โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"
ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110

ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญกยิราเจ กริยาเถนํ
(ถ้าจะทำอะไรให้ทำจริง ๆ)
สถาปนาพ.ศ. 2443 (122 ปี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14
ผู้บริหารนายพรศักดิ์ ทวีรส
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี   เขียว-ขาว
เว็บไซต์sena.ac.th

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" (อักษรย่อ ส.น.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่[ต้องการอ้างอิง] ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-6 ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2443

ประวัติ[แก้]

โรงเรียน "ราษฎร์บำรุง"[แก้]

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยท่านเจ้าคุณมหานายก ผู้ตรวจการคณะสงฆ์ได้จัดตั้งขึ้นเป็นทำนองโรงเรียนวัด อาศัยศาลาโรงธรรมของวัดใหม่กำแพง (ในปัจจุบัน คือ วัดเสนานุชรังสรรค์ ) เป็นตัวโรงเรียนครั้น พ.ศ. 2449 พระราชเมธี ผู้ตรวจการคณะสงฆ์มาตรวจเห็นว่ามีเด็กเข้ามาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก 80 - 90 คน ควรจะจัดให้เป็นตัวโรงเรียนหลวงขึ้นได้ จึงจัดหาครูให้คนหนึ่งให้นามโรงเรียนว่า "ราษฎร์บำรุง" ดำรงอยู่ในอุปการะของพระครูอุดมปัญญา (น่วม) เจ้าคณะเมืองตะกั่วป่า เป็นผู้สอดส่องดูแลการสอน การปกครอง ความเป็นอยู่ของครูและนักเรียนตลอดมา ส่วนครูได้รับเงินเดือนของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น การจัดสอนมีชั้นมูล 1, 2, 3 ตามลำดับ โรงเรียนหลังนี้ได้ทำการสอนมาจนถึง พ.ศ. 2452 รวมเวลา 10 ปี ผู้ที่เป็นครูใหญ่โรงเรียนหลังนี้ คือ

  1. พระภิกษุเจี้ยง
  2. สามเณรท่านหนึ่ง (ไม่มีการบันทึกเอาไว้)
  3. นายช้อย
  4. นายเวศ
  5. นายแปลก

ในสมัยที่นายแปลก ฯ เป็นตรูใหญ่นี้มีการบังคับบัญชาเข้มงวดกวดขันมากนักเรียนได้รับความรู้อย่างดีสมกับสมัยนั้น จึงทำให้โรงเรียนนี้ได้ทำการสอนจนถึง พ.ศ. 2452 รวมระยะเวลา 10 ปี

โรงเรียนประจำจังหวัดตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ในปี พ.ศ. 2449 พระเสนานุชิต (ฉิม) ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า (สมัยที่ตะกั่วป่ายังเป็นจังหวัด) เห็นว่ายุวชนใน ตำบลตลาดเหนือ ตลาดใต้ (ตำบลตะกั่วป่าในปัจจุบัน) กับตำบลใกล้เคียงมีจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เพราะสถานที่ศึกษามีน้อยไม่พอกับจำนวนเด็ก เห็นสมควรที่จะทะนุบำรุงโรงเรียนที่มีอยู่แล้วในวัดใหม่กำแพง (เสนานุชรังสรรค์) ให้เจริญขึ้น และให้ห้องเรียนมีพอกับจำนวนนักเรียน จึงได้ขอเรี่ยไรเงินจากเงินเดือนข้าราชการคนละ 1 เดือน ส่วนที่ยังขาดอยู่ให้พ่อค้า นายเหมืองแร่ช่วยกันออกจนพอ ได้เงินรวมทั้งสิ้น 5,000 บาทเศษ จึงได้สร้างโรงเรียนขึ้นตรงหน้าวัดเสนานุชรังสรรค์ ภายนอกกำแพงด้านตะวันออกของวัด การสร้างนั้นเกณฑ์ราษฎรตามตำบลใกล้เคียงให้หาตัวไม้ เครื่องประกอบและช่วยสร้าง จ้างนายช่างเป็นผู้อำนวยการสร้างตลอดเวลา แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2452 ย้ายนักเรียนมาเรียนเฉพาะชั้นมูล 1, 2 ,3 ส่วนชั้นเตรียมให้คงเรียนในที่เดิมไปก่อน แต่ครูใหญ่มีเฉพาะโรงเรียนหลังใหม่คนเดียว แล้วท่านจึงตั้งนามโรงเรียนให้พ้องกับนามของท่านและข้าราชการว่า โรงเรียนเสนานุกูล ซึ่งคำว่าเสนา คือ ข้าราชการ ดำรงอยู่ด้วยความอุปการะของผู้ว่าราชการจังหวัด และเจ้าคณะจังหวัดทางคณะสงฆ์ ส่วนครูรับเงินเดือนของรัฐบาลซึ่งกระทรวงจัดเบิกจ่ายให้ การจัดสอนชั้นต้น มีชั้นมูล 1, 2, 3 แล้วจึงเลื่อนขึ้นเรียนชั้นประถมปีที่ 1, 2, 3 ตามลำดับ สอนภาษาไทยตลอดทุกชั้น ครั้นต่อมาราว พ.ศ. 2456 ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ เอาชั้นมูล 1,2,3 เดิม เป็นชั้นประถม 1, 2 ,3 สอนภาษาไทย และชั้นประถมเปลี่ยนเป็นมัธยม 1, 2, 3 ตามลำดับมีการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นด้วยต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา จึงเริ่มเก็บเงินค่าเล่าเรียนชั้นประถม 1 - 3 คนละ 2 บาทต่อปี มัธยมปีที่ 1 - 3 คนละ 4 บาท ต่อปี ส่วนชั้นประถมนั้นภายหลังเพิ่มชั้นประถมปีที่ 4 เป็นประโยคประถมบริบูรณ์ ในสมัยนี้การศึกษาเจริญขึ้น การเรียนการสอนก็ได้รับผลมากทั้งจัดเป็นโรงเรียนสหศึกษาด้วย จึงมีนักเรียนมากขึ้นตามลำดับ โรงเรียนหลังนี้เริ่ม พ.ศ. 2452 – 2475 รวม 22 ปี ครูใหญ่ที่สอนเฉพาะโรงเรียนหลังนี้ คือ

  1. นายเที่ยง ฯ (ส่งมาจากกระทรวง)
  2. พระใบฎีกา (แดง) เจ้าอาวาสวัดเสนานุชรังสรรค์
  3. รองอำมาตย์ตรี ทรัพย์ ยูวนวัฒน์ ป.ป.ส่งมาจากกระทรวง
  4. รองอำมาตย์ตรี ช่วง ปาลิพภัฏ ป.ป. ส่งมาจากกระทรวง
  5. รองอำมาตย์ตรี บุญมี อินทาปัจ (วรสิทธิ อินทาปัจ) ป.ม., ธ.บ. ส่งมาจากกระทรวง

โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ต่อมาโรงเรียนหลังเดิมชำรุดทรุดโทรมมากจนเหลือความสามารถที่จะซ่อมแซมให้คงใช้ได้อีกต่อไป เพราะตัวโรงเรียนสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง

ในปี พ.ศ. 2475 พระนิพิฐนิติศาสน์ กับหลวงพิลาศวรรณสาร ข้าหลวงตรวจการศึกษาพร้อมด้วยหลวงกิติวาท ธรรมการมณฑลภูเก็ต ขุนมานพานุสาสน์ ธรรมการจังหวัดพังงา นายชื่น ไชยสิริ นายอำเภอตะกั่วป่า ต่างเห็นพ้องว่าโรงเรียนเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก ควรจัดตั้งเสียใหม่ โดยขอที่ของวัดเสนาฯ ภายนอกกำแพง กระทรวงธรรมการเห็นชอบด้วย จึงอนุญาตงบประมาณ 7,650 บาท จึงได้เริ่มก่อสร้าง ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เสร็จเรียบร้อย

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า “เสนานุกูล” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล" เป็นโรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" โรงเรียนหลังนี้เริ่ม พ.ศ. 2477 – 2510 รวมระยะเวลา 33 ปี

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ในปี พ.ศ. 2509[แก้]

