ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว|ประดิษฐาสารี]]
[[หมวดหมู่:ชาวไทยเชื้อสายลาว|ประดิษฐาสารี]]
[[หมวดหมู่:เจ้าหญิงไทย]]


{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:27, 2 สิงหาคม 2556

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
ประสูติ19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408
สิ้นพระชนม์18 มีนาคม พ.ศ. 2505 (96 ปี)
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาดวงคำ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (19 กรกฎาคม พ.ศ. 240818 มีนาคม พ.ศ. 2505) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาดวงคำ พระราชนัดดาในเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ พระองค์เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าที่มีพระชนมายุสูงสุดในราชวงศ์จักรี

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 75 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ 2 ของเจ้าจอมเชื้อสายลาว คือเจ้าจอมมารดาดวงคำ (เจ้าหนูมั่นแห่งเวียงจันทน์) เป็นธิดาเจ้าคลี่ และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่) ของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ มีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา

พระองค์เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์หม่อมเจ้าชื่น นพวงศ์ ผู้ที่ซึ่งต่อมาได้ครองสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์[1]

ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในรัชกาลที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี ในฐานะที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในที่มีพระอาวุโสสูงสุด ทรงเป็นผู้ลาดพระที่ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในคราวนั้นด้วย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปที่พระชนมายุยืนที่สุดในพระราชวงศ์จักรี[2] โดยมีพระชนมายุยืนยาวถึง 6 แผ่นดิน ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปีขาล พ.ศ. 2505 พระชันษา 96 ปี 5 เดือน 29 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[3] ในเว็บไซต์ของสำนักราชเลขาธิการระบุว่าเสด็จฯ พระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[4] ในโอกาสนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าวงศ์สว่าง มกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์กษัตริย์ลาว ทรงร่วมพระราชพิธีดังกล่าว

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 18 มีนาคม พ.ศ. 2505)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. วัดบวรนิเวศวิหาร. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสลำดับที่ ๔. เรียกดูเมื่อ 15 เมษายน 2556
  2. ไฟน์สโตน, เจฟฟรีย์. (๒๕๔๓). สมุดพระรูปพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดาในรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ: โลมาโฮลดิ้ง. ISBN 974-87148-8-8, หน้า 45 เชิงอรรถ 46
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2505/D/059/9.PDF
  4. http://www.ohmpps.go.th/searchsheetlist.phpget=1&doc_type=&imageField_x=1&imageField_y=1&keyword=monastery&ps_edate_day=&ps_edate_month=&ps_edate_year=&ps_sdate_day=&ps_sdate_month=&ps_sdate_year=&quick_mode=advance&quick_phase=AND&quick_type=sheet&offset=310
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๗, ตอน ๒๕ ง, ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓, เล่ม ๑๘๐๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๕๕, ตอน ๐ ง, ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑, หน้า ๓๔๒๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๐, ตอน ๑๗ ง, ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖, หน้า ๑๐๑๐