โรงเรียนนครสวรรค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนครสวรรค์
Nakhonsawan School
ตราวิมานเมฆ
ตราโรงเรียนนครสวรรค์
ที่ตั้ง
แผนที่
173 ถนนมาตุลี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ว.
N.W.
NSSC
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ
(ปัญญา คือ ลาภให้เกิดสุข)
สถาปนา21 กันยายน พ.ศ. 2439
(127 ปี 180 วัน)
ผู้ก่อตั้งพระครูธรรมฐิติวงศ์
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
รหัส07600101
ผู้อำนวยการนาง ชาญชัย ชนิดสะ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน3,109 คน (ปีการศึกษา 2566)
สี███ ม่วง
███ ขาว
เพลงมาร์ชนครสวรรค์
เว็บไซต์www.nssc.ac.th

โรงเรียนนครสวรรค์ เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประจำจังหวัดนครสวรรค์ รู้จักกันในนาม โรงเรียนชาย เดิมอยู่บริเวณวัดนครสวรรค์ และได้ย้ายมาอยู่บริเวณเชิงเขากบใกล้กับเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยในปัจจุบัน เปิดสอนในระดับชั้น ม.1- ม.6 เป็น แห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนศูนย์อาเซียน (Sister School) ของประเทศไทย

ซึ่งในปัจจุบันทางสมาคมศิษย์เก่าได้มีการจัดการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชิงทุนการศึกษาทุกปีเพื่อส่งเสริมอัจฉริยภาพและประสิทธิภาพของนักเรียนรวมถึงผู้สนใจโดยทั่วไป[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติโรงเรียน[แก้]

เจ้า อาวาสวัดโพธาราม จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีชื่อว่า“โรงเรียนธรรมฐิติวงศ์วิทยา” ใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน มีนักเรียนจำนวน 23 คน ต่อมาในปี พ.ศ 2456 ทางราชการได้อนุมัติงบประมาณสร้างอาคารเรียนใหม่ แยกออกจากศาลาการเปรียญเป็นโรงเรียนเอกเทศ เมื่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเปิดทำการสอนได้เพียง 9 เดือน เพลิงไหม้อาคารเรียนเสียหายอย่างหนัก กระทรวงธรรมการจึงได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 3,000บาท และได้ย้ายสถานที่จากวัดโพธารามมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่บริเวณวัดหัวเมือง (ปัจจุบัน คือวัดนครสวรรค์) จัดการเรียนการสอนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ปีพ.ศ. 2501 กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้ ทำการสอนในระดับชั้นเตรียมอุดมศึกษาจึง เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนนครสวรรค์” แล้วย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนมาอยู่ ในบริเวณป่าสักเชิงเขากบอันเป็นสถานที่ตั้งของ โรงเรียนในปัจจุบัน บริเวณนครสวรรค์ ป่าสัก เชิงเขากบนี้ เดิมเป็นที่ดินของราชพัสดุเต็มไปด้วยต้นสักที่อุดมสมบูรณ์ มีประชาชน ปลูกที่อยู่อาศัยกันเพื่อหาของป่า พระยา อรรถกวีสุนทร ซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลในขณะนั้น พร้อมด้วยขุนวิวรณ์สุขวิทยา และอาจารย์เกษม พุ่มพวง ได้ร่วมกันจับจองไว้ เพื่อจะใช้เป็นสถานที่สร้างโรงเรียนเกษตรกรรมแห่งใหม่ (เดิม อยู่ที่สถาบันราชภัฏนครสวรรค์ปัจจุบันนี้) แต่การสร้างโรงเรียนต้องระงับลงเนื่องจาก พระยาอรรถกวีสุนทรย้ายไปเนื่องจาก มีการยุบมณฑลนครสวรรค์ อย่างไรก็ตามยังถือว่าบริเวณป่าสักเป็นของกระทรวงศึกษาธิการอยู่

ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2479 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย หลวงบุรกรรมโกวิท ได้ มาราชการที่จังหวัดนครสวรรค์ ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้พูดปรารภกับจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า โรงเรียนนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดหัวเมืองมีพื้นที่ คับแคบมาก ต้อง การย้ายมาอยู่ในบริเวณป่าสักเชิงเขากบ และได้รับการเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ขุนวิวรณ์สุขวิทยา จึงได้นำเรื่องเสนอ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อ ของบประมาณก่อสร้าง ได้รับงบประมาณจำนวน 4 ล้านบาท ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติ ภายหลังขุนวิวรณ์สุขวิทยา นายอวยชัย ธนศรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยนายโชติ สุวรรณชิน ครูใหญ่โรงเรียนนครสวรรค์ในขณะนั้น ได้ริเริ่มดำเนินการสร้างต่อ แต่เนื่องจากเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ประสงค์จะใช้ที่บริเวณนี้ก่อสร้างสวนสาธารณะ ผู้ ริเริ่มก่อสร้างโรงเรียน จึงประสานงานขอความร่วมมือจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครอง และประชาชนเรียกร้องด้วยการเขียนข้อความ และเดินขบวนอย่างสงบในตลาดปากน้ำโพ ขอ ใช้บริเวณป่าสักเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน จนในที่สุดได้รับการอนุญาตจากทางราชการการก่อสร้างโรงเรียนครั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติงบประมาณสร้างรั้วและบ้านพักครู จำนวน 2 หลัง เป็นเงิน 100,000 บาท

ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 จึงอนุมัติงบประมาณ 800,000 บาท สร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จังหวัดและกรรมการศึกษาพร้อมด้วยพ่อค้าประชาชน เห็นว่าควรสร้างอาคารเป็นตึก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมี นายสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานกรรมการ ร่วมกับอาจารย์โชติ สุวรรณชิน และผู้ใหญ่อีกหลายคน ได้ จัดหาเงินงบประมาณในการก่อสร้างจากผู้มีจิตศรัทธา ได้เงินจำนวน 600,000.00 บาท สมทบกับงบประมาณที่ได้รับก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกโดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2504 โดย มี ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนนครสวรรค์ในพื้นที่ใหม่และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน คือ เลขที่ 173 ถนนมาตุลี อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ทั้งหมด 38 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา มีอาจารย์โชติ สุวรรณชิน เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก และได้พัฒนามาเป็นลำดับ จน กระทั่งในปี พ.ศ. 2511 ได้เข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบประสม (คมส) รุ่นแรก เปิดทำการสอนทั้งวิชาสามัญและสายอาชีพ ให้นักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจและความสามารถ ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และในปี พ.ศ. 2524 ได้ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่ โรงเรียน ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรในปี พ.ศ. 2531 โดยเริ่มใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2533 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533 ในปี พ.ศ. 2533 จนถึงปี พ.ศ. 2544 ในปี พ.ศ. 2545 ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำในการจัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาตาม หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2536 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้จัดการเรียนการสอน 2 โครงการ คือ โครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ลบส.)โดย นักเรียนสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนให้จบหลักสูตรก่อน 3 ปี และโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม ศึกษาซึ่งกรมสามัญศึกษาคัดเลือกเขตการศึกษาละ 1 โรงเรียน ต่อ มาได้จัดให้มีการเรียนการสอนโครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิกในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรับนักเรียนที่มีความสามารถตามเกณฑ์เข้าเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปี พ.ศ 2545 ได้ รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนาในการจัดทำ และใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดย ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 เป็นต้นมา

ในปีการศึกษา 2552 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และในปีการศึกษา 2553 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Spirit of ASEAN โดยให้จัดตั้งเป็นศูนย์อาเซียนศึกษาและโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐานสากล

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนนครสวรรค์[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระครูธรรมธิติวงศ์ พ.ศ. 2448-2451
2 พระครูสวรรค์นคราจารย์ พ.ศ. 2451-2456
3 ขุนบรรเจิดวิชาชาญ พ.ศ. 2456-2458
4 ขุนกุมาโรวาท พ.ศ. 2458-2462
5 ขุนเสขวุฒิศึกษา พ.ศ. 2462-2465
6 ขุนอภิรักษ์จรรยา พ.ศ. 2465-2470
7 นายสนิท มษามาน พ.ศ. 2470-2475
8 นายประเสริฐ เจริญโต พ.ศ. 2475-2477
9 นายเลื่อน วุฑฒยากร พ.ศ. 2477-2484
10 นายเทพ อินสุวรรณ พ.ศ. 2484-2485
11 นายถิ่น รัติกนก พ.ศ. 2485-2494
12 นายโชติ สุวรรณชิน พ.ศ. 2494-2509
13 นายสมบัติ แสงรุ่งเรือง พ.ศ. 2509-2514
14 นายภิรมย์ บุษยกุล พ.ศ. 2515-2519
15 นายอุเทน เจริญกูล พ.ศ. 2519-2523
16 นายชื่น ศรีสวัสดิ์ พ.ศ. 2523-2532
17 นายธีรพนธ์ กลางนภา พ.ศ. 2532-2539
18 นายเฉลิม หงษ์สัมฤทธิ์ พ.ศ. 2539-2542
19 นายวิวัฒน์ อนิวรรตกูล พ.ศ. 2543-2546
20 นางสาวบุบผา เสนาวิน พ.ศ. 2546-2553
21 นางสาวเพ็ญจรัส สิงห์ทอง พ.ศ. 2554-2556
22 ดร.วินัย ทองมั่น พ.ศ. 2557-2559
23 นายพันศักดิ์ ศรีทอง พ.ศ. 2560-2563
24 ดร.จงกล เดชปั้น พ.ศ. 2563-2566
25 นายชาญชัย ชนิดสะ พ.ศ. 2566-2567
26 ดร.ชาญณรงค์ ยาสุทธิ พ.ศ. 2567-2569

แผนการเรียน[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้อง 1-5 โครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิก
  • ห้อง 6-12 แผนการเรียนปกติ

มัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้อง 1-5 โครงการดาวรุ่งมุ่งโอลิมปิก (ม.3 เดิม)
  • ห้อง 6-9 โครงการห้องเรียน พสวท. สมทบ
  • ห้อง 10-12 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • ห้อง 13 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์(เน้นภาษา)
  • ห้อง 14 MP Program (ภาษาต่างประเทศ)
  • ห้อง 15 Laboratory (ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์)
  • ห้อง 16 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

คณะสี[แก้]

  1. ███ คณะศิวาลัย(Siwalai) สีน้ำเงิน ห้อง 1,12,15
  2. ███ คณะเพชราวุธ(Pinker) สีชมพู ห้อง 2,11,13
  3. ███ คณะพิณทิพย์(Pintip) สีเลือดหมู ห้อง 3,10,14
  4. ███ คณะตรีโลกนาถ(Azure) สีฟ้า ห้อง 4,9,16
  5. ███ คณะนารายณ์(Narai) สีเขียว ห้อง 5,8
  6. ███ คณะเอราวัณ(Erawan) สีแสด ห้อง 6,7

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]