ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอสารภี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ponpan (คุย | ส่วนร่วม)
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
อำเภอสารภีเดิมชื่อ '''อำเภอยางเนิ้ง''' ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี [[พ.ศ. 2434]] เหตุที่ใช้ชื่อว่าอำเภอยางเนิ้งเพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง คำว่า "ยาง" หมายถึง ต้น[[ยางนา]] ส่วนคำว่า "เนิ้ง" มาจาก[[ภาษาคำเมือง|ภาษาถิ่น]] หมายถึง "เอน, โน้มเอียง" เพราะเดิมเป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2460]] ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสารภี"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/40.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ] เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460</ref> ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ โดย "[[สารภี (พรรณไม้)|สารภี]]" เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีอายุยืน พบขึ้นมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี และที่อื่น ๆ<ref>http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=164&pv=13</ref> บริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้างชื่อ วัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกชุมชนว่า เวียงหมาก สันนิษฐานว่าเป็นเวียงชั้นนอกของ[[เวียงกุมกาม]]<ref name="อนุสรณ์ 100 ปี">สุขาภิบาลยางเนิ้ง อำเภอสารภี, ''อนุสรณ์ 100 ปี อำเภอสารภี'', เชียงใหม่, สำนักพิมพ์ บุณย์ศิริงานพิมพ์, 2534. [https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19174-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-100-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B5 ลิงก์หนังสือ]จากฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่</ref>
อำเภอสารภีเดิมชื่อ '''อำเภอยางเนิ้ง''' ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี [[พ.ศ. 2434]] เหตุที่ใช้ชื่อว่าอำเภอยางเนิ้งเพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง คำว่า "ยาง" หมายถึง ต้น[[ยางนา]] ส่วนคำว่า "เนิ้ง" มาจาก[[ภาษาคำเมือง|ภาษาถิ่น]] หมายถึง "เอน, โน้มเอียง" เพราะเดิมเป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อปี [[พ.ศ. 2460]] ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสารภี"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/A/40.PDF ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ] เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460</ref> ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ โดย "[[สารภี (พรรณไม้)|สารภี]]" เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีอายุยืน พบขึ้นมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี และที่อื่น ๆ<ref>{{Cite web |url=http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=164&pv=13 |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2009-12-02 |archive-date=2010-05-22 |archive-url=https://web.archive.org/web/20100522011716/http://www.amphoe.com/menu.php?am=164&pv=13&mid=1 |url-status=dead }}</ref> บริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้างชื่อ วัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกชุมชนว่า เวียงหมาก สันนิษฐานว่าเป็นเวียงชั้นนอกของ[[เวียงกุมกาม]]<ref name="อนุสรณ์ 100 ปี">สุขาภิบาลยางเนิ้ง อำเภอสารภี, ''อนุสรณ์ 100 ปี อำเภอสารภี'', เชียงใหม่, สำนักพิมพ์ บุณย์ศิริงานพิมพ์, 2534. [https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19174-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-100-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B5 ลิงก์หนังสือ]จากฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่</ref>


ในช่วงแรกอำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาได้รับการโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทราย [[อำเภอหางดง]] มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสารภี จึงรวมเป็น 12 ตำบล<ref name="อนุสรณ์ 100 ปี"/>
ในช่วงแรกอำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาได้รับการโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทราย [[อำเภอหางดง]] มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสารภี จึงรวมเป็น 12 ตำบล<ref name="อนุสรณ์ 100 ปี"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:04, 4 ตุลาคม 2564

อำเภอสารภี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Saraphi
คำขวัญ: 
ต้นยางใหญ่ ลำไยหวาน เมืองโบราณเวียงกุมกาม
พระนอนบวรงาม เชิดชูนามสารภี
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอสารภี
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอสารภี
พิกัด: 18°42′48″N 99°2′11″E / 18.71333°N 99.03639°E / 18.71333; 99.03639
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด97.45 ตร.กม. (37.63 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)
 • ทั้งหมด86,929 คน
 • ความหนาแน่น892.03 คน/ตร.กม. (2,310.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50140
รหัสภูมิศาสตร์5019
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสารภี เลขที่ 53 หมู่ที่ 3 ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สารภี (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาทุก ๆ ด้านจนเป็นอำเภอขนาดใหญ่ในแง่สถานประกอบการและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ของจังหวัด ได้รับประโยชน์มาจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ลำพูน ปัจจุบันอำเภอสารภีถือได้ว่ามีการพัฒนาจนสภาพความเจริญเป็นเขตเมืองที่เชื่อมต่อกับนครเชียงใหม่ มีประชากรหนาแน่นรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นอำเภอที่รองรับความเจริญของนครเชียงใหม่เพื่อขยายไปยังเมืองลำพูน

