โรงเรียนสตรีนนทบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสตรีนนทบุรี
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°49′17.0″N 100°30′18.9″E / 13.821389°N 100.505250°E / 13.821389; 100.505250พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′17.0″N 100°30′18.9″E / 13.821389°N 100.505250°E / 13.821389; 100.505250
ข้อมูล
ชื่อเดิม • โรงเรียนสตรีประจำสุขาภิบาลนนทบุรี
 • โรงเรียนสตรีวัดพลับพลา
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญ • เรียนดี วินัยดี กีฬาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม กิจกรรมเลิศ
 • ปญฺญา นรานํ รตนํ
(ปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐของนรชน)
สถาปนา25 มีนาคม พ.ศ. 2475 (91 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230149
ผู้อำนวยการโรงเรียนฉัตรชัย ธรรมครบุรี
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศหญิง
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี  เขียวแก่
  เขียวอ่อน
เพลง"มาร์ชสตรีนนท์"
ดอกไม้แก้ว
เว็บไซต์www.satrinon.ac.th

โรงเรียนสตรีนนทบุรี เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จัดการเรียนการสอนให้กับสตรีล้วนแห่งแรกและแห่งเดียวในจังหวัดนนทบุรีตั้งแต่ พ.ศ. 2475

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสตรีนนทบุรีกำเนิดขึ้นจากความต้องการให้มีโรงเรียนสำหรับนักเรียนสตรีโดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรี โดยได้รับการประกาศจัดตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2475 เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำสุขาภิบาลนนทบุรี ใช้อักษรย่อว่า ส.น.บ. ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีพิธีเปิดโรงเรียนในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2475 มีนางลัดดาวัลย์ นนทะนาคร เป็นครูใหญ่คนแรก และมีครู 3 คน ห้องเรียน 4 ห้อง และนักเรียน 33 คน

จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความช่วยเหลือจัดหาที่ดินและย้ายโรงเรียนมายังสถานที่ปัจจุบันซึ่งมีเนื้อที่ 18 ไร่ 44 ตารางวา เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2498 ในช่วงแรกได้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีวัดพลับพลา เนื่องจากได้รับที่ดินบางส่วนจากวัดพลับพลา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีนนทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2507 และเปลี่ยนอักษรย่อโรงเรียนเป็น น.บ.

สัญลักษณ์ของโรงเรียนสตรีนนทบุรีเป็นรูปพลับพลาซึ่งหมายถึงวัดพลับพลา (เนื่องจากที่ตั้งปัจจุบันของโรงเรียนบางส่วนเคยเป็นที่ดินของวัดนี้) และรูปเมฆมีข้อความว่า "ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐของนรชน" ทางโรงเรียนได้กำหนดให้ดอกแก้วเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน และกำหนดให้วันที่ 9 มกราคมของทุกปีเป็น "วันรักโรงเรียน" ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนสตรีนนทบุรีมีชื่อเสียงด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาญี่ปุ่น และมีชื่อเสียงดีเด่นในด้านการกีฬาบาสเกตบอลและนาฏศิลป์ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนดีเด่นรับรางวัลพระราชทานโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำปีการศึกษา 2525, 2541, 2548 และ 2555 และมีนักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนรางวัลพระราชทานประจำปีการศึกษา 2542, 2554 และ 2555

ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง อาคารประกอบ 19 หลัง จัดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายให้กับนักเรียนสตรีล้วน ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีนักเรียน 2,583 คน

บุคลากร[แก้]

รายชื่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]

  1. นางลัดดาวัลย์ นนทะนาคร (29 มีนาคม พ.ศ. 2475 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507)
  2. คุณหญิงบรรจง นิวาศบุตร (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2523)
  3. นางสาวบำเพ็ญ ภู่โสภา (8 กันยายน พ.ศ. 2523 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529)
  4. นางวณิช เฟื่องทอง (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 10 กันยายน พ.ศ. 2532)
  5. นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์ (10 กันยายน พ.ศ. 2532 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2538)
  6. นางสาวประไพศรี วิสัยจร (8 กันยายน พ.ศ. 2538 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544)
  7. นายปิ่น สุวรรณะ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2544) (ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดนนทบุรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน)
  8. นายพร รุจนเวช (18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2545)
  9. นางวิไลพร ศุภวณิช (4 มิถุนายน พ.ศ. 2545 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546)
  10. นายสุวรรณ เค้าฝาย (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2552)
  11. นายทรงวิทย์ นิลเทียน (24 มีนาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
  12. นายธนะสิทธิ์ ศิริวรธรรม (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
  13. นางชเนตตี วัจนะรัตน์ (27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563)
  14. นายฉัตรชัย ธรรมครบุรี (21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน)

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วอลเลย์บอลไทย: แอน ณิชนันทวรรณ ชาทุม...สาวหวานซ่อนเปรี้ยว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-02. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]