ฟุตบอลทีมชาติไอซ์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Iceland national football team)
ไอซ์แลนด์
Shirt badge/Association crest
ฉายาStrákarnir okkar (เด็ก ๆ ของเรา)
มนุษย์น้ำแข็ง (ฉายาในประเทศไทย)
สมาคมสมาคมฟุตบอลไอซ์แลนด์
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนลาร์ส ลาเกอร์แบ็ก และเฮย์มีร์ ฮัตล์กริมซอน
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนว่าง
กัปตันอารอน กึนนาร์ซอน
รองกัปตันคอลเปตน์ ซิคโซร์ซอน
ติดทีมชาติสูงสุดรูนาร์ คริสตินซอน (104)
ทำประตูสูงสุดเอย์ดืร์ กวึดยอนแซน (26)
สนามเหย้าเลยการ์ตัลส์เวิตลืร์
รหัสฟีฟ่าISL
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 72 เพิ่มขึ้น 1 (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด23 (กรกฎาคม 2015, กันยายน–ตุลาคม 2015)
อันดับต่ำสุด131 (เมษายน–มิถุนายน 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
อย่างไม่เป็นทางการ:
Flag of the Faroe Islands หมู่เกาะแฟโร 0–1 ไอซ์แลนด์ ธงชาติไอซ์แลนด์
(หมู่เกาะแฟโร; 29 กรกฎาคม 1930)[2]
อย่างเป็นทางการ:
ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 0–3 เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก
(เรคยาวิก, ไอซ์แลนด์; 17 กรกฎาคม 1946)[3]
ชนะสูงสุด
อย่างไม่เป็นทางการ:
ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 9–0 หมู่เกาะแฟโร Flag of the Faroe Islands
(แชปลาวีก, ไอซ์แลนด์; 10 กรกฎาคม 1985)
อย่างเป็นทางการ:
ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 5–0 มอลตา ธงชาติมอลตา
(เรคยาวิก, ไอซ์แลนด์; 27 กรกฎาคม 2000)[4]
แพ้สูงสุด
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 14–2 ไอซ์แลนด์ ธงชาติไอซ์แลนด์
(โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก; 23 สิงหาคม 1967)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2018)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม 2018
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดรอบ 8 ทีมสุดท้าย

ฟุตบอลทีมชาติไอซ์แลนด์ (ไอซ์แลนด์: Íslenska karlalandsliðið í knattspyrnu) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนทีมชาติจากประเทศไอซ์แลนด์ ปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสมาคมฟุตบอลไอซ์แลนด์ (Knattspyrnusamband Íslands)[5]

โดยที่ไอซ์แลนด์เป็นประเทศขนาดเล็กในกลุ่มนอร์ดิกใกล้กับเขตอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับกรุงลอนดอน ประชากรมีราว 300,000 คน สภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี แต่ร้อยละ 10 ของประชากรในชาติมีอาชีพเกี่ยวกับฟุตบอล เช่น ผู้ฝึกสอน โดยกระจายไปอยู่ตามสโมสรต่าง ๆ ของหลายประเทศ[6] และไอซ์แลนด์ไม่มีลีกฟุตบอลอาชีพเป็นของตนเอง

ไอซ์แลนด์เป็นทีมขนาดเล็ก ที่มีประวัติเคยผ่านเข้าเล่นรอบสุดท้ายของมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลระดับใหญ่เพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้น นั่นคือ ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 หรือยูโร 2016 ที่ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ได้สร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรก โดยเอาชนะทีมใหญ่อย่างเนเธอร์แลนด์ไปได้ด้วย[7] โดยไอซ์แลนด์ได้กลายเป็นทีมที่น่าจับตามองในการแข่งขันคราวนี้ เนื่องจากเป็นทีมขนาดเล็กแต่กลับเล่นได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะในรอบที่สอง หรือรอบ 16 ทีมสุดท้าย ที่สามารถเอาชนะอังกฤษมาได้ ก่อนที่รอบ 8 ทีมสุดท้ายหรือรอบก่อนรองชนะเลิศ ไอซ์แลนด์แพ้ต่อฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไป 5–2[8]

การแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างไอซ์แลนด์กับสโลวาเกีย ณ สนามเลยการ์ตัลส์เวิตลืร์ในกรุงเรคยาวิก ไอซ์แลนด์

และอีกครั้ง ในฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพ ไอซ์แลนด์สร้างประวัติศาสตร์ผ่านเข้าไปเล่นได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในฐานะที่เป็นแชมป์รอบคัดเลือกแถบยุโรป กลุ่มไอ ด้วยการมี 22 คะแนน จากทั้งหมด 10 นัด ซึ่งนับว่าเป็นการแข่งขันสำคัญ 2 ครั้งติดต่อกัน และยังสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นชาติที่มีขนาดเล็กที่สุดที่สามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกได้ ด้วยการที่มีจำนวนประชากรทั้งประเทศประมาณ 3500,000 เท่านั้น ทั้งที่ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็มีน้อยรายมาก เช่น เอย์ดืร์ กวึดยอนแซน ที่เคยเป็นกองหน้าในเชลซี สโมสรระดับชั้นนำในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ หรือรายอื่น เช่น จิลวี ซีกืร์ดซอน ที่อยู่กับเอฟเวอร์ตันเท่านั้น และก่อนหน้านั้นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล ก็เกือบจะได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบสุดท้าย ทว่าไปพ่ายแพ้ต่อโครเอเชียเสียก่อน[9]

