ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือกรายละเอียดการแข่งขัน |
---|
วันที่ | 15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 – 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 |
---|
ทีม | 203 (จาก 6 สมาพันธ์) |
---|
สถิติการแข่งขัน |
---|
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 820 |
---|
จำนวนประตู | 2303 (2.81 ประตูต่อนัด) |
---|
ผู้ทำประตูสูงสุด | Deon McCaulay โรบิน ฟัน แปร์ซี ลุยส์ ซัวเรซ (11 ประตู) |
---|
|
ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อให้เหลือเพียง 32 ทีมในรอบสุดท้าย[1] บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เป็นทีมชาติเดียว ที่เข้ารอบสุดท้ายเป็นครั้งแรก ส่วนยูเครนคือทีมที่มีอันดับโลกสูงสุด (อันดับที่ 16) ที่ไม่ผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย[2]
อนึ่ง เมื่อแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น ฟีฟ่ายังกำหนดให้มี การแข่งขันรอบแพ้คัดออก (play-off) เพื่อเลือกทีมชาติเข้ารอบสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง โดยในคราวนี้จัดเป็นสองคู่ แต่ละคู่ใช้ระบบเหย้า-เยือน ประกอบด้วย อันดับที่ 5 จากโซนเอเชีย พบกับ อันดับที่ 5 จากโซนอเมริกาใต้ (โซนอเมริกาใต้ชนะ) และอีกคู่หนึ่งคือ อันดับที่ 4 จากโซนคอนคาแคฟ พบกับ ทีมชนะเลิศจากโซนโอเชียเนีย (โซนคอนคาแคฟชนะ)
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก
[แก้]

ผ่านรอบคัดเลือก
ตกรอบคัดเลือก
ไม่ได้เข้าร่วม
ไม่ได้เป็นสมาชิกฟีฟ่า
ทีมชาติ
|
เข้ารอบลำดับที่
|
วิธีการเข้ารอบ
|
วันที่เข้ารอบ
|
ครั้งที่เข้ารอบ
|
เข้ารอบครั้งล่าสุด
|
ผลงานที่ดีที่สุด
|
อันดับโลกฟีฟ่า ก่อนเริ่มการแข่งขัน
|
บราซิล |
1 |
เจ้าภาพ |
30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 |
20 |
2010 |
ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) |
11
|
ญี่ปุ่น |
2 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย |
4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |
5 |
2010 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010) |
44
|
ออสเตรเลีย |
3 |
ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย |
18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |
4 |
2010 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) |
57
|
อิหร่าน |
4 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย |
18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |
4 |
2006 |
รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006) |
49
|
เกาหลีใต้ |
5 |
ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย |
18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 |
9 |
2010 |
อันดับ 4 (2002) |
56
|
เนเธอร์แลนด์ |
6 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มดี การคัดเลือกโซนยุโรป |
10 กันยายน พ.ศ. 2556 |
10 |
2010 |
รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) |
8
|
อิตาลี |
7 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนยุโรป |
10 กันยายน พ.ศ. 2556 |
18 |
2010 |
ชนะเลิศ (1934, 1938, 1982, 2006) |
9
|
สหรัฐ |
8 |
อันดับ 1 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ |
10 กันยายน พ.ศ. 2556 |
10 |
2010 |
อันดับ 3 (1930) |
13
|
คอสตาริกา |
9 |
อันดับ 2 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ |
10 กันยายน พ.ศ. 2556 |
4 |
2006 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) |
31
|
อาร์เจนตินา |
10 |
อันดับ 1 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ |
10 กันยายน พ.ศ. 2556 |
16 |
2010 |
ชนะเลิศ (1978, 1986) |
3
|
เบลเยียม |
11 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนยุโรป |
11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
12 |
2002 |
อันดับ 4 (1986) |
5
|
สวิตเซอร์แลนด์ |
12 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มอี การคัดเลือกโซนยุโรป |
11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
10 |
2010 |
รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954) |
7
|
เยอรมนี |
13 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มซี การคัดเลือกโซนยุโรป |
11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
18 |
2010 |
ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990) |
2
|
โคลอมเบีย |
14 |
อันดับ 2 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ |
11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
5 |
1998 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) |
4
|
รัสเซีย |
15 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอฟ การคัดเลือกโซนยุโรป |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
10 |
2002 |