โรงเรียนได้รับเข้าโครงการปรับปรุงโรงเรียนมัธยมในชนบท (คมช.) รุ่นที่ 3 และเนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบ ขยายสร้างอาคารเพิ่มเติมไม่ได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนไปสร้าง ณ สถานที่ใหม่ ตำบลบางนายสี เยื้องโรงพยาบาลตะกั่วป่า ซึ่งทางอำเภออนุญาตให้ใช้ที่สงวนของทางราชการ เนื้อที่ 50 ไร่ แล้วโอนอาคารเรียนเดิมให้แก่สำนักงานเทศบาลเมืองตะกั่วป่า ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 300,000 บาท อาคารอุตสาหกรรมศิลป์ 163,000 บาท และบ้านพักครู 1 หลัง 50,000 บาท ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอน ณ สถานที่แห่งใหม่เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 และยังคงมีจำนวนนักเรียน 9 ห้องเรียน และโรงเรียนยังได้รับอุปกรณ์จากกรมวิสามัญและยูนิเซฟเป็นจำนวนมาก วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2510 นายช่วย สุขพันธุ์ ครูใหญ่ ครบเกษียณอายุราชการ กรมวิสามัญ (ปัจจุบันกรมวิสามัญหรือกรมสามัญศึกษา ถูกยุบที่เรียบร้อย) ได้แต่งตั้งนายสุทิน ปิ่นแก้ว ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510

ในปี พ.ศ. 2511[แก้]

โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสมแบบ 2 (คมส.2) และได้ขยาย เนื้อที่ออกเป็น 100 ไร่ โดยขอขยายออกทางด้านหลังซึ่งเป็นที่สงวนของทางราชการ ขอปรับตำแหน่งครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่ในปีนั้นด้วย

ในปี พ.ศ. 2512[แก้]

ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 120,000 บาท ให้ก่อสร้างอาคาร อาชีวเกษตร 1 หลัง สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2513 และได้รับเงินงบประมาณ 500,000 บาทกับเงินบริจาคนายจุติ บุญสูง บริจาคสมทบจำนวน 500,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 212 จำนวน 1 หลัง 10 ห้องเรียน สร้างเสร็จ พ.ศ. 2513 และเปิดสอนสายอาชีวเกษตร ตามหลักสูตร คมส. 2

ในปี พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2521 และพ.ศ. 2524[แก้]

ในปี พ.ศ. 2518 เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปีพ.ศ. 2521เริ่มรับนักเรียนที่จบชั้นประถมปีที่ 6 เข้าเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีพ.ศ. 2524 เริ่มรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย[1]

ในปี พ.ศ. 2542[แก้]

โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการห้องเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้รับงบประมาณจำนวน 500,000 บาท โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ Resource Center เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่าย School Net ประเภทโรงเรียนพี่ข่ายและได้รับจัดสรรครุภัณฑ์ Resource Center 1 ห้อง (เครื่องคอมพิวเตอร์ 7 ชุด, เซิร์ฟเวอร์ 1 ชุดและสายเช่า 1 หมายเลข)

ในปี พ.ศ. 2543 – 2547[แก้]

ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลก โครงการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ จำนวน 2,800,000 บาท และปรับปรุงอาคารเรียน 4 โดยใช้เงินงบประมาณของโรงเรียนและศิษย์เก่า 2505 ร่วมบริจาคสร้างห้องคณิตศาสตร์ 91,600 บาท งบปรับปรุงห้อง 200,000 บาท

ในปี พ.ศ. 2545[แก้]

ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษาพ.ศ. 2545

ในปี พ.ศ. 2549[แก้]

ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ได้รับมอบห้อง TOT โครงการ TOT IT SCHOOL จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

ในปี พ.ศ. 2552[แก้]

ได้เปิดหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษ Mini English Program และห้องเรียนพิเศษ วิทย์-คณิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ในปี พ.ศ. 2553[แก้]

ได้เปิดหลักสูตรโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School

ในปี พ.ศ. 2554[แก้]

ได้รับเงินบริจาคและสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารหอสมุดวิทยบริการ ครบรอบ 111 ปี เป็นเงิน 4,500,000 บาท ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555

ในปี พ.ศ. 2555[แก้]

ได้รับงบประมาณ 17,226,500 บาท จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 319ล/39(พิเศษ) ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2556

ในปี พ.ศ. 2556[แก้]