รายชื่อผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นทั้งหมดนี้ถูกเรียกตัวมาในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน10 กรกฎาคม ค.ศ. 2016

0#0 ตำแหน่ง ผู้เล่น วันเกิด (อายุ) ลงเล่น ประตู สโมสร
1 1GK ฮันแนส โซร์ ฮัลโตร์ซอน 28 เมษายน ค.ศ. 1984 (อายุ 32 ปี) 32 0 นอร์เวย์ บูเดอ/กลิมต์
2 2DF ปีร์กีร์ เมาร์ ไซวาร์ซอน 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 (อายุ 31 ปี) 56 0 สวีเดน ฮัมมาร์บือ
3 2DF เฮยกืร์ เฮย์ดาร์ เฮยก์ซอน 1 กันยายน ค.ศ. 1991 (อายุ 24 ปี) 6 0 สวีเดน อาอีคอ
4 2DF เชอร์ตืร์ แฮร์มันซอน 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 (อายุ 21 ปี) 2 0 สวีเดน เยอเตอบอร์ย
5 2DF สแวร์รี อิญจี อิงกาซอน 5 สิงหาคม ค.ศ. 1993 (อายุ 22 ปี) 4 1 เบลเยียม โลเกอเริน
6 2DF รักนาร์ ซีกืร์ดซอน 19 มิถุนายน ค.ศ. 1986 (อายุ 29 ปี) 54 1 รัสเซีย ครัสโนดาร์
7 3MF โยว์ฮัน แปร์ก กวึดมึนต์ซอน 27 ตุลาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 25 ปี) 45 5 อังกฤษ ชาร์ลตันแอทเลติก
8 3MF ปีร์กีร์ ปียาร์ตนาซอน 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (อายุ 28 ปี) 46 6 สวิตเซอร์แลนด์ บาเซิล
9 4FW คอลเปตน์ ซิคโซร์ซอน 14 มีนาคม ค.ศ. 1990 (อายุ 26 ปี) 37 19 ฝรั่งเศส น็องต์
10 3MF จิลวี โซร์ ซีกืร์ดซอน 8 กันยายน ค.ศ. 1989 (อายุ 26 ปี) 37 12 เวลส์ สวอนซีซิตี
11 4FW อัลแฟรด ฟินปอกาซอน 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (อายุ 27 ปี) 32 7 เยอรมนี เอาก์สบูร์ก
12 1GK เอิกมึนตืร์ คริสตินซอน 19 มิถุนายน ค.ศ. 1989 (อายุ 26 ปี) 10 0 สวีเดน ฮัมมาร์บือ
13 1GK อิงกวาร์ โยนซอน 18 ตุลาคม ค.ศ. 1989 (อายุ 26 ปี) 4 0 นอร์เวย์ ซันเดอฟียูร์
14 2DF เคารี อาอูร์ตนาซอน 13 ตุลาคม ค.ศ. 1982 (อายุ 33 ปี) 47 2 สวีเดน มัลเมอ
15 4FW โยน ตาดี เปิดวาร์ซอน 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (อายุ 24 ปี) 20 1 เยอรมนี ไคเซอร์สเลาเทิร์น
16 3MF รูนาร์ เมาร์ ซีกืร์โยนซอน 18 มิถุนายน ค.ศ. 1990 (อายุ 25 ปี) 9 1 สวีเดน ซุนส์วัลล์
17 3MF อารอน กึนนาร์ซอน (กัปตัน) 22 เมษายน ค.ศ. 1989 (อายุ 27 ปี) 57 2 เวลส์ คาร์ดิฟฟ์ซิตี
18 3MF แทโอว์โดร์ แอลมาร์ ปียาร์ตนาซอน 4 มีนาคม ค.ศ. 1987 (อายุ 29 ปี) 25 0 เดนมาร์ก ออร์ฮูส
19 2DF เฮอร์ดืร์ ปีเยิร์กวิน มักนูซอน 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 (อายุ 23 ปี) 3 0 อิตาลี เชเซนา
20 3MF แอมิล ฮัตล์แฟรดซอน 29 มิถุนายน ค.ศ. 1984 (อายุ 31 ปี) 52 1 อิตาลี อูดีเนเซ
21 3MF อาร์ตโนร์ อิงกวี เทรยส์ตาซอน 30 เมษายน ค.ศ. 1993 (อายุ 23 ปี) 6 3 สวีเดน นอร์เชอปิง
22 4FW เอย์ดืร์ กวึดยอนแซน 15 กันยายน ค.ศ. 1978 (อายุ 37 ปี) 84 25 นอร์เวย์ มอลเด
23 2DF อารี เฟรร์ สกูลาซอน 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 (อายุ 29 ปี) 37 0 เดนมาร์ก โอเดนเซ