อันดับ 4(1986) |
19
|
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา |
16 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มจี การคัดเลือกโซนยุโรป |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
1 |
— |
— |
16
|
อังกฤษ |
17 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอช การคัดเลือกโซนยุโรป |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
14 |
2010 |
ชนะเลิศ (1966) |
10
|
สเปน |
18 |
ทีมชนะเลิศ กลุ่มไอ การคัดเลือกโซนยุโรป |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
14 |
2010 |
ชนะเลิศ (2010) |
1
|
ชิลี |
19 |
อันดับ 3 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
9 |
2010 |
อันดับ 3 (1962) |
12
|
เอกวาดอร์ |
20 |
อันดับ 4 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
3 |
2006 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) |
22
|
ฮอนดูรัส |
21 |
อันดับ 3 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ |
15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 |
3 |
2010 |
รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 2010) |
34
|
ไนจีเรีย |
22 |
ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา |
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
5 |
2010 |
รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994, 1998) |
33
|
โกตดิวัวร์ |
23 |
ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา |
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
3 |
2010 |
รอบแบ่งกลุ่ม (2006, 2010) |
17
|
แคเมอรูน |
24 |
ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา |
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
7 |
2010 |
รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1990) |
59
|
กานา |
25 |
ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
3 |
2010 |
รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2010) |
23
|
แอลจีเรีย |
26 |
ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
4 |
2010 |
รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 1986, 2010) |
32
|
กรีซ |
27 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
3 |
2010 |
รอบแบ่งกลุ่ม (1994, 2010) |
15
|
โครเอเชีย |
28 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
4 |
2006 |
อันดับ 3 (1998) |
18
|
โปรตุเกส |
29 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
6 |
2010 |
อันดับ 3 (1966) |
14
|
ฝรั่งเศส |
30 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป |
19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
14 |
2010 |
ชนะเลิศ (1998) |
21
|
เม็กซิโก |
31 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนคอนคาแคฟ - โอเชเนีย |
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
15 |
2010 |
รอบรองชนะเลิศ (1970, 1986) |
24
|
อุรุกวัย |
32 |
ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนเอเชีย - อเมริกาใต้ |
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
12 |
2010 |
ชนะเลิศ (1930, 1950) |
6
|
ขั้นตอนในการคัดเลือก
[แก้]
|
สมาพันธ์
|
จำนวนทีมในรอบแรก
|
จำนวนทีมที่ผ่านการคัดเลือก
|
จำนวนทีมที่ตกรอบ
|
จำนวนทีมที่ได้เข้าแข่งขัน
|
วันที่เริ่มต้นการคัดเลือก
|
วันที่สิ้นสุดการคัดเลือก
|
เอเอฟซี |
43 |
4 |
39 |
4 |
29 มิถุนายน ค.ศ. 2011 |
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
ซีเอแอฟ |
52 |
5 |
47 |
5 |
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 |
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
คอนคาแคฟ |
35 |
4 |
31 |
4 |
15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 |
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
คอนเมบอล |
9+1 |
5+1 |
4 |
5+1 |
7 ตุลาคม ค.ศ. 2011 |
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
โอเอฟซี |
11 |
0 |
11 |
0 |
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 |
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
ยูฟ่า |
53 |
13 |
40 |
13 |
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 |
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
ทั้งหมด |
203+1 |
31+1 |
172 |
31+1 |
15 มิถุนายน ค.ศ. 2011 |
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
รายละเอียดการคัดเลือกแบ่งตามสมาพันธ์
[แก้]
การคัดเลือกเริ่มต้นด้วยการแข่งแบบแพ้คัดออก สองยกต่อหนึ่งนัด – ครั้งแรกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 และครั้งที่สองในวันที่ 23, 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 – ทำให้เหลือจำนวนทีมที่ผ่านเข้ารอบเพียง 20 ทีม
