ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์
ปัจจุบัน: รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 13
ไนน์เอนเตอร์เทน อวอร์ด
รางวัลสำหรับบุคคลในวงการบันเทิง ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
ประเทศ ไทย
จัดโดยอสมท
รางวัลแรก29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (15 ปี)
ตัวอย่างผู้ชนะรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งล่าสุด
← 2565 2566 2567 →
สาขา พระราชทานบันเทิงเทิดธรรม บุคคลเบื้องหลังแห่งปี
ผู้ชนะเลิศ ธงไชย แมคอินไตย์ นพพล โกมารชุน
 
สาขา นักแสดงชายแห่งปี นักแสดงหญิงแห่งปี
ผู้ชนะเลิศ มาริโอ้ เมาเร่อ ใหม่ เจริญปุระ
 
สาขา นักร้องเดี่ยวแห่งปี พิธีกรแห่งปี
ผู้ชนะเลิศ โบกี้ไลอ้อน กรรชัย กำเนิดพลอย

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด (อังกฤษ: Nine Entertain Awards) เป็นงานประกาศผลรางวัลแก่บุคคลในวงการบันเทิง ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ซึ่งจัดโดย ฝ่ายธุรกิจไนน์เอ็นเตอร์เทน สายงานโทรทัศน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ยกเว้นครั้งที่ 5 ที่จัดที่โรงละครแห่งชาติ) รวมถึงมีการถ่ายทอดงานทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี และ ทีวีดิจิตอล MCOT HD ช่อง 30 ด้วยเช่นกัน

ประวัติ[แก้]

การจัดการประกาศผลรางวัล “ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์” เกิดจากความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งปัจจุบันสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบันเทิงมีบทบาท และอิทธิพลทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อการดำเนินชีวิต และวิธีคิดของประชาชนมากกว่าในอดีต เพราะประชาชนสามารถเข้าถึง หรือบริโภคสื่อได้หลากหลายช่องทาง และรวดเร็วยิ่งขึ้น ประกอบกับการดำเนินงานของสื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น ช่วงชิงความสด ใหม่ ทันเหตุการณ์ และไม่ยึดติดกับกรอบหรือขนบเดิมๆ จนกระทั่งบางครั้ง อาจขาดการตรวจสอบ ที่รอบคอบเพียงพอ สิ่งที่ตามมาคือ การนำเสนอข่าวสาร และสาระบันเทิงของสื่อมวลชน กลายเป็นดาบสองคมที่ให้ทั้งคุณและโทษ แก่ผู้บริโภค กล่าวคือ ขณะที่สื่อทำหน้าที่ให้ความรู้ และความบันเทิงแก่ประชาชนอยู่นั้น ในนาทีเดียวกัน สื่อก็อาจยัดเยียดแนวความคิด และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือปลูกฝังค่านิยมผิดๆ แก่ประชาชนได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กและเยาวชน ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และผู้ที่ไม่รู้เท่าทันสื่อมวลชน


สีสันและเอกลักษณ์ของงาน[แก้]

เอกลักษณ์และสีสันของงานประกาศผลรางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ คือ การที่ไม่มีการแบ่งแยกค่ายสังกัดหรือสถานีโทรทัศน์ต่างๆโดยเปิดโอกาสให้บุคคลในวงการบันเทิงทุกคนได้มีโอกาสรับรางวัลอันทรงเกียรติ โดยหน้างาน บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก่อนที่จะเริ่มงานภายในหอประชุม จะมีแฟชั่นของบุคคลในวงการบันเทิงทั้ง ดารา นักร้อง รวมถึงคนเบื้องหลังในวงการบันเทิง บนพรมม่วง (Purple Carpet) โดยในงานประกาศผลรางวัลไนน์เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2552 นี้ ได้มีศิลปินกลุ่มจากประเทศเกาหลี วง ทูพีเอ็ม (2PM) มาสร้างสีสันและร่วมแสดงโชว์พิเศษบนเวทีด้วย

เพลงประจำการประกาศผลรางวัล[แก้]

เพลงธีม หรือ เพลงประจำการประกาศผลรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ คือเพลง "ด้วยหัวใจ" แต่งเนื้อร้องโดยนวฉัตร (สมควร มีศิลปสุข) และทำนองโดยอภิไชย เย็นพูนสุข ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ขับร้องผลัดเปลี่ยนขึ้นมาขับร้องเพลงนี้เพื่อเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยศิลปินที่เคยได้รับหน้าที่ในการขับร้องเพลงนี้ ได้แก่

ประติมากรรมรางวัล[แก้]

จากแนวความคิดที่ บมจ.อสมท ต้องการมอบ รางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ ให้แก่คนบันเทิงที่มี ความประพฤติดี มีน้ำใจต่อผู้อื่น และบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชน และประชาชนทั่วไป ศิลปิน (นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร) จึงได้ออกแบบประติมากรรม รางวัลนี้ บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดเป็นงานประติมากรรมสำริด รูปบุคคลยืนโค้งคำนับ รับเสียงปรบมือ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • ดาว หมายถึง สัญลักษณ์ของงาน (ไนน์เอ็นเตอร์เทน) และ หมายถึงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและความคิดฝัน
  • ลักษณะท่าทางโค้งคำนับ หมายถึง การนอบน้อม สำนึกในบุณคุณ ของประชาชน เป็นคนดีมีคุณธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน
  • ทรงผมปลิว หมายถึง บุคคลที่เป็นนักแสดง จะมีความเคลื่อนไหว พลังของการแสดงส่งผ่าน ให้เกิดลมที่ผ่านตัว ทำให้ผมปลิวไปด้านหลัง และอาจหมายถึงเสียงปรบมือ ของประชาชน ที่แปรเปลี่ยนเป็นพลัง เกิดแรงปะทะ ทำให้ผมปลิว
  • ชุดทักซิโด หมายถึง นักแสดงที่ยืนอยู่บนเวทีอันทรงเกียรติ
  • ฐานสูง หมายถึง นักแสดงหรือผู้ที่สร้างสรรค์สื่อบันเทิง ย่อมเป็นที่สนใจของประชาชน เสมือนกับยืนอยู่บนที่สูง เป็นที่จับตามองของผู้อื่น จึงต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดี การที่ยืนอยู่บนที่สูง จึงเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ตระหนักว่า เป็นบุคคลที่อยู่ในสายตาของประชาชน ควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ประเภทรางวัล[แก้]

รางวัลในงานประกาศผลไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ แบ่งออกเป็น 13 สาขา ดังนี้

  • รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม
  • รางวัลนักร้องชายแห่งปี
  • รางวัลนักร้องหญิงแห่งปี
  • รางวัลนักแสดงชายแห่งปี
  • รางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี
  • รางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งปี
  • รางวัลเพลงแห่งปี
  • รางวัลครอบครัวบันเทิงแห่งปี
  • รางวัลคนเบื้องหลังหญิงแห่งปี
  • รางวัลคนเบื้องหลังชายแห่งปี
  • รางวัลพิธีกรแห่งปี
  • รางวัลขวัญใจมหาชน

ต่อมาในปี 2552 ซึ่งงานประกาศผลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ได้มีการปรับเปลี่ยนรางวัลโดยนำเอารางวัล คนเบื้องหลังชายและหญิงแห่งปี มารวมกันเป็นรางวัลเดียว เป็นรางวัล บุคคลเบื้องหลังแห่งปี และเพิ่มรางวัล ทีมสร้างสรรค์แห่งปี ขึ้นมา

และในปี 2554 ซึ่งงานประกาศผลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ได้มีการปรับเปลี่ยนรางวัลโดยนำเอารางวัล นักร้องชายและหญิงแห่งปี มารวมกันเป็นรางวัลเดียว เป็นรางวัล นักร้องเดี่ยวแห่งปี และเพิ่มรางวัล นักร้องกลุ่มแห่งปี ขึ้นมา

รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม[แก้]

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลเกียรติยศ ที่ทรงคุณค่าที่สุดของวงการบันเทิง รางวัล “บันเทิงเทิดธรรม” เพื่อเชิดชูเกียรติคนบันเทิงที่มีคุณภาพและคุณธรรม ในโอกาสที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จะจัดงานประกาศผลรางวัลบันเทิงยอดเยี่ยมแห่งปี “ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด” จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานถ้วยรางวัลเกียรติยศ “บันเทิงเทิดธรรม” เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจ แก่ศิลปินนักแสดงที่มีความประพฤติดี ยึดมั่นในคุณธรรม และสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ เป็นเกียรติประวัติแก่วงการบันเทิงสืบต่อไป

รายชื่อผู้ได้รับรางวัล[แก้]

ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 (Nine Entertain Awards 2008) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 (Nine Entertain Awards 2009) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 (Nine Entertain Awards 2010) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4 (Nine Entertain Awards 2011) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน


ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 (Nine Entertain Awards 2012) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 ณ โรงละครแห่งชาติ และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 (Nine Entertain Awards 2013) จัดขึ้น วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7 (Nine Entertain Awards 2014) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 8[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 (Nine Entertain Awards 2015) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 9[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 9 (Nine Entertain Awards 2016) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ด้วยเช่นกัน

  • รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม : มยุริญ ผ่องผุดพันธ์
  • รางวัลนักแสดงชายแห่งปี : ศุกลวัฒน์ คณารศ
  • รางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี : ฝนทิพย์ วัชรตระกูล
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งปี : ฟรีแลนซ์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ
  • รางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี : สุดแค้นแสนรัก
  • รางวัลนักร้องเดี่ยวแห่งปี : ชลาทิศ ตันติวุฒิ
  • รางวัลนักร้องกลุ่มแห่งปี : klear
  • รางวัลเพลงแห่งปี : ไม่เคย : 25 Hours
  • รางวัลพิธีกรแห่งปี : สุวิกรม อัมระนันทน์
  • รางวัลครอบครัวแห่งปี : ครอบครัวเค้ามูลคดี
  • รางวัลบุคคลเบื้องหลังแห่งปี : ธงชัย ประสงค์สันติ
  • รางวัลทีมสร้างสรรค์แห่งปี : ทีมเขียนบทจากซีรีส์ HORMONES 3 THE FINAL SEASON
  • รางวัลขวัญใจมหาชน : จิรายุ ตั้งศรีสุข

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 10 (Nine Entertain Awards 2017) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2560 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 11[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 11 (Nine Entertain Awards 2018) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2561 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย [1] และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และ เฟซบุ๊ก ของ ไนน์เอ็นเตอร์เทน ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 12[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 12 (Nine Entertain Awards 2019) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และ เฟซบุ๊ก ของ ไนน์เอ็นเตอร์เทน ด้วยเช่นกัน

ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 13[แก้]

งานประกาศผลรางวัล ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 13 (Nine Entertain Awards 2023) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กของไนน์เอ็นเตอร์เทน ก่อนนำเทปบันทึกภาพมาออกอากาศอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ในวันเดียวกัน

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. 'แม่การะเกด'คว้าขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด เดลินิวส์ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561