โรงเรียนทวีธาภิเศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนทวีธาภิเศก
Taweethapisek School
แผนที่
พิกัด13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745255°N 100.482752°E / 13.745255; 100.482752พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745255°N 100.482752°E / 13.745255; 100.482752
ข้อมูล
ชื่ออื่นท.ภ. / T.P.
ชื่อเดิมโรงเรียนวัดอรุณราชวราราม
ประเภทโรงเรียนของรัฐ
คำขวัญลูกทวีธา มีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ มีคุณธรรม
สถาปนาพ.ศ. 2438 (128 ปี)
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 (125 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เขตการศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ผู้อำนวยการดร.วีระเชษฐ์ ฮาดวิเศษ
ระดับชั้นม.1 - ม.6
เพศชาย
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
ห้องเรียน72 ห้องเรียน
พื้นที่11 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา
สี   เขียวขาว
เพลงมาร์ชทวีธาภิเศก
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เว็บไซต์http://www.taweethapisek.ac.th/
ทวีธาภิเศกตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ทวีธาภิเศก
ทวีธาภิเศก
ทวีธาภิเศก (กรุงเทพมหานคร)

โรงเรียนทวีธาภิเศก (อังกฤษ: Taweethapisek School; อักษรย่อ : ท.ภ. / T.P.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ประเภทชายล้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 505/5 ซอยอิสรภาพ 42 ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 11 ไร่ อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีอิสรภาพ โรงเรียนทวีธาภิเศกก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนทวีธาภิเศกเป็นโรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัดธนบุรี(โรงเรียนหญิงล้วนประจำจังหวัดธนบุรีคือ โรงเรียนศึกษานารี) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชสมบัตินานเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยกา

โดยเมื่อปี พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) ปีมะแม โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามที่ได้เปิดทำการสอนอยู่ แล้ว ณ ศาลาต้นจันทน์ ภายในวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพชร) เป็นครูใหญ่ ทำการสอนตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีจำนวน 5 ห้องเรียนคือชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ก และชั้น 4 ข มีนักเรียนทั้งสิ้น 162 คน ครู 6 คน ต่อมาได้เกิดไหม้บ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดแล้วลุกลามมาถึงกุฏิภายในวัด เกือบไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเสด็จมาทรงบัญชาการดับไฟ เพราะทรงเกรงว่าไฟจะลุกลามไหม้ไปถึงพระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าของพระองค์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขยายตัวทางด้านการศึกษา จัดให้มีโรงเรียนมากขึ้น โดยเห็นว่ากระทรวงธรรมการ ได้จัดการเรียนการสอนบริเวณศาลาต้นจันทร์ วัดอรุณราชวรารามอยู่แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ ประจวบกับเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำรงสิริราชสมบัติมาเป็นสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเษก ถวายพระอัยกาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และสมโภชสิริราชสมบัติ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441

ในการบำเพ็ญพระราชกุศลทวีธาภิเศกนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์บูชาธรรมเทศนาเพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุในวัดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างโรงเรียนตรงกุฏิสงฆ์ด้านทิศเหนือโรงเรียนวัดอรุณราชวรารามเดิมมาเป็นตึกใหญ่ และพระราชทานนามโรงเรียนว่า ทวีธาภิเศก โดยทรงมีพระราชปรารภในการสร้างโรงเรียนว่า

"กุฎีแถวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์แล้ว ทิ้งไว้ก็สำหรับจะทรุดโทรมไปเท่านั้น ควรแปลงให้เปนโรงเรียนสำหรับอารามนี้สักแห่งหนึ่ง"

แต่ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้สิ้นพระชนม์ก่อนที่อาคารจะเสร็จ จึงโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดารับเป็นแม่กอง และต่อมาได้โปรดเกล้าให้พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นแม่กอง จนการก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ 2445

เฉพาะผู้บริจาคมีรายนามของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงบริจาคเงินร่วมในการนี้ มีพระนามร่วมบริจาคทั้งสิ้น 47 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 33,484 บาท 30 อัฐ อาทิ

