โรงเรียนธัญรัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนธัญรัตน์
Thanyarat School
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนธัญรัตน์
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นธ.ร.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญคติพจน์
ลูกธัญรัตน์ ชาวธัญบุรี ต้องทำแต่ความดี
ปรัชญา
ปญฺญา กิติสิ โลกวฑฺฒนี
ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง
สถาปนา7 มิถุนายน พ.ศ. 2499
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1013270185 (ใหม่)
01130302 (เก่า)
ผู้อำนวยการนายสาคร ไปด้วย
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี██████ สีเขียว-สีขาว
เพลงเพลงประจำโรงเรียนธัญรัตน์
เว็บไซต์http://www.thanyarat.ac.th

โรงเรียนธัญรัตน์ เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 (ปทุมธานี สระบุรี) (สังกัดเดิมคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2) ตั้งอยู่เลขที่ 104 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

โรงเรียนธัญรัตน์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยมีชื่อเดิมว่าโรงเรียนรังสิต เปิดสอนในระดับประถมศึกษา ต่อมาจึงได้เปลี่ยนระบบการสอนจากระดับประถมศึกษาเป็นระดับมัธยมศึกษา และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนธัญรัตน์[1]

โรงเรียนธัญรัตน์ เป็นหนึ่งในโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School)จาก 9 โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี เป็นที่ตั้งของศูนย์คณิตศาสตร์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2 และเป็นโรงเรียนหนึ่งที่รองรับนักเรียนจากพื้นที่อำเภอธัญบุรีที่มีความยาวมากซึ่งนักเรียนอาจไม่สะดวกมาเรียนที่โรงเรียนประจำอำเภอ(โรงเรียนธัญบุรี)ได้

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2566) โรงเรียนธัญรัตน์เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา การจัดชั้นเรียนแบบ 15-15-15/14-14-14 รวม 87 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 3,362 คน และบุคลากรครู 165 คน [2]

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนธัญรัตน์เดิมเป็นโรงเรียนประถมศึกษามีชื่อเดิมว่าโรงเรียนรังสิต มีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 2 งาน 90.25 ตารางวา มีรูปลักษณะคล้ายตัวที (T) จัดตั้งตามหนังสือของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 360/2499 ลงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2499 โดยมีนายประสิทธิ์ เจริญชอบ ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ รักษาการแทนในตำแหน่งครูใหญ่ โดยในครั้งนั้นมีครู 1 คน นักเรียน 42 คน

วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519 ได้ยกฐานะจากโรงเรียนประถมศึกษาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและเปลี่ยนชื่อโรงเรียนรังสิตเป็นโรงเรียนธัญรัตน์[1]

อาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน[แก้]

อาคารรัชมังคลาภิเษก (อาคาร 1)[แก้]

เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นละ 3-6 ห้อง เป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องราชพฤกษ์
  • ห้องประชาสัมพันธ์
  • ห้องกิจการนักเรียน
  • ห้องบริหารงานทั่วไป
  • ห้องธุรการ
  • ห้องผู้อำนวยการ
  • ห้องรองผู้อำนวยการ
  • ห้องทะเบียน
  • ห้องวัดผล
  • ห้องแผนงาน
  • ห้องพัสดุ
  • ห้องพักครูภาษาไทย
  • ห้องโสตภาษาไทย
  • ห้องเรียนนักเรียนมปลาย

อาคารรัตนโกสินทร์ (อาคาร 2)[แก้]

เป็นอาคาร 4 ชั้น เดิมชั้นหนึ่งของอาคารเป็นใต้ถุนเปิดโล่ง ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นห้องต่างๆ เป็นที่ตั้งของบางส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา บางส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ บางส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รวมถึงห้องโสตทัศนศึกษาและห้องเรียน ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องโสตทัศนศึกษา
  • ห้องพัฒนาสื่อการสอน
  • ห้องพักครูต่างๆ
  • ห้องภาพพิมพ์
  • ห้องปฏิบัติการศิลปศึกษา
  • ห้องเรียน ECP
  • ห้องแนะแนว
  • ห้องโสตแนะแนว
  • ห้องสมุดภาษาอังกฤษ
  • ห้องพักครูภาษาอังกฤษ
  • ห้องปฏิบัติการทางภาษา
  • ห้องเรียน[2]

