โรงเรียนสารคามพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสารคามพิทยาคม
Sarakham Pittayakhom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ค.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
คำขวัญ"กยิรา เจ กยิรา เถนํ : ทำสิ่งใดพึงทำเฉพาะสิ่งนั้นให้สำเร็จ"
สถาปนา10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 (110 ปี 253 วัน)
ผู้อำนวยการนายมณูญ เพชรมีแก้ว
สีสีเหลือง-สีน้ำเงิน
เพลงมาร์ชสารคามพิทยาคม
เว็บไซต์https://www.spk.ac.th/

โรงเรียนสารคามพิทยาคม (อังกฤษ: Sarakham Pittayakhom School) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนนครสวรรค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

โรงเรียนสารคามพิทยาคม มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 36 ไร่ 2 งาน เดิมเปิดสอนเฉพาะนักเรียนชายในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รับทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ในปีการศึกษา 2538 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดสอนสหศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสารคามพิทยาคม ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 ในสมัยก่อนใช้ชื่อว่า "โรงเรียนสารวิทยาวิบูลย์" โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดโพธิ์ศรีธารามเป็นที่เรียน และในสมัยนั้นรับเฉพาะแต่นักเรียนชาย มีพระภิกษุเป็นครูสอน โดยมีฐานะเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ อุทัยสารคาม ปัจจุบันก็คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม และเป็นโรงเรียนแฝดกับ โรงเรียนบำรุงราษฏร (โรงเรียนบรบือ) อำเภอปัจฉิมสารคาม หรือ อำเภอบรบือ

  • พ.ศ. 2456 อำเภออุทัยสารคาม ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นจังหวัดมหาสารคาม และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่เป็น "โรงเรียนสารคามวิทยาคม" มีนายชื่น วานิชกะ(ขุนวานิชกศึกษากร) เป็นครูใหญ่คนแรก โดยสถาปนาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 จึงถือว่าวันนี้เป็นวันสถาปนาโรงเรียนเป็นต้นมา ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อจาก วิทยาคม เป็น พิทยาคม ให้เหมาะสมกับสมัยนิยม
  • พ.ศ. 2461 ทางราชการเห็นว่า โรงเรียนมีนักเรียนมากสถานที่เรียนค่อนข้างจะคับแคบ จึงได้ดัดแปลงศาลาการเปรียญหลังเก่าซึ่งตั้งอยู่ริมหนองกระทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ขณะนั้นเรียกว่าอำเภอตลาด)ให้เป็นสถานศึกษาของโรงเรียนสารคามพิทยาคม อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงต้องมีการโยกย้ายสถานที่เรียนหลายครั้งเพื่อความสะดวกเหมาะสมและเป็นเอกเทศ กระทั่งวันที่ 1 เมษายน 2481 จึงเปิดอาคารเรียนแบบประชาธิปก (อาคาร 1 ปัจจุบัน) ภายหลังจากที่มีอาคารเรียนถาวรและเป็นเอกเทศแล้ว จึงได้ขยายชั้นเรียนไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเข้าร่วมโครงการจัดการศึกษารูปแบบพิเศษต่างๆ
  • พ.ศ. 2511 ได้เข้าโครงการ ค.ม.ช. (โครงการโรงเรียนมัธยมชนบท)
  • พ.ศ. 2518 ได้เข้าโครงการ ค.ม.ภ.2 (โครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค) และใช้หลักสูตร ค.ม.ส. (โครงการโรงเรียนมัธยมแบบผสม)
  • พ.ศ. 2519 ได้เปิดทำการสอนโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่
  • พ.ศ. 2537 เข้าโครงการส่งเสริมความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (สคว.) เขตการศึกษา 10
  • พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้เปิดสอนแบบสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ. 2540 เข้าโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามรถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระดับมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับ ม.1 และ ม.4
  • พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้รับอนุญาตจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (English Program) ในระดับชั้น ม.1
  • พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน 2 ปีซ้อน
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เป็นครั้งที่สาม

รายนามผู้บริหาร[แก้]

นับแต่การสถาปนาโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2456 ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 100 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนสารคามพิทยาคมมาแล้วทั้งสิ้น 20 คน[1] ดังนี้

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่ง
1 ขุนวาณิชกศึกษากร พ.ศ. 2456 พ.ศ. 2465 ครูใหญ่
2 ขุนรัตนแสงศึกษากร พ.ศ. 2465 พ.ศ. 2466
3 นายประณต พรชัย พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2480
4 นายหนู ชนะศึก พ.ศ. 2480 พ.ศ. 2481
5 นายประวัติ ประดิษฐานนท์ พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2483
6 นายดำรง มัธยมนันท์ พ.ศ. 2483 พ.ศ. 2490
7 นายประภาส ศุภสาร พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2520
8 นายทรวง ยุวกาญจน์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2521
9 นายเนย วงศ์อุทุม พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2522
10 นายปรัชญา ไวทยสุวรรณ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2524
11 นายสุทัศน์ รัตนา พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2525
12 นายทองสูรย์ ฉลวยศรี พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2532
13 นายชุมพล เวียงเพิ่ม พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2535
14 ว่าที่ร้อยตรีรังสรรค์ ชื่มชม พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2539
15 นายนพรัตน์ จารย์โพธิ์ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2541
16 นายสมบัติ จันทภูมิ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542
17 นายนิคม งามเสน่ห์ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2544
18 นายบรรจง สุรมณี พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการ
19 นายอดิศักดิ์ มุ่งชู พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2558 ผู้อำนวยการ
20 นายเกษม ไชยรัตน์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2561 ผู้อำนวยการ
21 นายนิพนธ์ ยศดา พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2565 ผู้อำนวยการ
22 นายมณูญ เพชรมีแก้ว พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

การศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนสารคามพิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ
  • ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
    • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
      • แผนกเกษตรกรรม
      • แผนกคหกรรม
      • แผนกคอมพิวเตอร์

ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จ[แก้]

ข้าราชการการเมือง[แก้]

ข้าราชการประจำ[แก้]

ดารานักแสดงพิธีกรที่สร้างชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]