ประเทศเอสวาตินี
ราชอาณาจักรเอสวาตินี Umbuso weSwatini (สวาซี) Kingdom of Eswatini (อังกฤษ) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเอสวาตินี (น้ำเงินเข้ม) ในสหภาพแอฟริกา (น้ำเงินอ่อน) | |
เมืองหลวง |
26°30′S 31°30′E / 26.500°S 31.500°E |
เมืองใหญ่สุด | อึมบาบานี |
ภาษาราชการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ |
|
ศาสนา |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยวแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 | |
สมเด็จพระราชินีอึนตอมบี | |
Russell Dlamini | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร | |
• ได้รับเอกราช | 6 กันยายน ค.ศ. 1968 |
24 กันยายน ค.ศ. 1968 | |
ค.ศ. 2005[2][3][4] | |
• เปลี่ยนชื่อ | 19 เมษายน ค.ศ. 2018 |
พื้นที่ | |
• รวม | 17,364 ตารางกิโลเมตร (6,704 ตารางไมล์) (อันดับที่ 153) |
0.9 | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | [5] (อันดับที่ 155) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2017 | 1,093,238[6] |
68.2 ต่อตารางกิโลเมตร (176.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 135) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 10.463 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 9,186 ดอลลาร์สหรัฐ[7] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 4.211 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ |
• ต่อหัว | 3,697 ดอลลาร์สหรัฐ[7] |
จีนี (ค.ศ. 2015) | 49.5[8] สูง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.611[9] ปานกลาง · อันดับที่ 138 |
สกุลเงิน | |
เขตเวลา | UTC+2 (เวลามาตรฐานแอฟริกาใต้) |
ขับรถด้าน | ซ้าย |
รหัสโทรศัพท์ | +268 |
โดเมนบนสุด | .sz |
เว็บไซต์ www |
เอสวาตินี (สวาซี: eSwatini, ออกเสียง [ɛswáˈtʼiːni]; อังกฤษ: Eswatini, ออกเสียง: /ˌɛswɑːtˈiːni/) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเอสวาตินี (สวาซี: Umbuso weSwatini; อังกฤษ: Kingdom of Eswatini) และยังคงรู้จักกันในภาษาอังกฤษและในอดีตว่า สวาซีแลนด์ (อังกฤษ: Swaziland, ออกเสียง: /ˈswɑːzilænd/; เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2018)[10][11] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคแอฟริกาใต้ มีอาณาเขตทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศโมซัมบิก ส่วนทางเหนือ ตะวันตก และใต้ติดต่อกับประเทศแอฟริกาใต้ ด้วยระยะทางจากเหนือจรดใต้ไม่เกิน 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) และจากตะวันออกจรดตะวันตก 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) เอสวาตินีจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในทวีปแอฟริกา
ประชากรของประเทศประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์สวาซีเป็นหลัก ภาษาที่ใช้แพร่หลายคือภาษาสวาซี (siSwati) ชาวสวาซีก่อตั้งอาณาจักรของตนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภายใต้การนำของพระเจ้าอึงกวาเนที่ 3[12] ชื่อประเทศและกลุ่มชาติพันธุ์มาจากพระนามของพระเจ้าอึมสวาตีที่ 2 พระมหากษัตริย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ทรงขยายและรวมดินแดนสวาซีเป็นปึกแผ่น เขตแดนในปัจจุบันได้รับการกำหนดขึ้นใน ค.ศ. 1881 ในสมัยลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา[13] หลังจากสงครามบูร์ครั้งที่สอง ราชอาณาจักรสวาซีแลนด์ตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนกระทั่งได้รับเอกราชในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1968[14] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ราชอาณาจักรสวาซีแลนด์ ไปเป็น ราชอาณาจักรเอสวาตินี เพื่อสะท้อนถึงชื่อที่ใช้กันทั่วไปในภาษาสวาซี[15][16][11]
ประเทศนี้ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3มาตั้งแต่ ค.ศ. 1986[17][18] มีการจัดการเลือกตั้งทุก 5 ปี เพื่อกำหนดเสียงข้างมากในรัฐสภาและวุฒิสภา รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับการประกาศใช้ใน ค.ศ. 2005 งานประเพณีที่สำคัญที่สุดของประเทศคือพิธีระบำกกหรือ อุมลางกา ในเดือนสิงหาคม/กันยายน[19] และระบำราชันหรือ อิงวาลา ในเดือนธันวาคม/มกราคม[20]
เอสวาตินีเป็นประเทศกำลังพัฒนาและถูกจัดเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับล่าง เป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้และตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ โดยมีคู่ค้าหลักในภูมิภาคคือแอฟริกาใต้ สกุลเงินลีลังเกนีของเอสวาตินีถูกผูกค่าเงินไว้กับสกุลเงินรันด์ของแอฟริกาใต้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คู่ค้ารายใหญ่นอกภูมิภาคของเอสวาตินีคือสหรัฐ[21] และสหภาพยุโรป[22] การจ้างงานส่วนใหญ่ของประเทศนั้นมาจากภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิต นอกจากนี้เอสวาตินียังเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาการแอฟริกาตอนใต้, สหภาพแอฟริกา, เครือจักรภพแห่งประชาชาติ และสหประชาชาติ
ประชากรของประเทศเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือเอชไอวี/เอดส์และวัณโรค (ในระดับที่น้อยกว่า)[23][24] มีการประมาณว่าประชากรผู้ใหญ่ร้อยละ 26 ติดเชื้อเอชไอวี ณ ค.ศ. 2018 เอสวาตินีมีการคาดหมายคงชีพสั้นที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก โดยอยู่ที่ 58 ปี[25] ประชากรของประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาว โดยมีอายุมัธยฐานอยู่ที่ 20.5 ปี และประชากรที่มีอายุ 14 ปีหรือต่ำกว่ามีจำนวนร้อยละ 37.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ[26] อัตราการเติบโตของประชากรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.2
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชนชาติสวาซีเป็นชนเผ่างูนี เดิมอาศัยอยู่ทางแอฟริกากลาง ชนชาติสวาซีหรือเผ่างูนี ได้เคลื่อนย้ายลงมาทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรเอสวาตินีในปัจจุบันประมาณปี ค.ศ. 1750 ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอึงวาเนที่ 3 จึงได้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรเอสวาตินีปัจจุบัน โดยครองราชย์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1780 เมื่อชนชาติเอสวาตินีอพยพลงมาอาศัยมาในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศนี้ ใหม่ ๆ ได้เกิดข้อขัดแย้งในการแย่งดินแดนกับชนเผ่าซูลู ซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าชนเผ่าสวาซี
ต่อมาเมื่อมีการขุดพบทองคำในภูมิภาคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1879 จึงมีคนผิวขาวจากยุโรปอพยพเข้าไปแสวงโชคกันมากและยึดดินแดนในภูมิภาคนี้เป็นเมืองขึ้น เอสวาตินีได้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาวเชื้อสายดัตช์ ซึ่งได้ครองดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ปัจจุบันด้วย ในขณะนั้นเรียกว่า Boer Republic of Transvaal ต่อมาคนเชื้อสายอังกฤษได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้และได้ทำสงครามชนะคนเชื้อสายดัช (Boer) เมื่อปี ค.ศ. 1903 เอสวาตินีจึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหรือเป็น British High Commission Territory เอสวาตินีได้รับเอกราชเมื่อ 6 กันยายน ค.ศ. 1968 ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับเอกราช เอสวาตินีเคยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง
ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973-1977 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 แห่งราชวงศ์ดลามีนี ได้ทรงปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของเอสวาตินี โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และห้ามการจัดตั้งพรรคการเมือง นอกจากนี้ ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศเอสวาตินีซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้งเดิมเข้าด้วยกัน ปัจจุบันสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือราชอาณาจักรเอสวาตินีพยายามกดดันให้เอสวาตินีเปลี่ยนเปลงการปกครองเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ก่อนการสวรรคตของพระเจ้าซอบูซาที่ 2 ในปี ค.ศ. 1982 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระมเหสีเจลีเว (Queen Dzeliwe) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าเจ้าชายมาคอเซตีเว (Prince Makhosetive) ซึ่งประสูติแต่พระสนมอึนตอมบี (Ntombi) จะบรรลุนิติภาวะพระชันษา 21 ปีบริบูรณ์ แต่หนึ่งปีต่อมาพระสนมอึนตอมบีได้ยึดอำนาจจากพระมเหสี หลังจากนั้นอีกสามปีเจ้าชายมาคอเซตีเวที่มีพระชันษา 18 ปี ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 (Mswati III) แต่ก็ปกครองอาณาจักรร่วมกับพระมารดาในลักษณะพระมหากษัตริย์คู่จึงถึงปัจจุบัน[27]
การเมือง
[แก้]เมื่อเอสวาตินีเป็นประเทศเอกราชแล้ว ก็มีการปกครองปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ในปี 2520 สมเด็จพระราชาธิบดีซอบูซาที่ 2 (Sobhuza II) ทรงเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตราบถึงทุกวันนี้ แต่หลังการสวรรคตของกษัตริย์ซอบูซาที่ 2 ได้มีการสถาปนาพระเจ้าอึมสวาตีที่ 3 ซึ่งมีพระมารดาคือพระสนมอึนตอมบีเป็นผู้ปกครองร่วม ทำให้เกิดการแบ่งอำนาจในลักษณะที่เรียกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์คู่ (Dual Monarchy)[27] ซึ่งมีโครงสร้างการเมืองที่รวมศูนย์กลางอยู่ที่กษัตริย์, พระมารดา และเหล่าเชื้อพระวงศ์ และพระญาติที่เป็นเพศชายของทั้งสองพระองค์[27] กษัตริย์มีพระราชอำนาจเหนือระบบศาลและการทหาร รวมไปถึงอำนาจในการแบ่งปันที่ดินแก่ราษฎรทั่วประเทศ แต่อำนาจเหล่านี้จะถูกต้องตามกฎหมายและมีความชอบธรรมได้ก็ต่อเมื่อได้ความร่วมมือจากพระมารดา[27]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เอสวาตินีแบ่งการปกครองใหญ่เป็น 4 จังหวัด คือ
- จังหวัดโฮโฮ (Hhohho)
- จังหวัดลูบอมโบ (Lubombo)
- จังหวัดมันซีนี (Manzini)
- จังหวัดชีเซลเวนี (Shiselweni)
ภูมิศาสตร์
[แก้]มีลักษณะเป็นที่ราบสูงและภูเขา
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของเอสวาตินีเป็นเศรษฐกิจขั้นปฐมภูมิ พึ่งพิงภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ประชาชนอยู่ในภาคการเกษตรกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของเอสวาตินียังผูกพันอยู่กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยประมาณร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าจากแอฟริกาใต้ และร้อยละ 30 ของสินค้าส่งออกของเอสวาตินีส่งไปยังแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ระบบการเงินและการคลังรวมทั้งระบบภาษีศุลกากรของเอสวาตินีก็ผูกพันกับแอฟริกาใต้
ประชากร
