พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
Phimai National Museum | |
ก่อตั้ง | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2536 |
---|---|
ที่ตั้ง | ถนนท่าสงกรานต์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110 |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 15°13′29″N 102°29′40″E / 15.224810°N 102.494412°E |
ภัณฑารักษ์ | กรมศิลปากร |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เป็นพิพิธภัณฑ์หลักของภาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่ถนนท่าสงกรานต์ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทางด้านโบราณคดี ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ
[แก้]พ.ศ.2507 มีการดำเนินการขุดแต่งบูรณะปราสาทพิมาย จึงนำโบราณวัตถุที่ขุดค้น มาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งร่วมกับโบราณวัตถุที่ได้จากการ เก็บรวบรวมจากจังหวัดต่างๆ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในความดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร
พ.ศ.2518 ได้โอนพิพิธภัณฑสถานมาอยู่ในความรับผิดชอบของกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
พ.ศ.2532 กรมศิลปากร ดำเนินการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ให้ถูกต้องตามหลักพิพิธภัณฑสถานวิทยา โดยการจัดสร้างอาคารจัดแสดง สำนักงานและห้องประชุม โดยได้เสนอของบประมาณโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง ต่อจากนั้นก็ได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่องมาจนกระทั่ง ดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย อย่างเป็นทางการ[1]
พื้นที่จัดแสดง
[แก้]พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และจัดแสดงรากฐานและพัฒนาการของวัฒนธรรมอีสานตอนล่าง แถบลุ่มแม่น้ำมูล-แม่น้ำชี ในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 3,000 ปี มาแล้วจนถึงสมัยปัจจุบัน
- ส่วนที่ 1 อาคารจัดจัดแสดงชั้นบน
จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนแถบอีสานตอนล่าง รวมถึงรากฐานการกำเนิดวัฒนธรรม ซึ่งมีมาจากความเชื่อด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
- ส่วนที่ 2 อาคารจัดแสดงชั้นล่าง
จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปะเขมรในเขตอีสานตอนล่าง
- ส่วนที่ 3 อาคารจัดแสดงศิลาจำหลัก
จัดแสดงโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมหินทราย ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปราสาทหินในเขตอีสานตอนล่าง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑ์". มิวเซียมไทยแลนด์.