เพชรในเพลง 2564
เพชรในเพลง 2564 กรมศิลปากร โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมการประกวดเพลง “เพชรในเพลง” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อยกย่องบุคคลในวงการเพลงผู้มีผลงานดีเด่นด้านการใช้ภาษาไทย และสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ ทั้งการประพันธ์คำร้องและผู้ขับร้อง เนื่องจากเห็นว่าวงการเพลงเป็นวงการหนึ่งที่สะท้อนภาพและมีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน การพิจารณามอบรางวัลแก่นักร้อง นักแต่งเพลง ที่เป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาไทย เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ จึงเท่ากับเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยทางหนึ่ง สำหรับผลการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) โดยกรมศิลปากร(ศก.) มีผู้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 19 รางวัล ดังนี้ [1]
รางวัลเชิดชูเกียรติ[แก้]
- องค์กรสนับสนุนวัฒนธรรมดนตรีไทย ได้แก่ มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
- โครงการสืบสานเพลงไทยประทับใจในอดีต ได้แก่ โครงการ “ศาลาเฉลิมกรุง...สืบสานตำนานเพลง”
รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]
ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงศิลปินแห่งชาติ ผู้ประพันธ์ นายชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร
- รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เพลงลม ผู้ประพันธ์ นายณพสิน แสงสุวรรณ (หนุ่ม กะลา)
ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงแรงก้อนสุดท้าย ผู้ประพันธ์ นายสลา คุณวุฒิ
- รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เพลงแม่นั่งแลทาง ผู้ประพันธ์ น.ส.ธนภัค สิทธิชัย (ดวงพร สิทธิชัย)
ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต[แก้]
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงซากไม้ชายน้ำ ผู้ประพันธ์ นายพยัพ คำพันธุ์
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเขาเป็นหญิง เธอเป็นชาย ผู้ประพันธ์ นายสุทธิยงค์ เมฆวัฒนา (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]
การขับร้องเพลงไทยสากลชาย[แก้]
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงให้โลกได้เห็น (น้ำใจคนไทย) ผู้ขับร้อง นายธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด ธงไชย)
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงลม ผู้ขับร้อง นายณพสิน แสงสุวรรณ (หนุ่ม กะลา)
การขับร้องเพลงไทยสากลหญิง[แก้]
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงลมหายใจ ผู้ขับร้อง น.ส.ณัฐธิกา เอี่ยมท่าไม้
- รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงบัวขาว ผู้ขับร้อง น.ส.สาธิดา พรหมพิริยะ
การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงโธ่...น้องกลอย ผู้ขับร้อง นายธนพล สัมมาพรต (แจ๊ค ธนพล)
- รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เพลงแรงก้อนสุดท้าย ผู้ขับร้อง สิบเอก กิตติคุน บุญค้ำจุน (มนต์แคน แก่นคูน)
การขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงแฟนเก่าเขาลืม ผู้ขับร้อง น.ส.ภัทริยา รัตนพันธ์ (แอม ภัทริยา)
- รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เพลงเทิดทูนพระคุณท่าน ผู้ขับร้อง น.ส.ชญาภา พงศ์สุภาชาคริต (บูม ชญาภา)
การขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย[แก้]
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรักคนอื่นไม่ได้เลย ผู้ขับร้อง นายวิชาญ ศรีฟอง (รอน อรัณย์)
- รางวัลรองชนะเลิศ เพลงนักรบชุดขาว ผู้ขับร้อง นายวรพล นวลผกา (น็อต ไผ่ร้อยกอ)
การขับร้องเพลงเพื่อชีวิตหญิง[แก้]
- รางวัลชมเชย เพลงมนุษย์ ผู้ขับร้อง น.ส.ณริสสา ดำเนินผล (ฟ้า ขวัญนคร)
ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้กำหนดจัดพิธีมอบรางวัลในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคม เป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้เพิ่มความรุนแรงเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ และยังไม่อาจกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดได้แน่นอน ดังนั้น ในปีพุทธศักราช 2564 จึงงดจัดพิธีมอบรางวัล เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว โดยเน้นรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีกิจกรรมประกอบด้วย การเผยแพร่คำปราศรัย และบันทึกเทปโทรทัศน์การจัดกิจกรรมต่างๆ เผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์[2] และผลรางวัลเพชรในเพลง ปี พ.ศ. 2564 - 2565 มีพิธีมอบรางวัลในคราวเดียวกันในวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ. 2565[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ผลการประกวดเพลง "เพชรในเพลง" เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2564". กรมศิลปากร. 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
- ↑ "วธ.จัดมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2564 เน้นรูปแบบออนไลน์". กระทรวงวัฒนธรรม. 2021-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-26. สืบค้นเมื่อ 2022-04-06.
- ↑ "สุดปลื้ม! "เบิร์ด - ธงไชย" นำทีมศิลปิน เข้ารับรางวัล "เพชรในเพลง"". สยามรัฐ. 2021-07-26.