โรงเรียนวัดป่าประดู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวัดป่าประดู่
Watpapradoo School
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นว.ป.
WP
ประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญสุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (ความสามัคคีของหมู่ ก่อให้เกิดสุข)
สถาปนา30 สิงหาคม พ.ศ. 2465
หน่วยงานกำกับสพม.เขต 18
รหัส12210104
ผู้อำนวยการนางสุมาลี สุขสาร
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1 - ม.6
สี███ ███ สีเหลือง - สีเขียว
เพลงมาร์ชป่าประดู่
เว็บไซต์www.watpa.ac.th

โรงเรียนวัดป่าประดู่ ในระยะเริ่มแรกได้รับการก่อตั้งขึ้นให้เป็นโรงเรียนประถมศึกษา เปิดทำการเรียนการสร้างครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2465 บนพื้นที่ 17 ไร่เศษ เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน และใช้ศาลาการเปรียญของวัดป่าประดู่เป็นที่เรียนชั่วคราว มีพระศิลป์ ดัชนีย์เป็นครูใหญ่คนแรก

โรงเรียนวัดป่าประดู่ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีระเบียบระบบอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้ง เป็นลำดับในทุก ๆ ด้านจนกระทั่งปัจจุบัน ก้าวมาสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการเรียนการสอนในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนวัดป่าประดู่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองระยอง ด้านหน้าติดถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นถนนเศรษฐกิจสายหลัก ด้านขวาติดกับโรงพยาบาลระยอง ส่วนด้านซ้ายติดกับวัดป่าประดู่

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนวัดป่าประดู่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของจังหวัดระยอง เป็นโรงเรียนที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ค่อนข้างสับสน และอุดมไปด้วยความเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นโรงเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดแห่งหนึ่ง โรงเรียนอยู่คู่เมืองระยองมานับชั่วอายุคน แม้จะไม่ถึงขั้นที่จะใช้คำว่าโบราณ หากแต่จะสืบสาวประวัติความเป็นมาจะต้องใช้คำบอกกล่าวเล่าขาน จากรุ่นสู่รุ่น ต้องใช้เวลาไม่น้อยในการพลิกสมุดบันทึกเรื่องราวจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้เรื่องราวโดยละเอียด ระยะเวลากว่า 80 ปี จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันโรงเรียนวัดป่าประดู่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานับครั้งไม่ถ้วน มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาโดยลำดับ เริ่มต้นจากอาคารศาลาการเปรียญเล็กๆ ของวัดป่าประดู่ มีพระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่

  • 30 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เริ่มก่อตั้งโรงเรียน โดยใช้พื้นที่ของวัดป่าประดู่ จำนวน 17 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวาเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียน โดยมีพระศิลป์ ดัชนีย์ เป็นครูใหญ่คนแรก
  • 26 มีนาคม พ.ศ. 2478 โอนไปอยู่ในสังกัดเทศบาลเมืองระยอง
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2487 โอนเข้าสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ระดับชั้น ป.1-ป.4
  • พ.ศ. 2497 เปิดการเรียนการสอนในระดับ ม.1-ม.3 ( หรือ ป.5-ป.7 ) ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนเมืองระยอง" เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาแห่งแรกของ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
  • พ.ศ. 2517 เปิดการเรียนการสอน ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.1-ม.3 ในปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2518 โอนนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปอยู่โรงเรียนระยองวิทยาคม และยังคงเปิดสอนในระดับประถมศึกษาอยู่เช่นเดิม
  • พ.ศ. 2520 เปิดการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2521 โอนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นไปอยู่โรงเรียนระยองวิทยาคม อีกครั้ง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 โรงเรียนโอนเข้าสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ใช้ชื่อว่า"โรงเรียนวัดป่าประดู่ ( สหมิตรสามัคคี) "
  • พ.ศ. 2523 ศึกษาธิการจังหวัด สั่งให้โรงเรียนเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาอีกครั้ง
  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รอบที่ 3 โรงเรียนถูกโอนเข้าสู่กรมสามัญศึกษาใช้ชื่อว่า "โรงเรียนวัดป่าประดู่"
  • พ.ศ. 2527 โอนทรัพย์สินต่างๆ จากประถมศึกษาให้เป็นโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา
  • 11 ธันวาคม พ.ศ. 2530 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • พ.ศ. 2546 เข้าสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาระยองเขต 1 สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ปัจจุบัน โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 3,270 คน จำนวนห้องนักเรียน รวม 64 ห้องเรียน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน/คำขวัญ/เพลงและสีประจำโรงเรียน