อำเภอสารภีเป็นอำเภอที่มีพื้นที่เล็กที่สุดและเป็นเพียงอำเภอเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่ไม่มีภูเขา นอกจากนี้อำเภอสารภียังมีจุดเด่น คือ ถนนสายต้นยาง[1]ซึ่งมีอายุกว่าร้อยปีเรียงรายตลอดสองข้างทาง มีความยาวเริ่มตั้งแต่เขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปจรดเขตอำเภอเมืองลำพูน

ประวัติ

อำเภอสารภีเดิมชื่อ อำเภอยางเนิ้ง ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2434 เหตุที่ใช้ชื่อว่าอำเภอยางเนิ้งเพราะตัวอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลยางเนิ้ง คำว่า "ยาง" หมายถึง ต้นยางนา ส่วนคำว่า "เนิ้ง" มาจากภาษาถิ่น หมายถึง "เอน, โน้มเอียง" เพราะเดิมเป็นป่ายาง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ท้าวพระยาขุน พร้อมด้วยราษฎรได้เสนอต่ออำมาตย์ตรีพันธุราษฎร นายอำเภอในสมัยนั้น เสนอให้เปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่เนื่องจากไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสารภี"[2] ซึ่งเป็นชื่อของตำบลหนึ่งในอำเภอ โดย "สารภี" เป็นชื่อของดอกไม้ไทยสีเหลืองมีกลิ่นหอม มีอายุยืน พบขึ้นมากที่วัดสารภี ตำบลสารภี และที่อื่น ๆ[3] บริเวณที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอปัจจุบันเดิมเป็นที่ตั้งของวัดร้างชื่อ วัดเชียงยืน มีกำแพงล้อมรอบ เรียกชุมชนว่า เวียงหมาก สันนิษฐานว่าเป็นเวียงชั้นนอกของเวียงกุมกาม[4]

ในช่วงแรกอำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล ต่อมาได้รับการโอนตำบลขัวมุงและตำบลสันทราย อำเภอหางดง มาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอสารภี จึงรวมเป็น 12 ตำบล[4]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอสารภีตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอสารภีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 106 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2561)[5]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2561)[5]
1. ยางเนิ้ง Yang Noeng 7 9,480 9,480 (ทต. ยางเนิ้ง)
2. สารภี Saraphi 10 7,955 585
7,370
(ทต. ยางเนิ้ง)
(ทต. สารภี)
3. ชมภู Chom Phu 9 7,321 7,321 (ทต. ชมภู)
4. ไชยสถาน Chai Sathan 8 6,269 6,269 (ทต. ไชยสถาน)
5. ขัวมุง Khua Mung 10 5,539 5,539 (ทต. ขัวมุง)
6. หนองแฝก Nong Faek 9 5,724 5,724 (ทต. หนองแฝก)
7. หนองผึ้ง Nong Phueng 8 15,205 143
15,062
(ทต. ยางเนิ้ง)
(ทต. หนองผี้ง)
8. ท่ากว้าง Tha Kwang 7 2,736 2,736 (ทต. ท่ากว้าง)
9. ดอนแก้ว Don Kaeo 7 4,104 4,104 (ทต. ดอนแก้ว)
10. ท่าวังตาล Tha Wang Tan 13 10,480 10,480 (ทต. ท่าวังตาล)
11. สันทราย San Sai 12 5,229 5,229 (ทต. สันทรายมหาวงศ์)
12. ป่าบง Pa Bong 6 4,584 4,584 (ทต. ป่าบง)
รวม 106 84,626 84,626 (เทศบาล)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสารภีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลยางเนิ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางเนิ้งทั้งตำบล บางส่วนของตำบลสารภี และบางส่วนของตำบลหนองผึ้ง
  • เทศบาลตำบลสารภี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสารภี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)
  • เทศบาลตำบลชมภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมภูทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองผึ้ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง)
  • เทศบาลตำบลสันทรายมหาวงศ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลไชยสถาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสถานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหนองแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแฝกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่ากว้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากว้างทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าวังตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังตาลทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลขัวมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวมุงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าบงทั้งตำบล

สถานที่สำคัญ

วัดปู่เปี้ย ภายในเมืองโบราณเวียงกุมกาม

อ้างอิง

  1. หนึ่งเดียวในไทย ถนนต้นยางนาอายุกว่า 150 ปี นับพันต้น รุกขมรดกของแผ่นดิน
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-22. สืบค้นเมื่อ 2009-12-02.
  4. 4.0 4.1 สุขาภิบาลยางเนิ้ง อำเภอสารภี, อนุสรณ์ 100 ปี อำเภอสารภี, เชียงใหม่, สำนักพิมพ์ บุณย์ศิริงานพิมพ์, 2534. ลิงก์หนังสือจากฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
  5. 5.0 5.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2561 จังหวัดเชียงใหม่ กรมการปกครอง