ประวัติการแข่งขัน[แก้]

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016[แก้]

ดูบทความหลัก: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016

ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 หรือยูโร 2016 ที่ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ในกลุ่มเอฟ ร่วมกับ โปรตุเกส, ฮังการี และออสเตรีย [10] โดยผลการแข่งขัน ปรากฏว่าไอซ์แลนด์ถูกมองว่าเป็นทีมที่อ่อนที่สุดในกลุ่มนี้ ได้อันดับ 2 จากการเสมอ 2 และชนะ 1 ทำให้ทีมผ่านเข้าไปสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นรอบของการแพ้คัดออกได้ โดยไอซ์แลนด์พบกับอังกฤษ[11]

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติฮังการี ฮังการี 3 1 2 0 6 4 +2 5 เข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 3 1 2 0 4 3 +1 5
3 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3 0 3 0 4 4 0 3
4 ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3 0 1 2 1 4 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : กฎการจัดอันดับรอบแบ่งกลุ่ม

ผลในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ปรากฏว่า ไอซ์แลนด์สามารถเอาชนะอังกฤษไปได้ 1–2 ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นรองกว่า โดยถูกยิงนำไปก่อนจากจุดโทษในนาทีที่ 4 จากเวย์น รูนีย์ (จากการที่ราฮีม สเตอร์ลิง ถูกทำฟาวล์โดยฮันแนส โซร์ ฮัลโตร์ซอน ผู้รักษาประตู) แต่ทว่าไอซ์แลนด์มาตีเสมอได้ในนาทีที่ 6 จากรักนาร์ ซีกืร์ดซอน และยิงนำไปในนาทีที่ 18 จากคอลเปตน์ ซิคโซร์ซอน จนกระทั่งเอาชนะไปได้ในที่สุด [12] และจากผลการแข่งขันทำให้ รอย ฮอดจ์สัน ผู้จัดการทีมชาติอังกฤษได้ประกาศลาออกทันที[13]

ต่อมาในรอบ 8 ทีมสุดท้ายหรือรอบก่อนรองชนะเลิศ ไอซ์แลนด์แพ้ต่อฝรั่งเศสซึ่งเป็นเจ้าภาพไป 5–2[8]

ฟุตบอลโลก 2018[แก้]

ดูบทความหลัก: ฟุตบอลโลก 2018

ชุดแข่งขัน[แก้]

ปัจจุบันชุดแข่งขันของไอซ์แลนด์ได้ใช้ของเออเรีย มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 ก่อนหน้านั้นได้ใช้ชุดของบริษัทกีฬาสัญชาติเยอรมัน อดิดาส (1947–1992) และ รอยส์ช์ (1993–2001)

ช่วงเวลา ผู้ผลิตชุดแข่งขัน
1947–1992 เยอรมนี อดิดาส
1993–2001 เยอรมนี รอยส์ช์
2002–ปัจจุบัน อิตาลี เออเรีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. Courtney, Barrie (16 May 2008). "Faroe Islands – List of International Matches". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 3 November 2010.
  3. Nygård, Jostein (16 May 2008). "International matches of Iceland". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 3 November 2010.
  4. Nygård, Jostein (16 May 2008). "International matches of Iceland". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 16 October 2011.
  5. "Iceland stars set up academy –". Uefa.com. 2003-10-07. สืบค้นเมื่อ 2013-11-15.
  6. "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 14 06 59 เบรก 2". ฟ้าวันใหม่. 14 June 2016. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
  7. "รู้จัก"ไอซ์แลนด์"แข้งน้ำแข็งผู้สร้างประวัติศาสตร์ยูโร". footballdj.com. 7 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 31 May 2016.
  8. 8.0 8.1 ""ชีรูด์" เบิ้ล ตราไก่ยิงสลุต 5-2 รอปะทะ "อินทรีเหล็ก"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ 4 July 2016.
  9. หน้า 26 ต่อจากหน้า 17, ไอซ์แลนด์เจ๋งไปลุยบอลโลก. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21813: วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา
  10. หน้า 20 กีฬา, ไอซ์แลนด์ขอลุ้นสร้างเซอร์ไพร้ส์เข้ารอบ 2 โดย ทีมข่าวกีฬา. "ตะลุยยูโร". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,343: วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก
  11. "โปรแกรมยูโร 2016 รอบ 16 ทีมสุดท้าย". ฐานเศรษฐกิจ. 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 23 June 2016.
  12. "ผลบอล พลิกล็อกช็อกโลก!ไอซ์แลนด์ยิงแซงเขี่ยอังกฤษร่วงยูโร". เอ็มไทยดอตคอม. 28 June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-01. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
  13. "ฮอดจ์สันไปเอง กุนซือสิงโตลาออก". คมชัดลึก. 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]