  • ตราสถาบัน มงกุฏเหนืออักษรย่อ ว.ป. ส่วนของวงกลมตรงกลางคือ ดอกประดู่ ที่ล้อมไปด้วยช่อชัยพฤกษ์
  • ดอกประดู่ อันเป็นสัญลักษณ์บนตราของโรงเรียน และพบได้ทั่วไปในโรงเรียน แสดงถึง ความพร้อมเพรียง ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง ทั้งนี้ดอกประดู่ยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดระยองอีกด้วย
  • ปรัชญา: บุคคลมีทางพัฒนาได้
  • คติพจน์: สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี (ความสามัคคีของหมู่ ก่อให้เกิดสุข)
  • คำขวัญ: เรียนดี ประพฤติดี มีวินัย อนามัยดี
  • เพลงมาร์ชป่าประดู่: เป็นหนึ่งในเพลงประจำโรงเรียนวัดป่าประดู่ ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดย นายจินดา สุวรรณลมัย เป็นเพลงที่ใช้มากที่สุดจนเป็นที่คุ้นหูกันว่า เหลือง เขียว งามหรู นอกจากนี้โรงเรียนวัดป่าประดู่ยังมีเพลงประจำโรงเรียนอีกหลายเพลง
  • สีเหลือง-เขียว: เป็นสีประจำโรงเรียน ซึ่งในตอนหนึ่งของเพลงมาร์ชป่าประดู่ ได้กล่าวไว้ว่า "เหลือง-เขียว งามหรู ดอกประดู่เปรียบเช่นเป็นสีเหลือง ต้นใบสีเขียวช่วยประเทือง ให้รุ่งเรืองตราบสิ้นดินมลาย"

อาคารสถานที่ภายในโรงเรียน[แก้]

อาคารต่าง ๆ[แก้]

โรงเรียนวัดป่าประดู่มีอาคารภายในโรงเรียน ทั้งสิ้น 7 อาคาร ได้แก่

  • อาคารพระเทพคุณาธาร หรือ อาคาร 1 อาคารเรียนพิเศษสูง 7 ชั้น สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการขาดแคลนห้องเรียน 41 ห้องเรียน ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณใจกลางโรงเรียน ชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องบริหารงานฝ่ายต่างๆ ชั้น 3 และ 4 เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ชั้น 5 และ 6 เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ม.5-ม.6 และยังเป็นห้องเรียนสายศิลป์-ภาษา ม.4-ม.5 (ห้องเรียนศิลป์-จีน,ศิลป์-ญี่ปุ่น,ศิลป์-ธุรกิจ) ส่วนชั้น 7 เป็นชั้นเรียน ม.4-ม.6 ห้องเรียนพิเศษ SMTE (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม) ส่วนชั้น 8 เป็นชั้นเรียน ม.1-ม.3 ห้องเรียนพิเศษ SMT (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี) เป็นอาคารเรียนที่สูงที่สุดในโรงเรียน สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อเป็นเกียรติแด่ พระเทพคุณาธาร (อภัย อภโย) (นามเดิม: อภัย วงศ์บุปผา) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าประดู่และเจ้าคณะจังหวัดระยอง วางศิลาฤกษ์โดย พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น
    • เสาเข็มอาคาร (ใหญ่) ที่สร้างในโรงเรียนวัดป่าประดู่ ตั้งแต่อาคาร 7 เป็นต้นมา ต้องใช้วิธีการเจาะ เพราะการตอกจะกระเทือนไปทั่วบริเวณ และจุดที่อันตรายที่สุด คือ เจดีย์เก่าแก่ที่อยู่ในบริเวณโรงพยาบาลระยอง ถ้าตอกเสาเข็มคงจะพังลงมา ดังนั้นเสาเข็มของอาคารพระเทพคุณาธาร จึงใช้วิธีการเจาะ โดยผู้รับเหมา (ซึ่งโรงเรียนต้องไปขออนุเคราะห์ให้มาช่วยสร้างเพราะไม่มีใครยื่นซองประมูล) ได้ว่าจ้างบริษัท PYLON ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของประเทศไทยที่รับบริการเจาะเสาเข็มที่ได้มาตรฐานที่สุด เสาเข็มนั้นเป็นรากฐานที่สำคัญ หากเกิดการผิดพลาดจะกระทบต่อมาตรฐานของอาคารทันที จำเห็นได้ว่า เข็มเจาะ เป็นเข็มที่ตรงตลอดเสา ไม่เอนเอียงระเกะระกะ เหมือนเข็มตอกทั่วไป ดังนั้นอาคารพระเทพคุณาธาร จะเป็นอีกหนึ่งผลงาน ที่ชาวระยองจะฝากไว้เป็นอนุสรณ์แด่ชนรุ่นหลังได้อย่างภาคภูมิใจ
  • อาคาร 2 อาคารเรียนสูง 5 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน 48 ห้อง และ 8 ห้องเป็นห้องหมวดต่างๆ โดยหลักๆใช้เป็นห้องหมวดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สังคมศึกษา,คณิตศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ชั้น 1 ใช้เป็นลานกิจกรรม และห้องประชุม และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาซึ่งย้ายมาจากอาคาร 2 เดิม เนื่องจากมีการรื้อถอนอาคาร 2 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสร้างอาคารเรียนและหอประชุมใหม่
  • อาคาร 5 อาคารเรียนสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่หลังสุดของโรงเรียน เป็นอาคารเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • อาคาร 3 อาคารเรียนสูง 3 ชั้น เป็นอาคารของห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini english program) ส่วนชั้น 1 ใช้เป็นโรงอาหาร และเป็นที่ตั้งของร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียน
  • อาคาร 4 อาคารเรียนสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านหลังของอาคารพระเทพคุณาธาร ใช้เป็นอาคารเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา และกิจกรรมแนะแนว ส่วนต่อเติมชั้น 2 ใช้สำหรับเรียนคอมพิวเตอร์ ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นห้องศิลปะและห้องเรียนศิลป์-ภาษาของ ม.6 ส่วนชั้น 1 และส่วนต่อเติม เป็นห้องสมุดกาญจนาภิเษก
  • หอประชุมโรงเรียนวัดป่าประดู่ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ด้านข้างติดกับ วัดป่าประดู่ ชั้น 1 เป็นลานกิจกรรมให้นักเรียนมานั่งเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆได้ ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) ทั้งหมด 8 ห้อง ส่วนชั้น 3 เป็นหอประชุมเอาไว้ทำกิจกรรมสำคัญต่างๆ


