ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Azza11111 (คุย | ส่วนร่วม)
พระราชบุตรรัชกาลที่สี่
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| พระนาม =
| พระนาม =
| พระนามเต็ม =
| พระนามเต็ม =
| ฐานันดร = พระองค์เจ้า
| ฐานันดร = พระองค์เจ้าชั้นเอก
| วันประสูติ = 30 กันยายน พ.ศ. 2409
| วันประสูติ = 30 กันยายน พ.ศ. 2409
| วันสิ้นพระชนม์ = 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493</br> ({{อายุปีและวัน|2409|09|30|2493|02|27}})
| วันสิ้นพระชนม์ = 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493</br> ({{อายุปีและวัน|2409|09|30|2493|02|27}})

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 12 กรกฎาคม 2558

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4
ประสูติ30 กันยายน พ.ศ. 2409
สิ้นพระชนม์27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
(83 ปี 150 วัน)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (30 กันยายน พ.ศ. 2409 — 23 เมษายน พ.ศ. 2493) เป็นพระราชธิดาองค์ที่ 77 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับองค์ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระอุทรได้แก่ พระองค์เจ้าโสมาวดี, พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ, พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ, พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์, พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา, พระองค์เจ้าหญิง (ชันษา 8 วัน), พระองค์เจ้าไชยานุชิต, พระองค์เจ้าไขแขดวง, พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช[1]

ในเวลาประสูติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์นั้น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เอาช้างไปขายที่เมืองพม่า พระเจ้ามินดงจึงประทานสังวาลเครื่องยศอย่างพม่ามาให้พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ พวกชาวเชียงใหม่ที่ไม่ชอบใจก็กล่าวหาว่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์เอาใจออกหากไปเข้ากับพม่า พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์จึงเอาสังวาลลงมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพมหานคร แล้วทูลเรื่องราวตามจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงระแวงพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ แต่ไม่ทรงรับสังวาลไว้ เพราะทรงรังเกียจว่า จะเป็นการรับเครื่องยศจากพม่า ฝ่ายพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ก็ไม่ยอมเอาสังวาลกลับไป เพราะเกรงจะเป็นมลทินว่า ยังคบหาพม่าอยู่ จึงถวายสังวาลนั้นให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ โดยให้ช่างปรับปรุงเป็นเครื่องแต่งพระองค์ เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า "พวงสร้อยสอางค์"[2]

พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์มีฝีพระหัตถ์ในการปรุงพระสุคนธ์ (น้ำอบ) จึงมีหน้าที่ปรุงพระสุคนธ์ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3]

พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก พระราชธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[4]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปีขาล พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี มีการจัดพิธีพระราชเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (30 กันยายน พ.ศ. 2409 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 297
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2500). ชุมนุมพระนิพนธ์ (บางเรื่อง). กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาล. หน้า 65.
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์. เลาะวัง. กรุงเทพฯ:โชคชัยเทเวศร์, 2535. หน้า 208
  4. 4.0 4.1 ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)
  5. "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (32): 572. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1156. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0ง): 130. 23 เมษายน พ.ศ. 2454. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3114. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0ง): 3481. 16 มกราคม พ.ศ. 2481. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
  12. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113