เพชรในเพลง 2558

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพชรในเพลง 2558 กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดงานมอบรางวัล ในวันที่วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ซึ่งตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมอบรางวัลสำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคลลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยมอบรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผลรางวัล ดังนี้ [1]

รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ[แก้]

  • ผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยเดิม โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล
  • ผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยสากล โดย นายกุลชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • ผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลงไทยลูกทุ่ง โดย นายชานนท์ ภาคศิริ (สุรินทร์ ภาคศิริ)
  • เพลงชุดดีเด่นสำหรับเด็ก โดย ชุดเด็กเจื้อยแจ้ว ผู้บริหารโครงการ นางพรพรรณ ชัยนาม
  • วงดนตรีเพลงสำหรับเด็ก โดย วงอุ่นไอวัยเยาว์ ผู้ควบคุมวง นายอนุสรณ์ สายนภา
  • รายการโทรทัศน์ผู้สร้างโอกาสศิลปินลูกทุ่ง โดย รายการชิงช้าสวรรค์ ผู้อำนวยการผลิตรายการ นายปัญญา นิรันดร์กุล

รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต[แก้]

  • ประเภทเพลงไทยสากล โดย เพลงชาวดง ผู้ประพันธ์ นายวิมล จงวิไล
  • ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง โดย เพลงอีสานบ้านเฮา ผู้ประพันธ์ นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา
  • ประเภทเพลงส่งเสริมคุณธรรม โดย เพลงรักกันไว้เถิด ผู้ประพันธ์ นายนคร ถนอมทรัพย์

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันพรุ่งนี้ ผู้ประพันธ์ นายประภาส ชลศรานนท์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอยากได้ยิน ผู้ประพันธ์ นายยืนยง โอภากุล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหัวใจให้แผ่นดิน วิญญาณให้ความรัก ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทวงรักฝากลม ผู้ประพันธ์ นายบำเรอ ผ่องอินทรกุล (โน้ต เชิญยิ้ม)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกระเป๋าสมปอง ผู้ประพันธ์ นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ (ศักดิ์สิริ มีสมสืบ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงพรจากปากแม่ ผู้ประพันธ์ นายสัญญารักษ์ ดอนศรีฐิติโชติ (สัญญลักษณ์ ดอนศรี)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงส่งเสริมคุณธรรม[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงนารีรัตนา ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา และศิลปินในโครงการปทุมมาสิกขาลัย
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก ผู้ประพันธ์ ฐิตวํโสภิกขุ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงสัจจะอุบาสก อุบาสิกา ผู้ประพันธ์ นางวาณี จูฑังคะ

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงอยากได้ยิน ผู้ขับร้อง นายยืนยง โอภากุล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหัวใจให้แผ่นดิน วิญญาณให้ความรัก ผู้ขับร้อง นายณัฐพนธ์ วงษ์สนิท (หวิว ณัฐพนธ์)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงความรักสวยงามเสมอ ผู้ขับร้อง นายธนทัต ชัยอรรถ (แกงส้ม เดอะสตาร์)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกลางพนา ผู้ขับร้อง นางดวงดาว เถาว์หิรัญ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงสัจจะอุบาสก อุบาสิกา ผู้ขับร้อง นางวาณี จูฑังคะ

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงกระเป๋าสมปอง ผู้ขับร้อง นายรวมมิตร คงชาตรี (จ่อย รวมมิตร ไมค์ทองคำ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงขอโง่อีกสักครั้ง ผู้ขับร้อง นายธนพล สัมมาพรต (แจ๊ค ธนพล อาร์สยาม)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงพรจากปากแม่ ผู้ขับร้อง นายยิ่งคุณ ประจันทอน (แมน มณีวรรณ อาร์สยาม)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทวงรักฝากลม ผู้ขับร้อง นางสาวสุทธิยา รอดภัย (ใบเฟิร์น สุทธิยา ไมค์ทองคำ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกุหลาบในใจน้อง ผู้ขับร้อง นางสาวฐิตาภา ใต้ไธสง (หญิง ธิติกานต์ อาร์สยาม)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลง เมรี ผู้ขับร้อง นางสาวนิภาพร บุญยะเลี้ยง นางสาวฐิฆพรณ์ บุญยะเลี้ยง (กระแต อาร์สยาม และ กระต่าย อาร์สยาม)

อ้างอิง[แก้]

  1. "บ้านเมือง - ยกย่องบุคคลด้านภาษาไทยและเพชรในเพลง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-12. สืบค้นเมื่อ 2015-08-29.