[แก้]มีประชากรทั้งหมด 1,032,000 คน เป็นชาวแอฟริกันเป็นส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 81.6 [ต้องการอ้างอิง] ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้
วัฒนธรรม
[แก้]ชนเผ่าพื้นเมืองท้องถิ่นซึ่งยังคงรักษาซึ่งเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมของแต่ละชนเผ่า
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (PDF) http://www.gov.sz/images/FinanceDocuments/Volume-3.pdf.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Laws" (PDF). wipo.int. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 September 2019. สืบค้นเมื่อ 29 September 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Constitution" (PDF). gov.sz. สืบค้นเมื่อ 27 December 2019.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "Swaziland Releases Population Count from 2017 Census". United Nations Population Fund. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
- ↑ 7.0 7.1 "Report for Selected Countries and Subjects". imf.org.
- ↑ "Swaziland – Country partnership strategy FY2015–2018". World Bank. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Swaziland king changes the country's name". BBC News. 19 April 2018. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
- ↑ 11.0 11.1 "Kingdom of Swaziland Change Now Official". Times Of Swaziland. 18 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 25 May 2018.
- ↑ Bonner, Philip (1982). Kings, Commoners and Concessionaires. Great Britain: Cambridge University Press. pp. 9–27. ISBN 0521242703.
- ↑ Kuper, Hilda (1986). The Swazi: A South African Kingdom. Holt, Rinehart and Winston. pp. 9–10.
- ↑ Gillis, Hugh (1999). The Kingdom of Swaziland: Studies in Political History. Greenwood Publishing Group. ISBN 0313306702.
- ↑ "Swaziland facts and guide as the country renamed the Kingdom of eSwatini". How Dare She (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 20 April 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "UN Member States". United Nations. 30 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 June 2018.
- ↑ Tofa, Moses (16 May 2013). "Swaziland: Wither absolute monarchism?". Pambazuka News. No. 630. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2014. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
{{cite news}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Swaziland: Africa′s last absolute monarchy". Deutsche Welle. 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
- ↑ "Cultural Resources – Swazi Culture – The Umhlanga or Reed Dance". Swaziland National Trust Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ kbraun@africaonline.co.sz. "Cultural Resources – Swazi Culture – The Incwala or Kingship Ceremony". Swaziland National Trust Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Swaziland | Office of the United States Trade Representative". Ustr.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 July 2014. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Swaziland". Comesaria.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-10. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Projects : Swaziland Health, HIV/AIDS and TB Project". The World Bank. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ Swaziland: Dual HIV and Tuberculosis Epidemic Demands Urgent Action updated 18 November 2010
- ↑ "The Economist explains: Why is Swaziland's king renaming his country?". Economist.com. The Economist. 30 April 2018. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
- ↑ "Swaziland Demographics Profile 2013". Indexmundi.com. 21 February 2013. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 นิติ ภวัครพันธุ์. สุกัญญา เบาเนิด. วันชาติมอญ:ทบทวนแนวคิดมานุษยวิทยาเรื่อง "รัฐ". จาก รัฐจากมุมมองของชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน), 2551. หน้า 114
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Wikimedia Atlas of Eswatini
- Government of Eswatini
- Official Tourism Website
- Eswatini. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Swaziland from UCB Libraries GovPubs
- eSwatini from the BBC News
- Key Development Forecasts for Swaziland from International Futures
- บทความที่มีข้อความภาษาSwazi
- ประเทศในทวีปแอฟริกา
- ราชอาณาจักร
- เครือจักรภพราชาธิปไตย
- ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
- ประเทศเอสวาตินี
- อดีตอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์
- อดีตรัฐในอารักขาของอังกฤษ
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2511
- ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
- สมาชิกของสหภาพแอฟริกา
- สมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ
- สมาชิกของสหประชาชาติ
- ประเทศในแอฟริกาตอนใต้