ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

พิกัด: 13°45′32″N 100°30′30″E / 13.758946°N 100.508273°E / 13.758946; 100.508273
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงคมนาคม
Ministry of Transport
ตราพระรามทรงรถ
ภาพรวมกระทรวง
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2455; 112 ปีก่อน (2455-04-01)
กระทรวงก่อนหน้า
  • กระทรวงโยธาธิการ
  • กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
  • ทบวงพาณิชย์และคมนาคม
ประเภทกระทรวง
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 38 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
บุคลากร63,766 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี193,352,843,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วย
ฝ่ายบริหารกระทรวง
  • ชยธรรม์ พรหมศร, ปลัดกระทรวง
  • วิทยา ยาม่วง, รองปลัดกระทรวง
  • สรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์, รองปลัดกระทรวง
  • รัชนีพร ธิติทรัพย์, รองปลัดกระทรวง
ต้นสังกัดกระทรวงรัฐบาลไทย
ลูกสังกัดกระทรวง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของกระทรวง

กระทรวงคมนาคม (อังกฤษ: Ministry of Transport) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับดูแลระบบการขนส่งและบริการคมนาคม ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ธุรกิจการขนส่ง การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน[3]

ประวัติ

[แก้]
อาคารที่ทำการกระทรวงคมนาคม ภาพจากปี 1964

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปราชการบริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน โดยได้มีการจัดตั้ง กรมโยธาธิการ ขึ้น ในปี 2433 เพื่อดูแลการก่อสร้างถนน ขุดคลอง และการช่างทั่วไป รวมทั้งการไปรษณีย์ โทรเลข และการรถไฟ[4] โดยในขณะนั้น เริ่มมีการสร้างถนนตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคือ ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นถนนสายแรกของประเทศไทย

ต่อมาในปี 2435 จึงได้ยกฐานะกรมต่างๆ ขึ้นเป็นกระทรวง ทำให้ได้เปลื่ยนชื่อเป็น กระทรวงโยธาธิการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ตามเดิม

ต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลื่ยนนามจาก กระทรวงโยธาธิการ เป็น กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2455[5] โดยมีอำนาจหน้าที่ ในการดูแลเกี่ยวกับ การขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการสื่อสาร

ต่อมา เนื่องด้วยปัญหาสภาพเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้ต้องมีการตัดทอน ส่วนราชการที่ซ้ำซ้อน เพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน จึงได้ยุบกระทรวง แล้วรวมเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์ เป็น กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในปี 2475 (ต่อมาได้รวมกับ กระทรวงเกษตราธิการ เป็น กระทรวงเกษตรพาณิชยการ และ กระทรวงเศรษฐการ ตามลำดับ)[4]

ต่อมาได้ตรา พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2477 กำหนดหน้าที่ใน กระทรวงเศรษฐการออกเป็นทบวง โดยได้จัดตั้ง ทบวงพาณิชย์และคมนาคม ก่อนที่จะยุบอีกครั้ง ในปีเดียวกัน[4]

จนกระทั่งในปี 2484 ก็ได้มีการจัดตั้ง กระทรวงคมนาคม ขึ้นใหม่ ตาม พระราชบัญญัติ กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2484 โดยแบ่งส่วนราชการดังนี้

ต่อมา ในปี 2545 ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545[3] ได้แยกงานการสื่อสารและโทรคมนาคมไปจัดตั้งเป็นกระทรวงใหม่คือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้กระทรวงมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งและบริการคมนาคม ธุรกิจคมนาคม การวางแผนจราจร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมอย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน

ปี พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 เมษายน 2562 โดยให้ยกฐานะของสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ขึ้นจัดตั้งเป็นกรมการขนส่งทางราง[6]

ในวันที่​ 8​ เมษายน​ พ.ศ. 2563 รัฐบาลแต่งตั้งปลัดกระทรวงคมนาคมดำรงตำแหน่ง​ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านคมนาคมและการขนส่งทั่วราชอาณาจักรซึ่งเป็นศูนย์ภายในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ที่ทำการกระทรวง

[แก้]

เดิมที่ทำการของกระทรวง เมื่อครั้งยังใช้ชื่อ กระทรวงโยธาธิการนั้น แต่แรกเริ่มนั้น ต้องใช้ที่ทำการของกรมไปรษณีย์ (ไปรษณียาคาร) ไปพลางก่อน ซึ่งแต่เดิมเป็นบ้านของ พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) ต่อมา เมื่อได้สร้างที่ว่าการกระทรวงขึ้นที่บริเวณวังเดิมของ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเจริญผลภูลสวัสดิ์ จึงได้ย้ายไปใช้เป็นที่ทำการตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2438[7] จนกระทั่งเป็นกระทรวงคมนาคมต่อมา เมื่อมีการยุบเลิกกระทรวงคมนาคม ก็ได้ใช้ที่ทำการของ กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่ทำการ[4]

ต่อมาเมื่อได้มีการตั้ง กระทรวงคมนาคม ขึ้นใหม่ เมื่อปี 2484 จึงต้องอาศัยของ อาคารที่ว่าการกรมไปรษณีย์โทรเลข (ไปรษณีย์กลาง บางรัก) ในชั้น 2 ทิศเหนือเป็น ที่ทำการกระทรวงไปก่อน และได้ย้ายไปอยู่ที่บริเวณ ท่าช้างวังหน้า ต่อมาจึงได้ย้ายไปที่บริเวณ ถนนราชดำเนินนอก ซี่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงมาจนถึงบัดนี้ โดยได้เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2497[4]

ตรากระทรวงคมนาคม

[แก้]
ตราพระรามทรงรถ

แต่เดิม ตราพระรามทรงรถ เป็นตราใหญ่ของ กระทรวงโยธาธิการ ซึ่งเดิมใช้ ตราอินทรทรงช้าง แต่มีขนาดโตไป จึงโปรดให้เปลี่ยนเป็น ตราพระรามทรงรถ ให้เข้ากับเรื่องตรวจถนนหรือสร้างเมือง ครั้นยุบเลิก กระทรวงโยธาธิการ มารวมกันกับราชการส่วนอื่น ตราดวงนี้จึงตกมาเป็น ตราตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ครั้นเมื่อปรับปรุง กระทรวงนี้ขึ้นใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ ตราพระรามทรงรถ ยังใช้เป็นตราตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี 2484 ได้ยุบกระทรวงเศรษฐการ แยกเป็นกระทรวงการเศรษฐกิจ และกระทรวงคมนาคม ตราพระรามทรงรถ จึงตกมาเป็นตราของกระทรวงคมนาคม ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2484[8]

หน่วยงานสังกัดกระทรวง

[แก้]

กระทรวงคมนาคมมีส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ดังนี้

ส่วนราชการ

[แก้]

รัฐวิสาหกิจ

[แก้]

องค์การมหาชน

[แก้]

หน่วยงานอื่นของรัฐ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานประจำปี 2565 กระทรวงคมนาคม
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. 3.0 3.1 "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)เก็บถาวร 2018-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติกระทรวงคมนาคม - เว็บไซต์กระทรวงคมนาคม
  5. VDO Presentation : 100 Years of Ministry of Transport
  6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘)พ.ศ. ๒๕๖๒
  7. แจ้งความกระทรวงโยธาธิการ
  8. ตรากระทรวงคมนาคม - เว็บไซต์เก่ากระทรวงคมนาคม
  9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๘) พ.ศ. ๒๕๖๒

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′32″N 100°30′30″E / 13.758946°N 100.508273°E / 13.758946; 100.508273