ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพารากอน"

พิกัด: 13°44′48″N 100°32′06″E / 13.746545°N 100.535138°E / 13.746545; 100.535138
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ประวัติ: เพิ่มความร่วมมือในนามกลุ่มพลังสยาม
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


สยามพารากอนเป็นอาคารสูง 8 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น มีลิฟต์แก้วที่ใช้กระจกทั้งหมดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีจำนวนลิฟต์ทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็นลิฟต์แก้วแบบใช้กระจกทั้งหมด 2 ตัว, ลิฟต์แก้วแบบธรรมดา 2 ตัว, ลิฟต์ธรรมดา 22 ตัว, บันไดเลื่อน 85 ตัว, ทางเลื่อน 4 ตัว พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500,000 ตารางเมตร และใช้เงินลงทุนมากกว่า 15,000 ล้านบาท<ref>[https://positioningmag.com/8004 สยามพารากอน จุดพลุ “ถนนสายช้อปปิ้ง”]</ref>
สยามพารากอนเป็นอาคารสูง 8 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น มีลิฟต์แก้วที่ใช้กระจกทั้งหมดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีจำนวนลิฟต์ทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็นลิฟต์แก้วแบบใช้กระจกทั้งหมด 2 ตัว, ลิฟต์แก้วแบบธรรมดา 2 ตัว, ลิฟต์ธรรมดา 22 ตัว, บันไดเลื่อน 85 ตัว, ทางเลื่อน 4 ตัว พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500,000 ตารางเมตร และใช้เงินลงทุนมากกว่า 15,000 ล้านบาท<ref>[https://positioningmag.com/8004 สยามพารากอน จุดพลุ “ถนนสายช้อปปิ้ง”]</ref>

ในปี พ.ศ. 2558 สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจ[[สยามสแควร์]] และ[[เอ็มบีเค|บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)]] ก่อตั้ง[[สมาคมการค้าพลังสยาม]]ขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าใน[[ย่านสยาม]]ให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก<ref name=":0">{{Cite web|last=|first=|date=2015-10-02|title=3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่|url=https://www.voicetv.co.th/watch/266157|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=[[วอยซ์ทีวี]]|language=th}}</ref><ref>{{Cite web|date=2015-09-30|title=พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน “ย่านสยาม” ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า|url=http://www.siam-synergy.com/th/topics/siam-district-collaboration/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=สมาคมการค้าพลังสยาม}}</ref> สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินจำนวน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์อาหารบริเวณชั้น G ฝั่งทิศเหนือ โซน The Gourmet Garden ในสยามพารากอน โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559<ref>{{Cite web|last=|date=2016-11-30|title=สยามพารากอนจัดเต็ม รวมร้านอาหารและขนมหวานคุณภาพระดับโลกไว้ที่เดียว ไปลุยกันเลย!! {{!}} กินกับพีท|url=https://www.eatwithpete.com/siam-paragon-2016/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=กินกับพีท|language=th}}</ref>


== การจัดสรรพื้นที่ ==
== การจัดสรรพื้นที่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:23, 1 มีนาคม 2564

สยามพารากอน
แผนที่
โถงหลัก

สยามพารากอน (Siam Paragon) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมในพื้นที่ย่านสยาม ถนนพระรามที่ 1 ในพื้นที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร บริหารงานโดย บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ ในนาม บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และ บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด โครงการประกอบด้วยศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย โดยในส่วนของอาคารศูนย์การค้านั้น เป็นหนึ่งในศูนย์การค้ากลุ่มวันสยาม มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลเวิลด์ ไอคอนสยาม และเซ็นทรัล เวสต์เกต แต่ถือเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในย่านสยาม เน้นความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง, กลุ่มนักท่องเที่ยว, กลุ่มลูกค้าต่างชาติ และกลุ่มลูกค้าระดับกลางถึงบนในศูนย์การค้าเดียว อีกทั้งยังเป็นศูนย์การค้าที่เป็นคู่แข่งกับเซ็นทรัลเวิลด์ในย่านราชประสงค์โดยตรง เนื่องจากอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยมีวัดปทุมวนารามราชวรวิหารคั่นกลาง

ด้านหน้าสยามพารากอน
สยามพารากอนเวลากลางคืน
ด้านข้างสยามพารากอนเวลากลางคืน

สยามพารากอนมีลูกค้าชาวไทยประมาณ 60% และชาวต่างชาติ 40%[1] เป็นสถานที่ที่มีผู้แชร์ภาพผ่านอินสตาแกรมมากที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2556[2] และจากข้อมูลในปี พ.ศ. 2560 มีผู้มาเยี่ยมเยือนศูนย์การค้าเฉลี่ย 80,000-200,000 คน/วัน[3] นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอันดับ 1 คือ จีน รองลงมา คือ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น[4]

จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2554 สยามพารากอนใช้ไฟฟ้าราว 123 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งถือว่ามากกว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนในช่วงเวลาเดียวกันที่มีประชากรราว 2.5 แสนคน ใช้ไฟ 65 ล้านหน่วย[5]

ประวัติ

ช่วงทางเข้าหลัก
The Canal ก่อนการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2559

สยามพารากอนตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 1 สร้างบนที่ดินส่วนหนึ่งของวังสระปทุม อันเป็นที่ดินพระราชมรดกของราชสกุลมหิดล ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับสร้างวังพระราชทานแก่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แต่เดิมที่ดินส่วนนี้เป็นสวนผลไม้ของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ต่อมาบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด (เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546) ได้ขอเช่าที่ดินดังกล่าวจากวังสระปทุมเพื่อก่อสร้างโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ซึ่งถือเป็นโรงแรมแห่งแรกของไทยที่บริหารด้วยเชนโรงแรมจากต่างประเทศ เมื่อโรงแรมดำเนินกิจการมาครบ 30 ปี ครบกำหนดสัญญาเช่าในปี พ.ศ. 2538 และได้รับการขยายอายุสัญญาต่อไปอีก 60 ปี จึงมีการปรับปรุงสัญญาใหม่โดยต่อสัญญาเช่าไปอีก 90 ปี และมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่บนพื้นที่เดิมของโรงแรม เพื่อให้เหมาะสมกับมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้รื้อโรงแรมและสิ่งปลูกสร้างลง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่บนพื้นที่ดังกล่าว คือ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มเดอะมอลล์และสยามพิวรรธน์[6] โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์การค้าเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548

สยามพารากอนเป็นอาคารสูง 8 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น มีลิฟต์แก้วที่ใช้กระจกทั้งหมดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีจำนวนลิฟต์ทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็นลิฟต์แก้วแบบใช้กระจกทั้งหมด 2 ตัว, ลิฟต์แก้วแบบธรรมดา 2 ตัว, ลิฟต์ธรรมดา 22 ตัว, บันไดเลื่อน 85 ตัว, ทางเลื่อน 4 ตัว พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500,000 ตารางเมตร และใช้เงินลงทุนมากกว่า 15,000 ล้านบาท[7]

ในปี พ.ศ. 2558 สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจสยามสแควร์ และบริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งสมาคมการค้าพลังสยามขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าในย่านสยามให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก[8][9] สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินจำนวน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์อาหารบริเวณชั้น G ฝั่งทิศเหนือ โซน The Gourmet Garden ในสยามพารากอน โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559[10]

การจัดสรรพื้นที่

สยามพารากอนประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

ห้างสรรพสินค้าพารากอน

ห้างสรรพสินค้าพารากอน (อังกฤษ: Paragon Department Store) เป็นห้างสรรพสินค้าในอาคารสยามพารากอน บริหารงานโดย บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด ซึ่งกลุ่มเดอะมอลล์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ภายในประกอบด้วยแผนกและร้านค้าย่อยต่างๆ นอกจากนี้ยังมีแผนกสินค้า "เอ็กโซทีค ไทย" ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของไทย รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ศูนย์การค้าพารากอน

กูร์เมต์ การ์เดน
เอ็กโซทีค ไทย
พารากอนซีนีเพล็กซ์

ศูนย์การค้าพารากอน (อังกฤษ: Paragon Shopping Complex) เป็นศูนย์การค้าในอาคารสยามพารากอน บริหารงานโดย บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งกลุ่มสยามพิวรรธน์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยโอบล้อมส่วนของห้างสรรพสินค้าทางทิศเหนือ ตะวันตก และใต้ ในลักษณะคล้ายรูปตัวแอล ภายในพื้นที่ศูนย์การค้า ประกอบด้วยร้านสินค้าลักชูรี ร้านค้าแฟชัน ร้านสินค้าเทคโนโลยี โชว์รูมรถยนต์ ร้านสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของร้านภูฟ้าผสมผสาน ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะ สาขาที่สามในประเทศไทยต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์ และเอ็มโพเรียม (สาขาเอ็มโพเรียมย้ายไปยังเอ็มควอเทียร์ เมื่อปี พ.ศ. 2558) และสถานออกกำลังกายฟิตเนส เฟิร์ส แพลทินัม ซึ่งสร้างบนพื้นที่เดิมของแคลิฟอร์เนีย ว้าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ อีกด้วย

ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร

สยามพารากอน เป็นที่ตั้งของซูเปอร์มาร์เก็ต "กูร์เมต์ มาร์เก็ต" แห่งที่สองต่อจากเอ็มโพเรียม นอกจากนี้ยังมีโซนร้านอาหารต่างๆ อาทิ กูร์เมต์ อีทส์, เดอะ กูร์เมต์ การ์เดน, ฟู้ด พาสซาจ ออน โฟร์ธ เป็นต้น และยังมีร้านอาหารต่างๆ กระจายตัวโดยรอบศูนย์การค้า

บางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์

บางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์; ชื่อเดิม: สยามโอเชียนเวิลด์

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซี ไลฟ์ โอเชียน เวิลด์ กรุงเทพ หรือ บางกอก ซี ไลฟ์ โอเชียนเวิลด์ (อังกฤษ: Sea Life Bangkok Ocean World; ชื่อเดิม: สยามโอเชียนเวิลด์) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในอาคารสยามพารากอน บริหารงานโดย เมอร์ลิน เอ็นเตอร์เทนเมนท์ กรุ๊ป

พารากอน ซีนีเพล็กซ์

พารากอน ซีนีเพล็กซ์ (อังกฤษ: Paragon Cineplex) เป็นโรงภาพยนตร์ในศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย บริษัท สยาม ซีนีเพล็กซ์ จำกัด ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์[11] โดยมีโรงภาพยนตร์ย่อยจำนวน 16 โรง ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์แอลอีดี สกรีน โฟร์ดีเอกซ์ และไอแมกซ์ ระบบละ 1 โรง นอกจากนี้ยังมีโถงกิจกรรมอินฟินิซิตี้ฮอลล์ และบลูโอ รึธึ่ม แอนด์ โบว์ล สาขาแรกในประเทศไทย

รอยัลพารากอนฮอลล์

รอยัลพารากอนฮอลล์ (อังกฤษ: Royal Paragon Hall) เป็นศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมในสยามพารากอน บริหารงานโดย บริษัท รอยัล พารากอน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ภายในประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ 3 ห้อง และห้องประชุมเล็กอีก 5 ห้อง

คิดส์ซาเนีย กรุงเทพ

คิดส์ซาเนีย กรุงเทพ (อังกฤษ: KidZania Bangkok) เป็นศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบเมืองจำลองสำหรับเด็ก ลิขสิทธิ์จากประเทศเม็กซิโก สร้างในพื้นที่เดิมของโรงละครสยามโอเปร่า[12]

สยาม เคมปินสกี กรุงเทพ

โรงแรมสยาม เคมปินสกี กรุงเทพ (อังกฤษ: Siam Kempinski Bangkok) และเคมพินสกี เรสซิเดนเซส สยาม (อังกฤษ: Kempinski Residences Siam) เป็นโรงแรมและอาคารชุดเพื่อการพักอาศัย โดยเป็นการร่วมทุนกับเครือโรงแรมและรีสอร์ท เคมปินสกีอาเก ประเทศเยอรมนี

พื้นที่อื่นๆ

  • พาร์คพารากอน (อังกฤษ: Parc Paragon) ลานกิจกรรมที่สามารถเชื่อมตัวศูนย์การค้าเข้ากับสถานีสยามของรถไฟฟ้าบีทีเอส และสยามเซ็นเตอร์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของจอแอลอีดีขนาดใหญ่ ซึ่งเชื่อมต่อกับจอแอลอีดีที่ติดตั้งบริเวณสยามเซ็นเตอร์ และอาคารจอดรถสยามอีกด้วย

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. “สยามพารากอน” ประกาศความยิ่งใหญ่ 9 ปี แห่งความสำเร็จกับการเป็นผู้นำสร้างประสบการณ์ระดับโลกที่แตกต่างและตรงใจ
  2. ฉลอง 10 ปี "พารากอน"
  3. สุดยิ่งใหญ่ 12 ปีสยามพารากอน
  4. สยามพารากอนอัดโปรดูดเงินนักช็อปจีน
  5. Pasick, Adam (2015-04-05). "Bangkok's lavish, air-conditioned malls consume as much power as entire provinces". Quartz. สืบค้นเมื่อ 10 Apr 2015.
  6. ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรรธน์
  7. สยามพารากอน จุดพลุ “ถนนสายช้อปปิ้ง”
  8. "3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่". วอยซ์ทีวี. 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน "ย่านสยาม" ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า". สมาคมการค้าพลังสยาม. 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "สยามพารากอนจัดเต็ม รวมร้านอาหารและขนมหวานคุณภาพระดับโลกไว้ที่เดียว ไปลุยกันเลย!! | กินกับพีท". กินกับพีท. 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2552 (แบบ 56-1) ของ บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป
  12. สยามพารากอนล้มแผนผุดโอเปร่า ดึงเม็กซิโกทุ่ม700ล.เปิดคิดซาเนีย

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′48″N 100°32′06″E / 13.746545°N 100.535138°E / 13.746545; 100.535138