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ได้ผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบ "การพัฒนาคุณธรรมนำวิชาการตามหลักความดีพื้นฐานสากล" ในโครงการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนในฝันและโรงเรียนมาตรฐานสากล ปีการศึกษา 2556

ปัจจุบัน[แก้]

ปัจจุบัน โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ได้เปิดทำการสอนให้นักเรียน จำนวน 58 ห้องเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอปลาย จำนวน 28 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนทั่วไป จำนวน 46 ห้องเรียน และห้องเรียนพิเศษ จำนวน 12 ห้องเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

โรงเรียน "ราษฎร์บำรุง"[แก้]

ครูใหญ่[แก้]

  1. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : พระภิกษุเจี้ยง
  2. พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2452 : สามเณรท่านหนึ่ง (ไม่มีการบันทึกเอาไว้) นายช้อย
  3. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : นายเวศ
  4. พ.ศ. ไม่ปรากฏ : นายแปลก

โรงเรียนประจำจังหวัดตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ครูใหญ่[แก้]

  1. พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2455 : นายเที่ยง
  2. พ.ศ. 2455 : พระใบฎีกา (แดง)
  3. พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2469 : รองอำมาตย์ตรี ทรัพย์ ยูวนวัฒน์
  4. พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2470 : รองอำมาตย์ตรี ช่วง ปาลิพภัฏ
  5. พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2482 : รองอำมาตย์ตรี บุญมี อินทาปัจ (วรสิทธิ์ อินทาปัจ)

โรงเรียนประจำอำเภอตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ครูใหญ่[แก้]

  1. พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2480 : รองอำมาตย์ตรี บุญมี  อินทาปัจ (วรสิทธิ์ อินทาปัจ)
  2. พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2481 : นายประเทือง  แพทย์ประสิทธิ์
  3. พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482 : นายพะเนียด  เลาหม่าเลศร (รักษาการ)
  4. พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2491 : นายช่วย สุขพันธ์

โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล"[แก้]

ครูใหญ่[แก้]

  1. พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2510 : นายช่วย สุขพันธ์

อาจารย์ใหญ่[แก้]

  1. พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2522 : นายสุทิน ปิ่นแก้ว

ผู้อำนวยการ[แก้]

  1. พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2531 : นายสุทิน ปิ่นแก้ว
  2. พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2531 : นายอารี ทวีผล
  3. พ.ศ. 2535 : นายประทีป ปิ่นแก้ว
  4. พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541  : นายสุรพงษ์ สุขสง
  5. พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2546 : นายพัชรินทร์ ปลอดฤทธิ์
  6. พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548 : นายประวิทย์ เจริญงาน
  7. พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2554 : นายสถิต ตรีบุรุษ
  8. พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555 : นายกำจร อุทัยวจนพันธ์
  9. พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2560 : นายเลิศธิไกร ภิรมย์
  10. พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2563 : นางสาวอรสา เสรีวงษ์
  11. พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2566 : นางสาวปาจรีย์ สุวัตถิกุล
  12. พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน : นายพรศักดิ์ ทวีรส

ผู้บริหาร[แก้]

  1. นางวรอิศรา พรหมภัทร ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  2. น.ส.จรีรัตน์ สามารถ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  3. น.ส.วิภาพร นันทรักษ์ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.
  4. น.ส.ศิริวรรณ ขลิกคำ ตำแหน่ง รอง ผอ.รร.

อาคารเรียนในโรงเรียนตะกั่วป่า"ตะกั่วป่า"[แก้]

  1. อาคาร 1 (อาคารจุติ บุญสูง)
  2. อาคาร 2
  3. อาคาร 3
  4. อาคาร 4
  5. อาคาร 5
  6. อาคาร To Me Number 1
  7. หอประชุมเก่า (หอประชุมเสนานุวัติ)
  8. หอประชุมใหม่
  9. อาคารปฏิบัติการอุตสาหกรรม
  10. อาคารปฏิบัติการคหกรรม
  11. หอสมุดวิทยบริการ
  12. อาคารสระว่ายน้ำ
  13. อาคารดนตรีไทยและนาฎศิลป์
  14. อาคารเกษตร
  15. อาคารธุรกิจ

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]