โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนสภาราชินี)
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
Saparachinee Trang School
Saparachinee Trang School
ตราประจำโรงเรียน อักษรย่อ ส.ภ. ภายใต้ มงกุฎ ด้านล่าง มีมงคลนาม "สภาราชินี" หมายถึง "สภาราชินี" เป็นมงคลนาม ที่ได้รับพระราชทานจาก องค์สมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ภ. / SP
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สพฐ. - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
สถาปนา20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
ผู้ก่อตั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1004920102
สี██████ น้ำเงิน-ขาว
เพลงมาร์ชสภาราชินี
เว็บไซต์spa.ac.th

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง เป็นโรงเรียนรัฐในจังหวัดตรัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนแบบสหศึกษาทั้งชายและหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 13 ห้อง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 15 ห้อง

ประวัติโรงเรียน[แก้]

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ในปี พ.ศ. 2444 วโรกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเสด็จจังหวัดตรัง ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานทุนทรัพย์เป็นเงิน 4,000 บาท สำหรับจัดสร้างโรงเรียนวิเชียรมาตุ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชาย ณ ถนนพัทลุง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ประชาชนได้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนเป็นจำนวนมาก ทำให้อาคารเรียนคับแคบ ดังนั้นใน พ.ศ. 2459 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนทรัพย์อีก เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาท เพื่อก่อสร้างโรงเรียนเรียนเพิ่มเติม เพื่อรองรับนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นทุก ๆ ปี พร้อมทั้งพระราชทานนามอาคารหลังใหม่ ว่าอาคาร "สภาราชินี" [1]

ต่อมาข้าหลวงประจำจังหวัด มีความคิดที่จะตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดบ้าง จึงรวบรวมนักเรียนหญิงได้จำนวนหนึ่ง แต่ขณะนั้นยังไม่มีที่เรียน จึงให้ไปเรียนที่อาคารสภาราชินี พ.ศ. 2474 ได้มีคณะบุคคลผู้มีจิตศรัทธา ประกอบด้วย

  • พระยาอาณาจักรบริบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง
  • หลวงยวดประศาสน์ นายอำเภอเมืองตรัง
  • หลวงพิชิตปฏิภาณ ผู้พิพากษาจังหวัดตรัง
  • ขุนจรรยาวิทูร ศึกษาธิการจังหวัดตรัง
  • หลวงทวีทรัพย์ราช คลังจังหวัดตรัง

โดยการนำของข้าหลวงประจำจังหวัดตรัง จัดหาทุนก่อสร้างโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง ณ เลขที่ 142 ถนนวิเศษกุล อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ในพื้นที่ 8 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา อันเป็นสถานที่ปัจจุบัน

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 ย้ายนักเรียนหญิงจากอาคารสภาราชินีมาเรียนที่โรงเรียนใหม่นี้โดยใช้นาม โรงเรียนว่า "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง" และนับเอาวันอันเป็นสิริมงคลนี้เป็นวันกำเนิดโรงเรียนสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2494 ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก "โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง" เป็น โรงเรียนสตรีตรัง"สภาราชินี"

และในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนกศิลปะรับนักเรียนสหศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงขออนุญาตสำนักราชเลขาธิการผ่านทางกระทรวงศึกษาธิการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง เป็นชื่อ "โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง" และได้ใช้มงคลนามนี้มาตราบจนปัจจุบัน [2]


บริเวณหน้าเสาธง

ในปัจจุบัน โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 2 พันกว่าคน ประกอบด้วยอาคารถาวร 6 หลัง ได้แก่ อาคารเรียน 3 หลัง หอประชุมโรงอาหาร 1 หลัง อาคารอเนกประสงค์ 2 หลัง มีทั้งหมด 79 ห้อง ใช้เป็นห้องเรียน ห้องฝึกปฏิบัติ ห้องบริการและห้องพิเศษอื่นๆ โรงเรียนเคยอยู่ในโครงการ คมช.รุ่นที่ 7

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง ได้รับคัดเลือกเป็น สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2524 , ปีการศึกษา 2532 , ปีการศึกษา 2541 , ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2559 ตามลำดับ [3] [4]

เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559 วงโยธวาทิตโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทเดินพาเหรด พ.ศ. 2559 ถ้วยเกียรติยศกรมพลศึกษา ในการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน ฯ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ สนามศุภชลาศัย

และชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิต ชิงแชมป์ภาคใต้ ประจำปี พ.ศ. 2559 ในประเภทการเดินขบวนพาเหรด ระหว่างวันที่ 23 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เป็นตัวแทนภาคใต้เข้าร่วมการแข่งขัน ในระดับประเทศ

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดตรัง
ผู้อำนวยการโรงเรียน วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นางจงกล ทองศรีสุข พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2486
โรงเรียนสตรีตรัง"สภาราชินี"
ผู้อำนวยการโรงเรียน วาระการดำรงตำแหน่ง
2. นางสาวเจียมจิตต์ บุญญานุรักษ์ พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2510
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
ผู้อำนวยการโรงเรียน วาระการดำรงตำแหน่ง
3. นางสาวพรรณี ควรประเสริฐ พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2515
4. นางสาวยุพิณ ดุษิยามี พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2523
5. นางสาวสุภางค์ เขียวหวาน พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2530
6. นางสาววิมล สุวรรณเวลา พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2536
7. นางสาวประภาพรรณ ภูมิสิงหราช พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
8. นายเจตน์ กุลบุญ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538
9. นายมิตร ศรีชาย พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539
10. นายถาวร อุทัยรัตน์ พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540
11. นายปิ่น สุวรรณะ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544
12. นายสมพงษ์ แคนยุกต์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2553
13. นายอำนาจ แก้วรักษ์ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2559
14. นายสุรศักดิ์ ยี่หลัก พ.ศ. 2559 - 30 ก.ย. 2562
15.นางสาวนวลจันทร์ ช่องดารากุล(รักษาราชการแทน) 1 ต.ค. 2562 - 25 ธ.ค. 2562
16. ดร.สุมิตร สามห้วย 26 ธ.ค. 2562 - ปัจจุบัน