    • อาคาร 3 เดิม อาคารไม้หลังเก่า สูง 2 ชั้น ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงแต่ชื่อ เนื่องจากได้ถูกรื้อถอนออกเพื่อก่อสร้างอาคารพระเทพคุณาธารแทนที่
    • อาคาร 2 เดิม อาคารไม้หลังเก่า สูง 1 ชั้น ที่อยู่กับโรงเรียนวัดป่าประดู่มาตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียน กว่า 86 ปี ปัจจุบันอาคาร 2 ได้ถูกรื้อถอนเมื่อเดือนธันวาคม 2559 เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสร้างอาคารเรียนและหอประชุมใหม่ จำนวน 3 ชั้น ปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่โล่ง "

ลานกิจกรรมและกีฬา[แก้]

  • สนามฟุตบอล ตั้งอยู่กลางโรงเรียน รายล้อมด้วยต้นประดู่ (ในปัจจุบันปลูกต้นประดู่ป่าแทนต้นประดู่บ้าน)
  • สนามบาสเก็ตบอล ประกอบด้วยสนามบาสเก็ตบอลมาตรฐานจำนวน 2 สนาม ตั้งอยู่ติดรั้วหน้าโรงเรียน ปัจจุบันเหลือเพียง 1 สนาม เนื่องจากอีกสนามหนึ่งได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสนามฟุตซอล
  • โรงฝึกพลศึกษา เป็นโรงฝึกพลศึกษาอเนกประสงค์ในร่มขนาดใหญ่ ประกอบด้วย สนามวอลเลย์บอล ตะกร้อ และปิงปอง และเวทีจัดกิจกรรมดนตรีประจำโรงเรียน ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนเมื่อเดือนธันวาคม 2559 เพื่อสร้างอาคารเรียนและหอประชุมใหม่ จำนวน 3 ชั้น แทนที่โรงฝึกพลศึกษาเดิม
  • สนามเปตอง ตั้งอยู่ด้านหลังอาคาร 7 บนพื้นที่ส่วนห้องน้ำชายและอาคารเก็บของเดิม ซึ่งติดกับโรงพยาบาลระยอง

จุดผักผ่อนและทำงาน[แก้]