ในปี พ.ศ. 2445 เมื่อการก่อสร้างโรงเรียนเสร็จสมบูรณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้จัดพิธีฉลองอาคารนี้รวม 2 วัน และได้เสด็จมาเป็นประธานในพิธีด้วยพระองค์เอง และในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และทรงเสด็จมาเยี่ยมโรงเรียนมีนักเรียนเข้าแถวรับเสด็จ 150 คน โดยมีพระครูธรรมรักขิต ครูใหญ่ท่านแรกอ่านคำโคลงยอพระเกียรติ

เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น "วันทวีธาภิเศก" และใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลางวรวิหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปีพ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวราราม กรมสามัญศึกษาได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษาชื่อว่า โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก

ในปี พ.ศ. 2512 นายเรวัต ชื่นสำราญ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน เป็นเงินทั้งสิ้นสองล้านบาท ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดย พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา) เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีและได้ประทานนามตึกนี้ว่า ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งก็คือ อาคาร 1 ของโรงเรียนและเปิดใช้มาจนปัจจุบัน

ระบบการเรียน[แก้]

  • แบบห้องเรียนประจำ
  • ชั้นม.ปลาย เรียนแบบเดินเรียนบางห้อง

สถานที่สำคัญในโรงเรียน[แก้]

สนามฟุตบอล มุมมองจากอาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา

อาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา[แก้]

  • ตั้งชื่อตามราชทินนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา​ เป็นอาคารเรียนที่เก่าแก่ที่สุดในโรงเรียน สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2512-2515 โดยทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 ประกอบไปด้วย ห้องเรียน 14 ห้องเรียน ห้องเรียนชั้นม.1-2 ห้องกิจกรรมรักษาดินแดน ห้องลูกเสือ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องไร้พรมแดน ห้องพัสดุ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องรีซอต์ส เซ็นเตอร์ ร้านสวัสดิการร้านค้า และโรงอาหาร

อาคารสุรชัยรณรงค์[แก้]

  • ตั้งชื่อตามราชทินนามของขุนสุรชัยรณรงค์ ก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องสมุดอาทร สังขะวัฒนะ คลินิกหมอภาษา ห้องแนะแนว ห้องเรียนสังคมศึกษา ห้องเรียนภาษาไทย ห้องคอมพิวเตอร์นวมินทรานุสรณ์ ห้องเรียน MEP ห้องเรียนชั้น ม.2-3 ศูนย์ปฏิบัติธรรมเทพสิทธินายก ห้องเรียน
บรรยากาศภายในโรงเรียน

อาคารปราบปรปักษ์[แก้]

อาคารเทพสิทธินายก[แก้]

  • ตั้งชื่อตามราชทินนามของพระเทพสิทธินายก (เหรียง อินฺทสโร) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523-2525 ประกอบไปด้วย ห้องเพชรดอกแก้ว (ห้องโสตทัศนศึกษา) และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงห้องเรียนพิเศษ SMTE ห้องเรียนพิเศษ MEP-Sci ห้องเรียนต้นแบบการประหยัดพลังงาน ห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องเรียนการงานอาชีพ

อาคารหอประชุมพลเอก สุจินดา คราประยูร[แก้]

  • ตั้งชื่อตามชื่อของพลเอกสุจินดา คราประยูร​ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ประกอบไปด้วย ห้องฝ่ายบริหาร ห้องเรียนภาษาต่างประเทศ และหอประชุม พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคาร

อาคาร 100 ปี ทวีธาภิเศก โดย พลเอก สุจินดา คราประยูร[แก้]

  • ชั้นล่างเป็นธนาคารโรงเรียน
  • พิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก

เปิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 เป็นอาคาร 4 ชั้น (พิพิธภัณฑ์อยู่ชั้น 2) ติดกับตึก 3 ตึกเอนกประสงค์ ภายในแสดงวัตถุประเภทครุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และของใช้ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้แก่โรงเรียนตั้งแต่เริ่มต้น อาทิ นาฬิกาตั้งยอดพระเกี้ยว เป็นนาฬิกาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้โรงเรียน ด้านบนประดิษฐานพระจุลมงกุฎจำหลักไม้ที่ประณีตงดงามมาก ตู้พระราชทาน และโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน เป็นต้น

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ขุนอุปการศิลปะเศรฐ พ.ศ. 244119 มิถุนายน พ.ศ. 2450 (ประมาณ 9 ปี)
2 นายพร้อม 21 มิถุนายน พ.ศ. 2450พ.ศ. 2454 (ประมาณ 3 ปี)
3 พระบรรเจิดวิชาชาญ (ชม บุณยาคม) พ.ศ. 245411 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 (ไม่ถึง 1 ปี)
4 ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (ยง ศิลปคุปต์) 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 245431 ตุลาคม พ.ศ. 2459 (4 ปี 353 วัน)
5 ขุนวิสิษฐ์ดรุณกาล (บุบผา พลายสุต) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459มิถุนายน พ.ศ. 2492 (ประมาณ 32 ปี)
6 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 249230 กันยายน พ.ศ. 2508 (16 ปี 90 วัน)
7 นายเรวัต ชื่นสำราญ 1 ตุลาคม พ.ศ. 250831 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (8 ปี 242 วัน)
8 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 251730 กันยายน พ.ศ. 2522 (4 ปี 364 วัน)
9 นายจงกล เมธาจารย์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 25222 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (5 ปี 32 วัน)
10 นายสุชาติ ไชยมะโน 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 252728 มิถุนายน พ.ศ. 2531 (3 ปี 238 วัน)
11 นายสำราญ รัตนวิทย์ 29 มิถุนายน พ.ศ. 253130 กันยายน พ.ศ. 2532 (1 ปี 93 วัน)
12 นายกนก จันทร์ขจร 1 ตุลาคม พ.ศ. 253230 กันยายน พ.ศ. 2538 (5 ปี 364 วัน)​
13 นายประสาร อุตมางคบวร 1 ตุลาคม พ.ศ. 253830 กันยายน พ.ศ. 2541 (2 ปี 364 วัน)
14 นายสุธน จุลโมกข์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 254130 กันยายน พ.ศ. 2544 (2 ปี 365 วัน)
15 นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า 1 ตุลาคม พ.ศ. 254430 กันยายน พ.ศ. 2547 (2 ปี 364 วัน)
16 นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 254729 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (4 ปี 28 วัน)
17 นางสุมนมาศ วุฒิสง่าธรรม 30 ตุลาคม พ.ศ. 255130 กันยายน พ.ศ. 2553 (1 ปี 335 วัน)
18 นายสมเกียรติ เจริญฉิม 26 มกราคม พ.ศ. 255420 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 (2 ปี 299 วัน)
19 นายชัยอนันต์ แก่นดี 23 มกราคม พ.ศ. 25577 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (0 ปี 288 วัน)
20 นายชัยสิทธิ์ ดอนท้วม 9 มกราคม พ.ศ. 255827 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (1 ปี 291 วัน)
21 นายณรงค์ คงสมปราชญ์ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (2 ปี 301 วัน)
22 นายประจวบ อินทรโชติ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 (2 ปี 312 วัน)
23 ดร. วีระเชษฐ์ ฮาดวิเศษ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน (1 ปี 170 วัน)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

ศิษย์เก่าเกียรติยศ[แก้]

บุคคลสำคัญระดับประเทศ[แก้]

นักการเมือง นักเคลื่อนไหว[แก้]

นักวิชาการ[แก้]

ศิลปิน นักร้อง นักแสดง ผู้กำกับ นักเขียน[แก้]

ด้านกีฬา[แก้]

โรงเรียนในเครือ[แก้]

โรงเรียนคู่พัฒนา[1][แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อโรงเรียนคู่พัฒนา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′43″N 100°28′58″E / 13.745253°N 100.482700°E / 13.745253; 100.482700{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้