การเรียนการสอน[แก้]

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จัดการศึกษาเป็น 2 ประเภท

  1. ประเภทห้องเรียนพิเศษ
    1. ห้องเรียนพิเศษตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (สสวท.)
    2. โครงการห้องเรียนพิเศษวิทย์-คณิต
    3. ห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)
  1. ประเภทห้องเรียนทั่วไป
    1. ห้องเรียนส่งเสริมวิทย์-คณิต
    2. ห้องเรียนวิทย์-คณิต
    3. ห้องเรียน No-Paper
    4. ห้องเรียนอังกฤษ-คณิต
    5. ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาจีน
    6. ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรี - นาฏศิลป์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (สสวท.)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (โครงการพิเศษ)
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ (NO-Paper)
  • ห้องเรียนทั่วไป
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านภาษาจีน
  • ห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]

  • ห้องเรียนพิเศษตามโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (สสวท.)
  • ห้องเรียนพิเศษวิทยศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (โครงการพิเศษ)
  • ห้องเรียนวิทยศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (ทั่วไป)
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - คอมพิวเตอร์ (NO-Paper)
  • ห้องเรียนอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ศิลป์คำนวณ)
  • ห้องเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรี - นาฏศิลป์
  • ห้องเรียนพิเศษการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program)

อาคารเรียน[แก้]

อาคาร 1[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องประชุมแนะแนว/ห้องพักครูแนะแนว/ห้องเกียรติยศจอมทองศิลาสุนาเสวีนนท์/ห้องวัฒนธรรมโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
  • ชั้น 2 ห้องกลุ่มบริหารงานวิชาการ/ห้องกลุ่มบริหารงานงบประมาณ/ห้องผลิตเอกสาร/ห้องผู้อำนวยการ/ห้องประชุม(อาจารย์)
  • ชั้น 3 ห้องพระโรงเรียนสภาราชินี/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องหมวดวิชาสังคมศึกษา/ห้องเรียน

อาคาร 2[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องพยาบาล/ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/ห้องของหมวดวิชาการงานอาชีพและคหกรรม/ห้องสมุดสารานุกรม/สำนักงานคณะกรรมการสภานักเรียน
  • ชั้น 2 ห้องหมวดวิชาภาษาไทย/ห้องหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ/ห้องหมวดวิชาศิลปะ
  • ชั้น 3 ห้องหมวดวิชาภาษาจีน/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องเรียน

อาคาร 3[แก้]

มี 5 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ใต้ถุนอาคาร บริเวณให้นักเรียนนั่งพักผ่อนหรืออ่านหนังสือ
  • ชั้น 2 ห้องหมวดวิชานาฏศิลป์/ห้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียน/ห้องหมวดวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
  • ชั้น 3 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/ห้องเรียน
  • ชั้น 4 ห้องเรียนของนักเรียนโครงการ No paper
  • ชั้น 5 ห้องเรียนของนักเรียนโครงการ English program

อาคาร 4[แก้]

มี 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ห้องนักเรียนวงโยธวาทิตของโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
  • ชั้น 2 ห้องเรียนดนตรี
  • ชั้น 3 ห้องเรียนและห้องหมวดวิชาดนตรี
  • ชั้น 4 ห้อง TOT

อาคาร 5[แก้]

มี 8 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 ลานจอดรถยนต์ของคณะอาจารย์โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง/ห้องหมวดพลานามัย
  • ชั้น 2 ลานจอดรถยนต์ของคณะอาจารย์โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง/ห้องกลุ่มบริหารงานบุคคล
  • ชั้น 3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์/ห้องสมุดหมวดวิชาวิทยาศาสตร์
  • ชั้น 4 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์/ห้องหมวดวิชาวิทยาศาสตร์
  • ชั้น 5 ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติของโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
  • ชั้น 6 ห้องเรียน/ห้องหมวดวิชาคณิตศาสตร์
  • ชั้น 7 ห้องเรียน/ห้องโสต
  • ชั้น 8 ห้องประชุม

อาคารหอประชุมและโรงอาหาร[แก้]

มี 2 ชั้น ประกอบด้วย

  • ชั้น 1 โรงอาหารครู นักเรียนและบุคลากรอื่นๆ
  • ชั้น 2 หอประชุมขนาดใหญ่

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา ,แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมศึกษาธิการ เรื่อง สร้างสภาราชินีจังหวัดตรัง มณฑลภูเก็ต ,29 ธันวาคม พ.ศ. 2461
  2. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-03. สืบค้นเมื่อ 2016-11-22.
  3. วารสารราชินีศรีตรัง 2558
  4. รางวัลพระราชทาน สถานศึกษารางวัลพระราชทาน 2559[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]