อำเภอชุมแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอชุมแสง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chum Saeng
สถานีรถไฟชุมแสง
คำขวัญ: 
แห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ สองแควยมน่าน
น้ำตาลหวานเกยไชย บึงใหญ่บอระเพ็ด
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอชุมแสง
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอชุมแสง
พิกัด: 15°52′52″N 100°18′9″E / 15.88111°N 100.30250°E / 15.88111; 100.30250
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด716.7 ตร.กม. (276.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด62,834 คน
 • ความหนาแน่น87.67 คน/ตร.กม. (227.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 60120
รหัสภูมิศาสตร์6003
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอชุมแสง หมู่ที่ 17 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 60120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชุมแสง เป็น 1 ใน 15 อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่ชุมทางแม่น้ำสองสาย ได้แก่ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่านบรรจบกันที่ตำบลเกยไชย และไปรวมกับแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ และเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 สุขาภิบาลท้องที่ในอดีต (โพธาราม, บ้านโป่ง, ชุมแสง, บางมูลนาก และบ้านหมี่) ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต

สถานีรถไฟทับกฤช

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอชุมแสงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

สถานีรถไฟคลองปลากด

ประวัติ[แก้]

อำเภอชุมแสง เป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ แต่เดิมอยู่ในความปกครองของอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาทางราชการได้แบ่งท้องที่การปกครองจัดตั้งป็นตำบลเกยไชย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2446 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศฐานะขึ้นเป็นอำเภอโดยเรียกชื่อว่า "อำเภอพันลาน" เนื่องจากตั้งอยู่ที่พันลาน (ปัจจุบันคือหมู่ที่ 4 ตำบลพันลาน) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอพันลาน" มาเป็น "อำเภอเกยไชย" ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่ที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านที่บ้านชุมแสงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับตลาดชุมแสง จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอเกยไชย" มาเป็น "อำเภอชุมแสง"

คำว่า "ชุมแสง" มีผู้เล่าต่อ ๆ กันมาเป็น 2 ทาง คือ ต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า "ต้นชุมแสง" มีลักษณะคล้ายกับต้นแจง สมัยก่อนมีขึ้นอยู่ทั่วไปใบคล้าย ใบมะปราง เขียวชะอุ่มตลอดปี โบราณใช้ทำยารักษาโรคพรายเลือดลมสตรี ผลของต้นชุมแสงชาวบ้านจะเก็บไปใช้เป็นลูกกระสุนสำหรับธนู ต้นชุมแสงจึงเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่นต่อมา ได้ใช้เป็นชื่อบ้านเรียกว่า "บ้านชุมแสง" สมัยพระเจ้าตากสินนำกองทัพออกทำการปราบก๊กต่าง ๆ ได้ตั้งค่าย และเป็นที่สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือคลังแสง สำหรับปราบก๊กเจ้าเมืองพิษณะโลก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณที่ตั้งค่ายแห่งนั้นว่า "คลังแสง" และต่อ ๆ มาได้เรียกเพี้ยนเป็น "ชุมแสง[1]

