หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา
หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา | |
---|---|
เครื่องหมายราชการของสำนักหอสมุดแห่งชาติ | |
ประเภท | หอสมุดแห่งชาติ |
ก่อตั้ง | 26 ธันวาคม 2530 |
สถานที่ตั้ง | ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |
พิกัด | 14°58′19″N 102°05′52″E / 14.971888°N 102.097884°E |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
แผนที่ | |
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา เป็นหน่วยงานสังกัด สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ก่อสร้างขึ้นโดยดำริของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ 40 พรรษา
การก่อสร้างเพื่อต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง
ประวัติความเป็นมา
[แก้]พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีดำริก่อสร้างหอสมุดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยต้องการให้เป็นอาคารที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด ทั้งงานด้านห้องสมุด และงานการประกอบ กิจกรรมต่างๆ ของชาวนครราชสีมา โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจของชาวจังหวัดนครราชสีมาและประชาชนชาวไทยทั่วสารทิศ ที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินและทรัพย์สิน เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารหอสมุด
- วันที่ 23 มีนาคม 2530 เริ่มวางศิลาฤกษ์ เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ออกแบบให้เป็นอาคารทรงไทยโดยกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร โดยมีนายเกรียงไกร สัมปัตชลิต เป็นสถาปนิก
- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา
- วันที่ 26 ธันวาคม 2530 เปิดบริการประชาชนเป็นครั้งแรก โดยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในพิธีเปิด[1]
การให้บริการ
[แก้]หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา จัดบริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ แยกตามห้องบริการ[2]
อาคาร 1
[แก้]- ชั้น 1
- ห้องหนังสือพิมพ์และวารสาร บริการวารสาร และหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ
- ห้องหนูรักหนังสือ บริการหนังสือสําหรับเด็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ต่างๆ
- ห้องฉายภาพยนตร์ 3 มิติ บริการฉายภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนผู้สนใจ อาคาร 1 ชั้น 2
- ห้องจัดกิจกรรมอเนกประสงค์ บริการการจัดประชุมสัมมนา สําหรับหน่วยงานต่าง ๆ
อาคาร 2
[แก้]- ชั้น 1
- ห้องหนังสือทั่วไป บริการหนังสือทั่วไป หมวด 000 – 800
- ห้องบริการอินเทอร์เน็ต บริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ และบริการข้อมูลออนไลน์จากฐานข้อมูลของหอสมุดแห่งชาติ
- ชั้น 2
- ห้องค้นคว้า บริการหนังสืออ้างอิง รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือทั่วไปหมวด 900 หนังสือท้องถิ่น หนังสือที่จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร และหนังสือภาษาต่างประเทศ
- ห้องอีสานศึกษา บริการเอกสารโบราณ เช่น คัมภีร์ใบลาน สมุดไทยดำ สมุดไทยขาว หนังสือหายาก และราชกิจจานุเบกษา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9". หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม.
- ↑ "การบริการภายในหอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9". หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม.