เพชรในเพลง 2549

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพชรในเพลง 2549 กระทรวงวัฒนธรรม โดย สำนักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร จัดงานมอบรางวัล ในวันที่วันที่ 29 กรกฎาคม 2549 ซึ่งตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยมอบรางวัลสำหรับนักร้อง เพลงไทยสากล ลูกทุ่ง ที่ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย เพื่อยกย่องบุคลลในวงการเพลงที่มีผลงานดีเด่นด้านภาษาไทย ทั้งนักประพันธ์เพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ด้านภาษา วรรณกรรม และนักร้องที่ร้องเพลงออกเสียงชัดเจน และถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยมอบรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ผลรางวัล ดังนี้ [1]

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงคนไทยจะกลายพันธุ์ ผู้ประพันธ์ สมพร บุญรอด
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเดือนหงายกลางป่า ผู้ประพันธ์ ป่อง ต้นกล้า (รังสิต จงฌานสิทโธ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงดอกไผ่บาน ผู้ประพันธ์ ยืนยง โอภากุล

ประเภทการประพันธ์ทำนองเพลงไทยสากล[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงดอกไผ่บาน ผู้ประพันธ์ ยืนยง โอภากุล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเดือนหงายกลางป่า ผู้ประพันธ์ ป่อง ต้นกล้า (รังสิต จงฌานสิทโธ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงสู้สุดใจ ผู้ประพันธ์ ชนะชัย ลีสกุล (นายอนุรักษ์ แซ่ลี้)

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงหอมกลิ่นข้าวจี่ ผู้ประพันธ์ สลา คุณวุฒิ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงดาวกลางดิน ผู้ประพันธ์ ธีระพล อมราพิทักษ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงวันเกิดใคร ผู้ประพันธ์ รศ.นภาลัย สุวรรณธาดา

ประเภทการประพันธ์ทำนองเพลงไทยลูกทุ่ง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงดาวกลางดิน ผู้ประพันธ์ ธีระพล อมราพิทักษ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงอยู่นาน ๆ นะ ผู้ประพันธ์ วิเชียร คำเจริญ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงทางเดินชาวดิน ผู้ประพันธ์ วสุ ห้าวหาญ

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงสำหรับเด็ก[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงเรียงความเรื่องแม่ ผู้ประพันธ์ สุทธิพงษ์ สมบัติจินดา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหยอดกระปุก ผู้ประพันธ์ ม่อน ด๊ะดาด (กฤตภาส ภาคินนิพิธ)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงต้นกล้าของแผ่นดิน ผู้ประพันธ์ วรรณพรรณ บุญชู

ประเภทการประพันธ์ทำนองเพลงสำหรับเด็ก[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงหยอดกระปุก ผู้ประพันธ์ ม่อน ด๊ะดาด (กฤตภาส ภาคินนิพิธ และ สุดแดน สุขเกษม)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเรียงความเรื่องแม่ ผู้ประพันธ์ วุฒิชัย สมบัติจินดา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงต้นกล้าของแผ่นดิน ผู้ประพันธ์ วรรณพรรณ บุญชู

ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยเดิม[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงนกกระจอกทองสองชั้น ผู้ประพันธ์ สุชาติ ธาราวาสน์

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย[แก้]

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจใครใจมัน ผู้ขับร้อง ไท ธนาวุฒิ (ธนาวุฒิ แก้วเพิก)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรักคนไทย ผู้ขับร้อง ธนพล อินทฤทธิ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงพลังเทียน ผู้ขับร้อง ยืนยง โอภากุล

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง[แก้]

ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงแกงคั่วกลางกรุง ผู้ขับร้อง ต๊ะ กิตติศักดิ์ ไชยชนะ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงกำลังใจในแววตา ผู้ขับร้อง ไมค์ ภิรมย์พร (พรภิรมย์ พินทะปะกัง)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงหนีรักมาพักดอยตุง ผู้ขับร้อง ไทด์ ธนาพล (สมศักดิ์ วงษา)

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงนักร้องของพ่อ ผู้ขับร้อง อั้ม นันทิยา ศรีอุบล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงรอที่พุมเรียง ผู้ขับร้อง รัชนก ศรีโลพันธุ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงไหว้คุณครู ผู้ขับร้อง แอม วันนิศา คำทรัพย์

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสำหรับเด็กชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงหยอดกระปุก ผู้ขับร้อง จ้า จ๊ะทิงจา (ประถมาภรณ์ รัตนภักดี)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงเรียงความเรื่องแม่ ผู้ขับร้อง กลุ่มนักเรียนสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านมหาเมฆ

ประเภทผู้ขับร้องเพลงสำหรับเด็กหญิง[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงสามประสาน ผู้ขับร้อง เด็กหญิงธันยพร คงแจ่ม
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงขอโทษค่ะคุณแม่ปลุก ผู้ขับร้อง เด็กหญิงฉัตรดาว เฉลิมนนท์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงต้นกล้าของแผ่นดิน ผู้ขับร้อง กองสังคีต สำนักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมชาย[แก้]

  • รางวัลชนะเลิศ ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงสืบสานศิลป์ ผู้ขับร้อง นายชัยพร ทับพวาธินท์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ เพลงนกกระจอกทองสองชั้น ผู้ขับร้อง นายสุริยพงษ์ บุญโกมล

ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยเดิมชายหญิง[แก้]

ไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัล

อ้างอิง[แก้]