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเกยไชย จังหวัดนครสวรรค์ เป็น อำเภอชุมแสง[2]
  • วันที่ 30 พฤศจิกายน 2473 ยกท้องที่บางส่วนของตำบลชุมแสง จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลท้องที่ชุมแสง[3]
  • วันที่ 10 ธันวาคม 2478 ยกฐานะสุขาภิบาลท้องที่ชุมแสง ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองชุมแสง[4]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลท่าขมิ้น และหมู่ที่ 6 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[5]
  • วันที่ 9 มกราคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอชุมแสงกับอำเภอเมืองนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางพระหลวง ไปขึ้นกับตำบลทับกฤช และโอนพื้นที่ตำบลบางพระหลวง และตำบลเกรียงไกร อำเภอชุมแสง ไปขึ้นกับอำเภอเมืองนครสวรรค์[6]
  • วันที่ 19 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้วยใหญ่ และตำบลห้วยร่วม อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 1–3 (บางส่วน) กับหมู่ที่ 4–5, 7–9 ตำบลหนองบัว อำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับอำเภอชุมแสง และจัดตั้งเป็นตำบลหนองบัว ของอำเภอชุมแสง[7]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2483 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลคลองขอม อำเภอชุมแสง เป็น ตำบลไผ่สิงห์[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางเคียน แยกออกจากตำบลท่าไม้ ตั้งตำบลไผ่สิงห์ แยกออกจากตำบลหนองกระเจา[9]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลหนองบัว ตำบลห้วยร่วม และตำบลห้วยใหญ่ ของอำเภอชุมแสง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองบัว[10] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอชุมแสง
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2491 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอท่าตะโกกับอำเภอชุมแสง โดยโอนพื้นที่ตำบลธารทหาร (ยกเว้นหมู่ที่ 1) ของอำเภอท่าตะโก มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง[11]
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองกลับ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ กับโอนพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และโอนพื้นที่หมู่ 1–2 และ 3 ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[12]
  • วันที่ 21 มิถุนายน 2498 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมแสง โดยขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล รวมถึงพื้นที่หมู่ที่ 15, หมู่ 2 บางส่วน ของตำบลเกยไชย และพื้นที่หมู่ 5 บางส่วนของตำบลพิกุล[13]
  • วันที่ 22 พฤศจิกายน 2498 โอนพื้นที่หมู่ 15 และหมู่ 2 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลเกยไชย ซึ่งถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง ไปขึ้นกับตำบลชุมแสง และโอนพื้นที่หมู่ 5 บางส่วน (ในขณะนั้น) ของตำบลพิกุล ซึ่งถูกตัดเข้าไปอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง ไปขึ้นกับตำบลชุมแสง[14] โดยมีอาณาเขตตรงตามหลักเขตเทศบาล
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองบัว อำเภอชุมแสง เป็น อำเภอหนองบัว[15]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่สิงห์ อำเภอชุมแสง[16]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2505 ตั้งตำบลฆะมัง แยกออกจากตำบลพิกุล และตั้งตำบลพันลาน แยกออกจากตำบลโคกหม้อ[17]
  • วันที่ 1 กันยายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลทับกฤช ในท้องที่หมู่ 4–6 และหมู่ 14 ตำบลทับกฤช[18]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2536 ตั้งตำบลทับกฤชใต้ แยกออกจากตำบลทับกฤช[19]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทับกฤช เป็น เทศบาลตำบลทับกฤช[20] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอชุมแสงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ชุมแสง (Chum Saeng) - 7. หนองกระเจา (Nong Krachao) 14 หมู่บ้าน
2. ทับกฤช (Thap Krit) 19 หมู่บ้าน 8. พันลาน (Phan Lan) 8 หมู่บ้าน
3. พิกุล (Phikun) 10 หมู่บ้าน 9. โคกหม้อ (Khok Mo) 8 หมู่บ้าน
4. เกยไชย (Koei Chai) 17 หมู่บ้าน 10. ไผ่สิงห์ (Phai Sing) 10 หมู่บ้าน
5. ท่าไม้ (Tha Mai) 15 หมู่บ้าน 11. ฆะมัง (Khamang) 8 หมู่บ้าน
6. บางเคียน (Bang Khian) 14 หมู่บ้าน 12. ทับกฤชใต้ (Thap Krit Tai) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอชุมแสงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองชุมแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแสงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทับกฤช ครอบคลุมพื้นที่หมู่ 3, 4 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 14 (บางส่วน) ตำบลทับกฤช
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช ครอบคลุมพื้นที่ 1–2, 4 (บางส่วน), 5 (บางส่วน), 6–13, 14 (บางส่วน) ตำบลทับกฤช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทับกฤช)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิกุลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกยไชย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกยไชยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกระเจาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพันลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันลานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกหม้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่สิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่สิงห์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลฆะมัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆะมังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤชใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับกฤชใต้ทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. [1] เก็บถาวร 2020-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติความเป็นมาเมืองชุมแสง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 259–261. วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1773–1776. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
  5. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3343–3344. วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2481
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2091–2092. วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2481
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ก): 263–267. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2483
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3188–3193. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-15. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอและเขตตำบลในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 65 (32 ง): 1824–1825. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (10 ก): 196–198. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
  13. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๔๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (45 ก): 899–902. วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2498
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (90 ง): 2818–2819. วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498
  15. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอนาทวี อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคำชะอี อำเภอย่านตาขาว อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอหนองบัว อำเภอวัฒนานคร อำเภอแสวงหา อำเภอท่าชนะ อำเภอพระพุทธบาท อำเภอโนนสัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอคีรีมาศ อำเภอชนแดน อำเภอแม่แจ่ม อำเภอไทรน้อย และอำเภอบ้านแพง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (46 ก): 657–661. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-01-23. วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองบัว อำเภอลาดยาว และอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2085–2096. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2505
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (83 ง): 2227–2228. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2507
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (173 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-20. วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2536
  20. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542