อาคารรัตนโกสินทร์สมโภช (อาคาร 3)[แก้]

เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นละ 6 ห้อง เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนต้น
  • ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ห้องอุปกรณ์
  • ห้องวิทยาศาสตร์ออนไลน์
  • ห้องอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
  • ห้องอุปกรณ์วิทยาศาสตร์
  • ห้องซ่อม-สร้างสื่อ
  • ห้องโสตกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์
  • ห้องอุปกรณ์ฟิสิกส์
  • ห้องเรียน[2]

อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 4)[แก้]

เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นละ 3-5 ห้อง เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องกระจายเสียง
  • ห้องพยาบาล
  • ร้านค้าสวัสดิการโรงเรียน
  • ห้องฝึกซ้อมดนตรีสากล
  • ห้องพักครูสุขศึกษา-พลศึกษา
  • ธนาคารโรงเรียน
  • ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
  • ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
  • ห้องโสตกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
  • ห้องจริยธรรม
  • ห้องเรียน[2]

อาคารกาญจนาภิเษก(อาคาร 5)[แก้]

เป็นอาคาร 9 ชั้น ชั้นละ 5 ห้อง เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และโรงอาหารของโรงเรียน ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องพักครูศิลปะ
  • ห้องเรียนศิลปะ
  • ห้องปฏิบัติการเทเบิล เทนนิส
  • ห้องปฏิบัติการมวยไทยและมวยสากล
  • ห้องปฏิบัติการวาดภาพ
  • โรงอาหาร
  • ห้องอาหารครู – อาจารย์
  • ห้องล้างจาน
  • ห้องพักครู
  • หอประชุมกาญจนาภิเษก
  • ห้องดนตรีซ้อมดุริยางค์
  • ห้องนาฏศิลป์
  • ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ห้องโสตทัศนศึกษาของกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
  • ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • ห้องเรียน[2]

อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2554 (อาคาร 6)[แก้]

เป็นอาคาร 5 ชั้น ชั้นละ 10 ห้อง เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • บริเวณจัดงานสถานที่ นิทรรศการและห้องประชุม
  • ห้องเรียน GIFTED
  • ห้องเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และปลาย
  • ห้องสมุด
  • ห้องเรียน ECP
  • ห้องปฏิบัติการครูคอมพิวเตอร์
  • ห้องคอมพิวเตอร์
  • ชั้นล่างใช้จัดการประชุมระดับนักเรียน

อาคาร (อาคาร 7)[แก้]

เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นละ 4 ห้อง ประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้

  • ห้องเรียน
  • ห้องประชุมย่อย
  • จำหน่ายกระเป๋านักเรียนและชุดพละ
  • ชั้นล่างใช้จัดการประชุมระดับนักเรียน

โรงฝึกงาน[แก้]

มีทั้งหมด 3 โรง ได้แก่

  • อาคารฝึกงานหลังที่ 1 ใช้เป็นที่เรียนและฝึกงานวิชาคหกรรม และเป็นอาคารโรงอาหารคหกรรม
  • อาคารฝึกงานหลังที่ 2 ใช้เป็นที่เรียนและฝึกงานวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
  • อาคารฝึกงานหลังที่ 3 ใช้เป็นที่เรียนและฝึกงานวิชาอุตสาหกรรมศิลป์และธุรกิจ[2]

โดมอเนกประสงค์[แก้]

ใช้เข้าแถวเคารพธงชาติ ใช้เป็นที่ประชุมนักเรียน[2] เป็นที่เรียนวิชาพลศึกษานอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆรวมทั้งการให้บริการแก่ชุมชนมาใช้จัดงานต่างๆ

