โรงเรียนนครพนมวิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนนครพนมวิทยาคม
Nakhonphanom Wittayakom School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.พ.ว. / NKPW
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประจำจังหวัด
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญปัญญา โลกัสมิ ปัชโชโต
(ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก)
ก่อตั้ง6 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
(46 ปี)
เขตการศึกษานครพนม-มุกดาหาร
รหัส1048190458
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายสินธ์ สิงห์ศรี
ครู/อาจารย์149 คน[1]
จำนวนนักเรียน2,594 คน
ปีการศึกษา 2565[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
ลาว ภาษาลาว
ห้องเรียน76 ห้อง
สี   เทา-แดง
เพลงมาร์ชโรงเรียนนครพนมวิทยาคม
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ต้นไม้ประจำโรงเรียนนนทรี
เว็บไซต์http://www.nkpw.ac.th/web/

โรงเรียนนครพนมวิทยาคม (ย่อ: น.พ.ว.,อังกฤษ: Nakhonphanom Wittayakom School) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำจังหวัดนครพนมเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 (นครพนม-มุกดาหาร) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โรงเรียนนครพนมวิทยาคมเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) และยังเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของจังหวัดนครพนม ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนปิยะมหาราชาลัย

ประวัติโรงเรียน[แก้]

ในปีการศึกษา 2520 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่สอง โดยใช้ที่ราชพัสดุ(สนามบินเก่า) จำนวน 50 ไร่ และได้ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2520การเรียนการสอนในระยะเริ่มแรก ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้ใช้สถานที่กองร้อย อ.ส. จังหวัดเป็นที่เรียนชั่วคราวและแต่งตั้ง นางเวียงงาม ศรีวรขาน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนธาตุพนม มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมากรมสามัญศึกษาจึงได้แต่งตั้ง นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาในปีการศึกษา 2521 โรงเรียนได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในสถานที่ของตนเอง(ที่ปัจจุบัน) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2521 มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 600 คน และมีครู 35 คน ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราว แบบ 004 จำนวน 5 ห้อง ปีการศึกษา 2522-2523 โรงเรียนได้รับที่ดินจากราชพัสดุเพิ่มอีก 3 ไร่ 3 งาน รวมแล้วมีเนื้อที่ 53 ไร่ 3 งาน และโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 324 และหอประชุมแบบใต้ถุนสูง และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปีพ.ศ. 2523 ต่อมาในปีการศึกษา 2525 โรงเรียนได้เลือนฐานะหัวหน้าสถานศึกษาโดยมี นายทวีพงษ์ นวานุช ผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก

ในช่วงปีการศึกษา 2526-2530 นายวินัย เสาหิน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และในปี 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา เพื่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 จำนวน 1 หลัง ตลอดจนโรงฝึกงาน และในปี 2529 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ล.(ปรับปรุง 29) อีก 1 หลัง ต่อมาในปีการศึกษา 2530 – 2531 นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อมาในปีการศึกษา 2531 – 2535 นายโอภาส วัยวัฒน์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนและได้รับงบประมาณสร้างอาคารโรงฝึกงานแบบ 102/27,ถังน้ำประปา,และได้รับงบประมาณในการต่อเติมอาคาร 216 ล.โดยการต่อเติมชั้นล่างเป็นห้องสมุด และในช่วงปีการศึกษา 2535 – 2539 นายเจริญ ชาเรืองเดช ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู, ห้องน้ำห้องส้วม,ปรับปรุงลู่วิ่งมาตรฐาน, และงบประมาณโครงการปฏิรูปการศึกษาในวงเงิน 1,000,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก,สนามบาสเกตบอล, สนามวอลเล่ย์บอล, ลานคอนกรีต 800 ตารางเมตร และทาสีอาคารเรียน ในปี พ.ศ.2539 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐาน 50 x 21 เมตร และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณเหลือจ่ายจากการคืนเสาเข็มสระว่ายน้ำ เพื่อนซื้อรถตู้ 12 ที่นั่ง, รถไถเดินตาม