ต่อมาในปี ค.ศ. 2010 ในรอบที่ 3 มี 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม (จัดแข่งขันระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2011 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012) ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับในแต่ละกลุ่ม จะผ่านเข้ารอบที่ 4 ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 2 อันดับในแต่ละกลุ่ม จะได้เข้าไปแข่งขันในรอบแรกของฟุตบอลโลกทันที ขณะที่อันดับที่ 3 ของทั้ง 2 กลุ่ม จะต้องมาเล่นนัดตัดสิน เพื่อหาทีมเข้าไปแข่งขันในนัดตัดสินระหว่างสมาพันธ์ นั่นคือ ทีมของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้
การคัดเลือกเริ่มต้นที่ทีมชาติจำนวน 43 ทีม (ยกเว้นทีมชาติภูฏาน บรูไน และกวม ที่ไม่ได้เข้าร่วม) ต่อมาในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2013 มี 38 ทีมที่ตกรอบ และ 4 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ ได้แก่ อิหร่าน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ส่วนทีมชาติจอร์แดน สามารถเอาชนะทีมอุซเบกิสถานได้ แต่มาแพ้ทีมอุรุกวัย ในการแข่งเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์ ทำให้ตกรอบ
สัญลักษณ์
|
ทีมที่ผ่านการคัดเลือก
|
ทีมที่ต้องแข่งในรอบที่ 5
|
รอบที่ 5 (ชิงอันดับที่ห้า)
[แก้]
การคัดเลือกเริ่มต้นที่รอบแรก ซึ่งเป็นรอบแพ้คัดออก จำนวน 12 นัด จัดแข่งขันระหว่างวันที่ 11-16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ทีมชนะทั้งหมด 12 ทีม ก็จะเข้าสู่รอบที่สอง ไปพบกับอีก 28 ทีมที่บายในรอบแรก เป็นรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม ทีมที่มีคะแนนสูงสุดของแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะมี 10 ทีม เข้าสู่รอบที่สาม ซึ่งเป็นรอบแพ้คัดออก 5 นัด ทีมชนะทั้ง 5 ทีมในรอบที่สาม จะได้เข้าไปแข่งขันในฟุตบอลโลก
ทุกทีมของสมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (ยกเว้นบราซิลที่เป็นเจ้าภาพ) จะต้องเข้าแข่งขันแบบพบกันหมด ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 4 อันดับแรก จะผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก ส่วนอันดับที่ 5 ต้องเข้าแข่งขันในนัดเพลย์ออฟ พบเอเอฟซี
ทีมที่มีอันดับฟีฟ่าต่ำสุดของสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียทั้ง 4 จะต้องแข่งขันในรอบแรก ซึ่งจะเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด โดยจัดการแข่งขันที่กรุงอาปีอา ประเทศซามัว ระหว่างวันที่ 22–26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011[3] ทีมชนะในรอบแรก ซึ่งก็คือ ซามัว จะได้เข้าไปร่วมแข่งขันกับอีก 7 ทีมในโอเอฟซีเนชันส์คัพ 2012 ซึ่งจะถือเป็นรอบคัดเลือกของโอเอฟซี รอบที่สองโดยอัติโนมัติ ทีมที่เป็นชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับ 3 และอันดับ 4 จากการแข่งเนชันส์คัพ จะผ่านเข้ารอบที่สาม ซึ่งจะเป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด จัดขึ้นระหว่างขึ้น 7 กันยายน ค.ศ. 2012 ถึง 26 มีนาคม ค.ศ. 2013
นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นทีมชนะในรอบที่สาม จะผ่านเข้าสู่รอบเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์ โดยจะพบกับทีมจากคอนคาแคฟ นั่นก็คือ เม็กซิโก ผลการแข่งขันคือ นิวซีแลนด์แพ้ ทำให้เม็กซิโกเข้าสู่รอบสุดท้าย
การคัดเลือกโซนยุโรป เริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 ภายหลังจากที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012สิ้นสุดลง ในรอบแรกจะมีทั้งหมด 9 กลุ่ม โดยจะแข่งแบบพบกันหมดในแต่ละกลุ่ม ทีมที่มีคะแนนสูงสุดในแต่ละกลุ่ม จำนวน 9 ทีม จะผ่านไปเล่นในรอบสุดท้าย ส่วนทีมที่มีคะแนนเป็นอันดับที่สองในแต่ละกลุ่ม จะผ่านเข้าไปเล่นในรอบเพลย์ออฟ เพื่อคัดอีก 4 ทีมเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย
สัญลักษณ์
|
ทีมที่ผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้าย
|
ทีมที่ต้องเล่นในรอบเพลย์ออฟ (รอบที่ 2)
|
รอบที่สองเป็นการแข่งขันระหว่างทีมรองชนะเลิศประจำกลุ่ม 8 ทีม โดยแข่งในระบบแพ้คัดออก แข่งขันในวันที่ 15 และ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013
|
---|
ลำดับการแข่งขัน | |
---|
ข้อมูลทั่วไป | |
---|
|
---|
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ( ฟีฟ่า) |
การแข่งขัน | |
---|
รอบคัดเลือก | |
---|
ชิงชนะเลิศ | |
---|
ผู้เล่น | |
---|
Final draw | |
---|
ผู้แพร่ภาพกระจายเสียง | |
---|
การคัดเลือก เจ้าภาพ | |
---|
กรรมการ | |
---|
สถิติ | |
---|
ทีมที่เข้าร่วม | |
---|
สถิติรวม |
- Player records
- Goalscorer records
- Manager records
- Match records
|
---|
เบ็ดเตล็ด | |
---|
- 1 อาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนัดแรก
- 2 ไม่มีรอบคัดเลือกสำหรับฟุตบอลโลก 1930 เนื่องจากได้รับคำเชิญเท่านั้น
- 3 ไม่มีการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ; บทความนี้เกี่ยวกับนัดชี้ขาดของรอบแบ่งกลุ่มรอบสุดท้าย
|