โรงเรียนเลยพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเลยพิทยาคม
Loei Pittayakom School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นล.พ.ค. / LPK
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญคณสฺส สามคฺคี สุขา
(ความสามัคคีของหมู่คณะเป็นสุข)
สถาปนาพ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2515
สโมสรวิทยาลัย (65 ปี)
พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2515
สตรีเลย (33 ปี)
24 มีนาคม พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน
เลยพิทยาคม 51 ปี
ผู้ก่อตั้ง ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1042520456
ผู้อำนวยการนายจิตติศักดิ์ นามวงษา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
จำนวนนักเรียน3,331 คน
(ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566)[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน
สี████ น้ำเงิน - ชมพู
เพลงมาร์ชโรงเรียนเลยพิทยาคม
เว็บไซต์http://www.loeipit.ac.th

โรงเรียนเลยพิทยาคม (อังกฤษ: Loei Pittayakom School; อักษรย่อ: ล.พ.ค. — LPK) หรือเรียกอย่างย่อว่า เลยพิทย์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษประจำจังหวัดเลย ประเภทโรงเรียนสหศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ ถนนเลย-ด่านซ้าย บ้านนาหนอง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยการรวมกันของโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (โรงเรียนชายล้วนประจำจังหวัด) และโรงเรียนสตรีเลย (โรงเรียนสตรีประจำจังหวัด) ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษา

โรงเรียนเลยพิทยาคมเป็น 1 ในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ที่มีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นได้แก่ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา และโรงเรียนเลยพิทยาคม โดยโรงเรียนเลยพิทยาคมเป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลย ที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของ สสวท. ร่วมกับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา นอกจากนี้โรงเรียนเลยพิทยาคมยังเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา

ประวัติ[แก้]

ยุคที่ 1 กำเนิดสโมสรวิทยาลัยและสตรีเลย[แก้]

  • พ.ศ. 2450 เปิดสอนระดับมัธยมขึ้นที่จังหวัดเลย ก่อนหน้านี้คนเมืองเลยต้องไปเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย หรือพิษณุโลก ซึ่งต้องเดินทางด้วยเท้าหลายวันและลำบากมาก มีไม่กี่คนที่ได้ไปเรียนถึงกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงก่อตั้งกองเสือป่าและลูกเสือขึ้นทุกจังหวัด เพื่อปลุกใจคนไทยทุกวัยให้มีความรักชาติบ้านเมือง โดยเจ้าเมืองทุกเมืองต้องตั้งสโมสรเสือป่าขึ้น สำหรับจังหวัดเลยนั้น เมื่อถึงกำหนดที่จะเปิดสอนความรู้ระดับมัธยมขึ้นให้ถึงระดับมัธยม 3 เหมือนจังหวัดอื่น ๆ ยังไม่มีอาคารสถานที่เป็นของตนเองจึงต้องอาศัยสโมสรเสือป่าที่สร้างขึ้นไว้ โดยได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเลย โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนชายขึ้น สำหรับครูใหญ่คนแรกนั้น ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นใคร ส่วนครูใหญ่รุ่นหลัง ๆได้แก่ ครูแสน เดชกุญชร (ขุนเดชกุญชรศึกษากร) และมีคณะครูที่ทรงคุณวุฒิเป็นเพื่อนร่วมงาน ได้แก่ ครูเปลื้อง สวามิภักดิ์, ครูผิดตา (เกษม) ศักดิ์เจริญ, ครูสุบรรณ แก้วทอง, ครูมา ประเสริฐสุต และครูคำหาว ผาโคตร
  • พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมการได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลฝ่ายสตรีขึ้นในเมืองเลย โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีเลย สถานที่ตั้งในระยะแรกของโรงเรียน คือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบัน รับเฉพาะนักเรียนหญิง ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
  • พ.ศ. 2515 ทางราชการประกาศยุบโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย และโรงเรียนสตรีเลย เป็นโรงเรียนเลยพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเลยในปัจจุบัน

ยุคที่ 2 กำเนิดเลยพิทยาคม[แก้]

โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็นโรงเรียนที่รวมโรงเรียนสตรีเลย (โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเลย) กับโรงเรียนสโมสรวิทยาลัย (โรงเรียนชายประจำจังหวัดเลย) ตามประกาศของ กรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2515 ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมวิสามัญศึกษา (กรมสามัญศึกษา) ในการปรับปรุงโรงเรียนของรัฐบาลทั่วประเทศให้เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ โดยโรงเรียนรัฐบาลของจังหวัดใดก็ตามหากพิจารณาแล้ว เห็นว่าไม่สามารรับนักเรียนได้ถึง 2,000 คน ในปี พ.ศ. 2515 กระทรวงศึกษาธิการก็จะรวมโรงเรียนประจำจังหวัดชายและโรงเรียนประจำจังหวัดหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียวซึ่งในระยะเดียวกันนี้ จังหวัดอื่นๆ ก็มีการรวมโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งชายและหญิงเข้าด้วยกันเป็นโรงเรียนเดียว เช่น โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม จังหวัดพิจิตร โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย จึงต้องย้ายจากสถานที่เดิมที่มีพื้นที่เพียง 23 ไร่ (โรงเรียนเมืองเลยในปัจจุบัน) มารวมกับโรงเรียนสตรีเลย ซึ่งมีพื้นที่ถึง 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา

หลังจากมีประกาศของ กรมสามัญศึกษา แล้ว นายสมสิน โทณะสุต ศึกษาธิการจังหวัดเลยได้ดำเนินการย้ายโรงเรียนในช่วงปิดภาคเรียนและได้แต่ตั้ง นายเฉลิม จิรนาท อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสโมสรวิทยาลัยจังหวัดเลย เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อเริ่มเปิดทำการสอนในปั พ.ศ. 2515 จัดการเรียนแบบสหศึกษา มีห้องเรียน 35 ห้อง นักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,468 คน เป็นชาย 758 คน หญิง 710 คน ครู-อาจารย์ 61 คน โดยมี ดร.ก่อ สวัสดิพานิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา และ นายวิจิน สัจจะเวทะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เปิดป้ายโรงเรียนเลยพิทยาคม เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2515 ในปี พ.ศ. 2518 โรงเรียนได้ดำเนินการสอน 2 ผลัด ปี พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ “คมภ.2 รุ่น 1” ปี พ.ศ. 2521 ได้รับโอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) จากโรงเรียนเมืองเลย จำนวน 2 ห้อง และได้เปลี่ยนระบบการศึกษาจาก 7:3:2 มาเป็น 6:3:3

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเลย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดแผนการจัดชั้นเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 13:13:13/14:14:14 รวม 81 ห้องเรียน มีครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 228 คน แยกเป็น ข้าราชการครู 156 คน ข้าราชการ ก.พ. 1 คน ลูกจ้างประจำตำแหน่งยาม นักการภารโรง 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สอน 9 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่สนับสนุน 13 คน ลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่ยาม นักการภารโรง พนักงานขับรถ 16 คน ครูชาวต่างประเทศ จำนวน 10 คน [2] นักเรียน 3,382 คน [3] มีอาคารเรียนถาวร 7 หลัง อาคารประกอบ 11 หลัง สถานภาพสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดภารกิจ ให้ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานคุณภาพ ดังต่อไปนี้

  • 1. โรงเรียนยอดนิยม ที่นักเรียนและผู้ปกครองให้ความสนใจ จึงต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
  • 2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามกรอบกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ดำเนินงานโดยเน้น “ห้องเรียนคุณภาพ” เพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • 3. โรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตร ดังนี้
    • 3.1 หลักสูตรปกติ ประกอบด้วย
      • 1) หลักสูตรโรงเรียนเลยพิทยาคม พุทธศักราช 2560 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในชั้น ม.1 - ม.6
    • 3.2 โครงการห้องเรียนพิเศษ ประกอบด้วย
      • 1) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program : GEP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 2) โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
      • 3) โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 4) โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathematics Program : SM) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 5) โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีนและภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program : ICE) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
      • 6) โรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School : WCSS) ต้องจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard) และบริหารจัดการระบบคุณภาพ (Quality management System) ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)
      • 7) โรงเรียนที่ต้องขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ “จุดเน้นคุณภาพผู้เรียน จุดเปลี่ยนการปฏิรูปการศึกษาไทย”

