ข้ามไปเนื้อหา

ร้านภูฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ร้านภูฟ้า จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของโครงการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งช่วยการส่งเสริมอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยใช้ตราสัญลักษณ์ "ภูฟ้า" เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ซึ่งมีฐานะยากจน ให้มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้จากอาชีพเกษตรกรรม

วัตถุประสงค์ของร้านภูฟ้า

[แก้]

ร้านภูฟ้ามีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. ร้านภูฟ้า เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สานต่องานโครงการส่งเสริมอาชีพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งส่งเสริมและพัฒนาชุมชนในถิ่นทุรกันดารให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเสริมสร้างจิต สำนึกและความรับผิดชอบของประชาชนชาวไทยที่มีต่อการพัฒนาชุมชนในถิ่นทุรกันดาร
  2. จุดประสงค์หลักของร้านภูฟ้า คือ การสร้างวงจรการตลาด การพัฒนา การส่งเสริม การผลิตในชุมชนให้เกิด ขึ้นได้อย่างยั่งยืน ด้วยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มุ่งส่งเสริมอาชีพของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร นอกจากนี้ยังมีสินค้าและ กิจกรรมอื่นเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้แก่ร้าน
  3. ร้านภูฟ้าจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาด ในความ เป็นจริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสม โดยคำนึงการพัฒนาสังคมโดยรวมด้วย
  4. ร้านภูฟ้าจะพัฒนากระบวนการจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นคืนกลับสู่ชุมชนที่มีส่วนในการผลิต เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

ผลิตภัณฑ์

[แก้]

ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในร้านภูฟ้า

  1. ผ้า
  2. เครื่องจักสาน
  3. อาหาร
  4. ยาสระผม / ครีมนวดผม
  5. ผลิตภัณฑ์จากภาพฝีพระหัตถ์

การส่งเสริมอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร

[แก้]

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริ ให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนที่ด้อยโอกาส ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม ให้มี คุณภาพชีวิตดีขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ด้วยทรงเห็นว่าประชาชนในพื้นที่เหล่านี้มีความเป็นอยู่ยากลำบาก ได้รับบริการพื้นฐานต่าง ๆ จากรัฐไม่ทั่วถึง ดังนั้นการพัฒนาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นไปอย่างช้า ๆ และไม่เพียงพอ ทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนเหล่านี้ ไม่เท่าเทียมกับประชาชนใน พื้นที่อื่น ๆ

ปัญหาพื้นฐาน 4 ประการ

[แก้]

ในการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยเหลือประชาชนเหล่านี้ทรงเน้นการพัฒนาเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาพื้นฐาน 4 ประการ คือ

  1. ความยากจน
  2. ปัญหาโภชนาการและสุขภาพอนามัย
  3. การขาดโอกาสทางการศึกษา
  4. ความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีความเกี่ยวกันเป็นลูกโซ่ ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแร้นแค้นอย่างเรื้อรังแก่ประชาชน

พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร

[แก้]

โดย ที่ทรงเห็นว่าเด็กเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มากที่สุด ดังนั้นในระยะแรกของการพัฒนา จึงทรงมุ่งพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็น กลุ่มเป้าหมายหลัก

โดยทรงเลือกพื้นที่ดำเนินการในสถานที่เหล่านี้ คือ

  1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  2. โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
  4. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะในถิ่นทุรกันดาร
  5. พื้นที่อื่น ๆ ตามพระราชประสงค์ ในกระบวนการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

โรงเรียนเหล่านี้จะเป็นแหล่งความรู้พื้นฐานของประชาชนที่จะนำไปพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่ในครอบครัวให้ดีขึ้นพร้อมกันไปด้วย

การดำเนินงาน

[แก้]

ในแต่ละปี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานความช่วยเหลือแก่ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เป็นจำนวนเพิ่มขึ้น จนถึงปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2546) มีเด็กและเยาวชนจำนวนทั้งสิ้น 65,058 คน และมีพระราชดำริในการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ได้ดำเนินงานดังนี้

  1. การส่งเสริมโภชนาการดีและสุขภาพดีของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  2. การส่งเสริมการผลิตอาหารในพื้นที่เพื่อช่วยลดระดับความรุนแรงของปัญหาการ ขาดสารอาหาร
  3. การป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญในแต่ละพื้นที่
  4. การเสริมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น
  5. การสร้างความรู้และพัฒนาทักษะการอาชีพที่เป็นราก ฐานของพึ่งตนเองให้แก่เด็กอีกด้วย

ดังจะเห็นได้จากการที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการฝึกอาชีพให้กับเด็กนักเรียน และศิษย์เก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

สาขา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]