Holt, Rinehart and Winston. pp. 9–10.
  14. Gillis, Hugh (1999). The Kingdom of Swaziland: Studies in Political History. Greenwood Publishing Group. ISBN 0313306702.
  15. "Swaziland facts and guide as the country renamed the Kingdom of eSwatini". How Dare She (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 20 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.
  16. "UN Member States". United Nations. 30 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 June 2018.
  17. Tofa, Moses (16 May 2013). "Swaziland: Wither absolute monarchism?". Pambazuka News. No. 630. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2014. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
  18. "Swaziland: Africa′s last absolute monarchy". Deutsche Welle. 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
  19. "Cultural Resources – Swazi Culture – The Umhlanga or Reed Dance". Swaziland National Trust Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  20. kbraun@africaonline.co.sz. "Cultural Resources – Swazi Culture – The Incwala or Kingship Ceremony". Swaziland National Trust Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  21. "Swaziland | Office of the United States Trade Representative". Ustr.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  22. "Swaziland". Comesaria.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-10. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  23. "Projects : Swaziland Health, HIV/AIDS and TB Project". The World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  24. Swaziland: Dual HIV and Tuberculosis Epidemic Demands Urgent Action updated 18 November 2010
  25. "The Economist explains: Why is Swaziland's king renaming his country?". Economist.com. The Economist. 30 April 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
  26. "Swaziland Demographics Profile 2013". Indexmundi.com. 21 February 2013. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 นิติ ภวัครพันธุ์. สุกัญญา เบาเนิด. วันชาติมอญ:ทบทวนแนวคิดมานุษยวิทยาเรื่อง "รัฐ". จาก รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2551. หน้า 114

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]