ปัจจุบัน โรงเรียนเลยพิทยาคม เป็น 1 ใน 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาของจังหวัดเลยที่เข้าร่วมในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของสสวท ร่วมกับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล(World Class Standard School) ขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีเพียง 5 แห่งในจังหวัดเท่านั้นคือ โรงเรียนศรีสงครามวิทยา โรงเรียนภูเรือวิทยา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาและโรงเรียนเลยพิทยาคม นอกจากนี้โรงเรียนเลยพิทยาคมยังเป็นโรงเรียนคู่พัฒนากับโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ซึ่งในทุกๆปี จะมีการแข่งขัน ฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยพิทย์-เลยอนุกูล ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยใช้สนามกีฬาจังหวัดเลยเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดถนนเลยด่านซ้าย และชุมชนนาหนองท่าแพ
  • ทิศตะวันออก ติดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 (เลย-หนองบัวลำภู)
  • ทิศตะวันตก ติดชุมชนนาหนองท่าแพ
  • ทิศใต้ ติดถนนมะลิวัลย์ และเรือนจำจังหวัดเลย

มีพื้นที่รวม 81 ไร่ 2 งาน 04 5/10 ตารางวา

แผนการเรียน[แก้]

โรงเรียนเลยพิทยาคมเปิดสอนในแผนการเรียนดังต่อไปนี้

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program-GEP)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program-EP)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment-SMTE)
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathmatics Technology and Environment-SMTE)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathmatics Program-SM)
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน และภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program-ICE)
  • แผนการเรียนศิลป์-ดนตรี ทัศนศิลป์ และเทคโนโลยี
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

แผนการเรียนพิเศษของโรงเรียนเลยพิทยาคม[แก้]

  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ (Gifted Education Program-GEP) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • โครงการห้องเรียนพิเศษจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program-EP) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment-SMTE) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Science and Mathmatics Program-SM) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • โครงการห้องเรียนพิเศษภาษาจีน และภาษาอังกฤษ (Intensive Chinese and English Program-ICE) เฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กิจกรรมโรงเรียน[แก้]

กิจกรรมกีฬาภายใน "เลยพิทย์เกมส์" (กีฬาสี)[แก้]

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาภายในหรือกีฬาสีในช่วงปลายเดือนพฤษจิกายนของทุกปี ปีละ 2 วัน โดยแบ่งเป็น 4 คณะสี ได้แก่

มหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนดี - คนเก่ง (วันวิชาการ)[แก้]

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดมหกรรมวิชาการเฟ้นหาคนเก่ง ซึ่งจะมีการแข่งขันทางวิชาการและการแสดงผลงานของนักเรียน ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี ปีละ 1 วัน ซึ่งครั้งที่ 13 ในปีการศึกษา 2560 มีการเปลี่ยนชื่อมหกรรมวิชาการเป็นการเฟ้นหา คนดี - คนเก่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเฟ้นหาบุคคลที่สมบูรณ์แบบในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการเรียน และคุณธรรมในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีคำขวัญของงานในปีการศึกษานี้คือ "เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครบ 65 พรรษา"

กิจกรรมวันเด็ก[แก้]

โรงเรียนเลยพิทยาคมจะมีการจัดงานวันเด็กของนักเรียนเป็นประจำทุกปี โดยจะจัดในวันศุกร์ก่อนวันเด็กแห่งชาติ 1 วัน และไม่มีการเรียนการสอนในวันนั้น มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมากมาย อาทิ LPK Music Award LPK Cover Dance LPK Cosplay โรงทานแจกจ่ายอาหาร ของเล่น รวมถึงกิจกรรมสอยดาว ประกวด ดาว เดือน ไอดอล อีกด้วย

กิจกรรมฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยพิทย์-เลยอนุกูล[แก้]

ฟุตบอลประเพณีโรงเรียนคู่พัฒนา เลยอนุกูล-เลยพิทย์ เป็นกิจกรรมเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนเลยพิทยาคมและโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2560 ที่สนามกีฬาจังหวัดเลย และจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพทุกๆครั้ง คล้ายๆ กับฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

นับแต่การสถาปนาโรงเรียนสโมสรวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2440 โรงเรียนสตรีเลยเมื่อ พ.ศ. 2482 จวบจนยุบรวมเป็นโรงเรียนเลยพิทยาคมในปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 117 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่,อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนเลยพิทยาคมมาแล้วทั้งสิ้น 29 คน ดังนี้


ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเลยพิทยาคม
ลำดับ รายนาม เริ่มวาระการดำรงตำแหน่ง สิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
โรงเรียนสโมสรวิทยาลัย
(พ.ศ. 2450 - 2515)
1 นายทอน สุพรมจักร พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2452 ครูใหญ่
2 นายเปลื่อง สืบทิม พ.ศ. 2453 พ.ศ. 2454 ครูใหญ่
3 นายอินทร์ พิมสอน พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2458 ครูใหญ่
4 รองอำมาตย์โทโปร่ง บุณยารมย์ พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2460 ครูใหญ่
5 ราชบุรุษเฉลย อิ่นทุมาน พ.ศ. 2461 พ.ศ. 2462 ครูใหญ่
6 ราชบุรุษขุนนาก บุนบุตรศึกษากร (ป.ม.) พ.ศ. 2463 พ.ศ. 2468 ครูใหญ่
7 ราชบุรุษขุนเดช กุญชรศึกษา (ป.ม.) พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2487 ครูใหญ่
8 นายวิศาล ศิวารัตน์ (ป.ม.) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2490 ครูใหญ่
9 นายสุวรรณ คุณพงศ์ (ป.ม.) พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2493 ครูใหญ่
10 นายชวน สุทธิรัตน์ (ป.ม.) พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2497 ครูใหญ่
11 นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2515 อาจารย์ใหญ่
โรงเรียนสตรีเลย
(พ.ศ. 2482 - 2515)
1 รักษาการ
นางสาวจำนง บำรุงสวัสดิ์ (ม.8)
พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2482 รักษาการแทน
2 นางสาวสุมาลี เวสประชุม (พ.ม) พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2486 ครูใหญ่
3 นางเปี่ยมศรี จุลกาญจน์ (ป.ป.) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2488 ครูใหญ่
4 นางสาวน้อม นิคมภักดี (ป.ม.) พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2490 ครูใหญ่
5 นางสาวบุญกอบ วิสมิตะนันท์ (ป.ม.) พ.ศ. 2491 พ.ศ. 2495 ครูใหญ่
6 นางจารุนีล์ โชติกุล (ป.ม.) พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2515 อาจารย์ใหญ่
โรงเรียนเลยพิทยาคม
(พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน)
1 นายเฉลิม จิรนาท (ป.ม.) พ.ศ. 2450 พ.ศ. 2452 อาจารย์ใหญ่
2 นายทรวง ยุวกาญจน์ (พ.ม.,กศ.บ.) พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2520 อาจารย์ใหญ่
3 นายวิลาศ วีระสุโข (ป.ม.,กศ.บ.) พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2527 ผู้อำนวยการ
4 นายสนิทพงศ์ นวลมณี (ค.ม.,น.บ.) พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2529 ผู้อำนวยการ
5 นายสุเมธ กัปโก (กศ.ม) พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการ
6 นายประพนธ์ พลเยี่ยม (กศ.ม) พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการ
7 นายโกศล บุญไชย (กศ.ม) พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2553 ผู้อำนวยการ
8 นายกิตติพิชญ์ พสิษฐ์เนาวกุล (ศษ.ม) พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการ
9 นายธวัช มูลเมือง (ค.ม) พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2562 ผู้อำนวยการ
10 นายวิชัย ปุรัน พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2565 ผู้อำนวยการ
11 นายกมล เสนานุช พ.ศ. 2565 พ.ศ. 2566 ผู้อำนวยการ
12 นายจิตติศักดิ์ นามวงษา พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

เกียรติประวัติโรงเรียนเลยพิทยาคม[แก้]

  1. รางวัลคุณภาพระดับองค์กร (SCQA : School Quality Awards)
    จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA : Office of the Basic Education Commission Quality Awards)
    จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ประจำปีการศึกษา 2558
    จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
  4. สถานศึกษาลดการใช้พลังงานดีเด่น ประจำปี 2557
    จาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  5. นักเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ปีพุทธศักราช 2523, 2528, 2534, 2543, 2546
  6. โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปีพุทธศักราช 2523, 2534
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ
  7. โรงเรียนสีขาว เฉลิมพระเกียรติ ปลอดยาเสพติด ประจำปี 2542
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ
  8. โล่ประกาศเกียรติคุณองค์กรเยาวชนดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเครือข่ายเยาวชนแกนนำ "รักษ์เลยพิทย์" เมื่อปี 2556
    จาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  9. รางวัลห้องสมุดดีเด่น เมื่อปี 2539
    ของ กรมสามัญศึกษา
  10. รางวัลห้องสมุดกาญจนาภิเษก เขตการศึกษา 9 เมื่อปี 2539
    ของ กรมสามัญศึกษา
  11. รางวัลสถานศึกษาที่จัดจริยศึกษาดีเด่น เมื่อปี 2523, 2534, 2536, 2539, 2540
    ของ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ
  12. โรงเรียนรักษาศีล 5
    จาก กระทรวงศึกษาธิการ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]