อรชุมา ยุทธวงศ์
อรชุมา ยุทธวงศ์ | |
---|---|
เกิด | รองศาสตราจารย์ อรชุมา ยุทธวงศ์ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2490 |
การศึกษา | ปริญญาโท สาขาศิลปะการละคร มหาวิทยาลัยฮาวาย |
อาชีพ | ที่ปรึกษาการแสดง, นักวิชาการ, นักเขียน, คอลัมนิสต์, นักแสดง, ผู้กำกับรายการ |
คู่สมรส | ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ |
รองศาสตราจารย์ อรชุมา ยุทธวงศ์ (นามเดิม อรชุมา สูตะบุตร) อดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บุกเบิกการละครสำหรับเด็กในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]อรชุมา ยุทธวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายแพทย์ประมวลทรัพย์ สูตะบุตร กับนางชลิตา สูตะบุตร สมรสกับ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ มีบุตร 2 คน
อรชุมา เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมสาธิตปทุมวัน จนจบมัธยมปลาย (พ.ศ. 2508) และเข้าเรียนต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (พ.ศ. 2513) ต่อมาได้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญาโทด้านการละคร จากมหาวิทยาลัยฮาวาย (พ.ศ. 2517)
การทำงาน
[แก้]รองศาสตราจารย์ อรชุมา ยุทธวงศ์ เข้าทำงานเป็นอาจารย์ภาควิชาศิลปการละครที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นมีรองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล เป็นหัวหน้าภาควิชา และเป็นหัวหน้าภาควิชาในระหว่างปี พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530 ซึ่งในระหว่างการรับราชการ รองศาสตราจารย์ อรชุมา ได้ริเริ่มโครงการละครสำหรับเด็ก จัดละครเร่ไปตามสถานที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมงานกับศิลปินหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2548 ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในเทศกาลละครอาเซียน และผู้แทนประเทศไทยด้านทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงของอาเซียน และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ยังได้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) ต่อมาจึงเกษียณจากราชการก่อนกำหนด เพื่อมาทำงานเป็นศิลปินอิสระ ปัจจุบัน เป็นเจ้าของ คนละครสตูดิโอ ทำหน้าที่แอ็คติ้งโคช ให้คำปรึกษาด้านศิลปะการแสดง และการสื่อสารสำหรับนักแสดง นักร้อง พิธีกร ผู้ประกาศข่าว และผู้ที่ต้องการสื่อสารกับกลุ่มบุคคลหรือสาธารณชน และจัดทำเวิร์คชอปเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มบุคคลในสายอาชีพต่างๆ เช่น ผู้ทำงานสร้างสรรค์ ผู้ช่วยผู้กำกับ ผู้อำนวยการประชาสัมพันธ์ ทนายความ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ผู้บริหารการศึกษาระดับสูง นักการเมือง นักการเงินการธนาคาร นักบริหาร ผู้ทำรายการโทรทัศน์(JSL,TV Thunder,Modern Nine TV)
ประสบการณ์
[แก้]งานให้คำปรึกษานักแสดง
- ภาพยนตร์ สุริโยไท
- ภาพยนตร์ มหา'ลัยเหมืองแร่
- ภาพยนตร์ รถไฟฟ้ามาหานะเธอ
- ภาพยนตร์ แฝด
งานกำกับ
- รายการวิทยุศึกษาสำหรับเด็ก
- รายการโทรทัศน์ศึกษาสำหรับเด็ก "หุ่นหรรษา"
- ละครโทรทัศน์สำหรับเด็ก "บ้านพิลึก" "ดักแด้กับมะเดื่อ"
งานเขียน
- "ตำราสำหรับเด็กปฐมวัย" มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- "ท่องแดนละคร" รวมบทละครสำหรับเด็ก จากเอเชียและแปซิฟิค หนังสือส่งเสริมการอ่าน ระดับประถมศึกษา สำหรับกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
- หนังสือสำหรับเด็ก ชุด หนูนุ่น สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช
- "วันรุ่งของพรุ่งนี้" โครงการหนังสือใกล้ใจ จัดทำโดย มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
งานพากษ์
- รัก 7 ปี ดี 7 หน ตอน 42.195
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- นักเขียนชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- รองศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.