อาคารจอดรถและอาคารพลศึกษา[แก้]

เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสถานที่จอดรถสำหรับครู-อาจารย์ และผู้ที่มาติดต่อภายในโรงเรียน ชั้นบนเป็นสถานที่ศึกษาวิชาพลศึกษา เป็นรูปแบบสนามบาส 2 สนาม และใช้ประชุมได้ในอีกทางหนึ่ง

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ[แก้]

  • ห้องปฏิบัติการเกษตรกรรม ใช้เป็นที่เรียนและฝึกงานวิชาเกษตรกรรม
  • อาคารประชาสัมพันธ์ เป็นอาคารชั้นเดียว เป็นที่ตั้งของสำนักงานรักษาความปลอดภัย ห้องครูเวร และสำนักงานประชาสัมพันธ์
  • หอประชุมโรงเรียน ใช้เป็นที่ประชุมนักเรียน[2] เป็นที่เรียนวิชาพลศึกษา เป็นสนามกีฬาบาสเกตบอล นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดกิจกรรมต่างๆรวมทั้งการให้บริการแก่ชุมชนมาใช้จัดงานต่างๆ ปัจจุบันถูกทุบเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่
  • อาคารจอดรถและอาคารพลศึกษา เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นสถานที่จอดรถสำหรับครู-อาจารย์ และผู้ที่มาติดต่อภายในโรงเรียน ชั้นบนเป็นสถานที่ศึกษาวิชาพลศึกษา เป็นรูปแบบสนามบาส 2 สนาม และใช้ประชุมได้ในอีกทางหนึ่ง

รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

รายนามผู้บริหารโรงเรียนธัญรัตน์
ลำดับ รายนามผู้บริหาร ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายประสิทธิ์ เจริญชอบ รักษาการครูใหญ่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2520
2. นายสท้าน เฉลยผล ครูใหญ่-ผู้อำนวยการ 14 มีนาคม พ.ศ. 2520 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
3. นายสุทิน ภูเจริญ ผู้อำนวยการ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2534
4. นายมโน อภินิเวศ ผู้อำนวยการ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2540
5. นายสมพงษ์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2540 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
6. นายบรรลือชัย ผิวสานต์ ผู้อำนวยการ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545
7. นายสานิตย์ นาคพงษ์ ผู้อำนวยการ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2545 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2547
8. นายอนุสรณ์ มาสกรานต์ ผู้อำนวยการ 9 มีนาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายนพ.ศ. 2557
9. นายนฤนาท ผ่องศรีนวล ผู้อำนวยการ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน 2565
10. นายสาคร ไปด้วย ผู้อำนวยการ 5 ตุลาคม 2565 - ปัจจุบัน

ระบบการเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนธัญรัตน์ทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีการจัดชั้นเรียนแบบ 15-15-15/14-14-14 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นละ 15 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 14 ห้องเรียน) มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3,362 คน และมีหลักสูตรการเรียนการสอน ดังนี้[3] [4]

ระดับชั้น ปกติ Gifted English Program (GEP) English Chinese Program (ECP) วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ ศิลป์-ภาษาอังกฤษ ศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น ศิลป์-ทั่วไป ศิลป์-ภาษาจีน ศิลป์-ธุรกิจสมัยใหม่ หุ่นยนต์และนวตกรรม
ม. 1 13 1 1 - - - - - - - -
ม. 2 13 1 1 - - - - - - - -
ม. 3 13 1 1 - - - - - - - -
ม. 4 - 1 - 3 2 2 1 2 1 1 1
ม. 5 - 1 - 3 2 2 1 2 1 1 1
ม. 6 - 1 - 3 2 2 1 2 1 1 1

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประวัติโรงเรียนธัญรัตน์[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 แผนปฏิบัติงาน ปี 2553[ลิงก์เสีย]
  3. ระเบียบการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2554
  4. ระเบียบการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2554

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°01′21″N 100°44′08″E / 14.022478°N 100.735519°E / 14.022478; 100.735519