ในปีการศึกษา 2539 – 2540 นายเกรียงไกร ใจสุข ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับงบประมาณครุภัณฑ์การศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ต่อมาปีการศึกษา 2540 – 2543 นายณรงค์ ชิณสาร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้รับงบประมาณในการจัดศูนย์บริการคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน,โรงเรียนได้จัดระบบการเรียนการสอนทางไกล โครงการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดทุกห้องเรียน,โครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ครบทุกหมวดวิชา, โครงการจัดระบบเครือข่ายในโรงเรียน, โครงการป่ารักษ์น้ำ 12 สิงหา ต่อมาในปีการศึกษา 2543 – 2546 นายเพียร สุวรรณไตรย์ ผู้อำนวยการระดับ 9 เป็นผู้ประเมินภายในระดับกรม และในปีการศึกษา 2546 – 2550 นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้เริ่มจัดการเรียนการสอนหลักสูตรขั้นพื้นฐาน โครงการ English Program

ในปีการศึกษา 2550 นายอนันต์ สุวรรณหงษ์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ต่อมาในปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการสร้างอาคารเรียนแบบ 324 ล. จำนวน 1 หลัง อีกทั้งยังได้รับการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ, โรงเรียนดีใกล้บ้าน , โรงเรียนในฝัน และได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในปัจจุบันโรงเรียนนครพนมวิทยาคมเปิดสอน ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 70 ห้องเรียน เป็นนักเรียนประมาณ 2,300 คน ครูอาจารย์ประมาณ 173 คน

แผนการเรียน[แก้]

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • โครงการห้องเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษ(EP) English Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม(SMTE) Science Mathematics Technology and Environment
  • โครงการห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ (GM) Gifted Mathematics Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์(Cs-nwitt) Computer Science

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • โครงการห้องเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษ(EP) English Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม(SMTE) Science Mathematics Technology and Environment
  • โครงการห้องเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ (GM) Gifted Mathematics Program
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาการคอมพิวเตอร์(Cs-nwitt) Computer Science
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียน ศิลป์-ภาษาจีน
  • แผนการเรียน ศิลป์-ทั่วไป

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนนครพนมวิทยาคม
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นางเวียงงาม ศรีวรขาน พ.ศ. 2520 - 2521 ครูใหญ่
2 นายวิรัช บำรุงสวัสดิ์ พ.ศ. 2521 - 2524 ครูใหญ่
3 นายทวีพงษ์ นวานุช พ.ศ. 2524 - 2526 ผู้อำนวยการ
4 นายวินัย เสาหิน พ.ศ. 2526 - 2530 ผู้อำนวยการ
5 นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ พ.ศ. 2530 - 2531 ผู้อำนวยการ
6 นายโอภาส วัยวัฒน์ พ.ศ. 2531 - 2535 ผู้อำนวยการ
7 นายเจริญ ชาเรืองเดช พ.ศ. 2535 - 2539 ผู้อำนวยการ
8 นายเกรียงไกร ใจสุข พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้อำนวยการ
9 นายณรงค์ ชิณสาร พ.ศ. 2540 - 2543 ผู้อำนวยการ
10 นายเพียร สุวรรณไตรย์ พ.ศ. 2543 - 2546 ผู้อำนวยการ
11 นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ พ.ศ. 2546 - 2550 ผู้อำนวยการ
12 นายอนันต์ สุวรรณหงษ์ พ.ศ. 2550 - 2560 ผู้อำนวยการ
13 นายประหยัด วังวร พ.ศ. 2560 - 2563 ผู้อำนวยการ
14 นายไพโรจน์ กิติศรีวรพันธุ์ พ.ศ. 2563 - 2564 ผู้อำนวยการ
15 นางทิพวรรณ เสนจันทร์ฒิชัย พ.ศ. 2564 - 2565 ผู้อำนวยการ
16 นายสินธ์ สิงห์ศรี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]