  • ห้องสมุดกาญจนาภิเษก เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหนังสือไว้ให้บริการสำหรับนักเรียนเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในส่วนต่อเติมและชั้น 1 ของอาคาร 3
  • สวนกาญจนาภิเษก เป็นสวนร่มรื่น เหมาะแก่การผักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง ในจุดนี้ยังมีบริการหมากกระดาน ไว้ให้บริการนักเรียนอีกด้วย สวนกาญจนาภิเษกอยู่ติดกับอาคาร 2 และป้อมยามฝั่งขาออก ปัจจุบันถูกรื้อถอนเป็นลานจอดรถแทน
  • ศาลาทรงไทย รอบสนามฟุตบอล ศาลาทรงไทย ตั้งอยู่โดยรอบของสนามฟุตบอล ในบรรยากาศอันร่มรื่น ภายใต้ร่มเงาของต้นประดู่ นอกจากนี้ยังมีในจุดอื่นๆอีกด้วย
  • โดม ติดกับโรงอาหาร เป็นหลังคาสีฟ้าทรงโดม ที่เชื่อต่อระหว่าง อาคาร 5 กับโรงฝึกพลศึกษา ปัจจุบันถูกรื้อถอน

จุดรูดบัตรบันทึกเวลา และจุดตรวจสอบผลการเรียน[แก้]

โรงเรียนวัดป่าประดู่ เป็นโรงเรียนแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบการรูดบัตรบันทึกเวลาการเข้า-ออก โรงเรียน ซึ่งทางโรงเรียนจะส่งบันทึกเวลาการเข้า-ออกโรงเรียนของนักเรียน ให้ผู้ปกครองรับทราบทุกเดือน นอกจากนี้นักเรียนยังสามารถตรวจสอบผลการเรียน ได้จากจุดบริการรูดบัตรอื่นๆ ทั่วโรงเรียนอีกด้วย

  • อาคารรูดบัตรบันทึกเวลาเข้า-ออก ตั้งอยู่ด้านหน้าทางประตูขาเข้า ประกอบด้วยเครื่องรูดบัตรจำนวน 4 เครื่อง ปัจจุบันมี 3 เครื่อง ต่อมาได้ยกเลิกการแตะบัตรเป็นการเดินผ่านเครื่องบันทึกแทนในปี 2558 ปัจจุบันอาคารนี้ได้ถูกรื้อถอนแล้วเพื่อปรับภูมิทัศน์โรงเรียน ส่วนเครื่องบันทึกเวลาได้ย้ายมาติดตั้งทางเข้าใต้อาคาร 2 แทน
  • จุดรูดบัตรตรวจสอบผลการเรียน มีให้ใช้บริการอยู่ทั่วโรงเรียน ตามอาคารใหญ่ๆ ปัจจุบันไม่มีแล้ว

รายนามผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระศิลป์ ดัชนีย์ พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2467
2 นายสอน สุวรรณเกษร พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2467
3 นายกิมเฮา สุภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - พ.ศ. 2468
4 นายศรี ภูธนะกูล พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2469
5 นายหาญ พนาเวช พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2480
6 นายอิงค์ เวชประสิทธิ์ พ.ศ. 2480 - พ.ศ. 2483
7 นายวอน วิริยะมัติ พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485
8 นางสาวบุญชู ศิริภัคดี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2485
9 นางสาววัลภา เสียงลือ พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2485
10 นางสาวบุญชู ศิริภัคดี พ.ศ. 2485 - พ.ศ. 2487
11 นายพิพัฒน์ พ้นชั่ว พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2487
12 นางสาววรรณี โสภณ พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2488
13 นายพิสุทธิ์ มณีแสง พ.ศ. 2488 - พ.ศ. 2507
14 นายจำนง ฉายาชวลิต พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2507
15 นายระวี ปัญญายิ่ง พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2513
16 นายจอม จรัสวิมล พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2516
17 นายจำนง ฉายาชวลิต พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2530
18 นายโสภณ ไทรเมฆ พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2533
19 นายสุรพงษ์ ซื่อตรง พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
20 นายจตุรงค์ ผลารุจิ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536
21 นายพงศา งามละเมียด พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2542
22 นายมานพ งามสุวรรณ์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544
23 นายจำนง ไชยรัตน์ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548
24 นายวินัย ฉิมวงษ์ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2551
25 นายสมพงษ์ น้อยสุขขี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555
26 นายไพรัตน์ บุญศรี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557
27 ดร.ทวีสิทธิ์ อิสรเดช พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560
28 นายบำรุง ชูประเสริฐ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562
29 ดร.พรศักดิ์ ทิพย์วงษ์ทอง พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2564
30 นางสุมาลี สุขสาร พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]