ฟุตบอลโลก 2014

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2014 FIFA World Cup)
ฟุตบอลโลก 2014
Copa do Mundo da FIFA
Brasil 2014
ตราสัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2014
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพบราซิล
วันที่13 มิถุนายน13 กรกฎาคม
ทีม32 (จาก 6 สมาพันธ์)
สถานที่12 (ใน 12 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติเยอรมนี เยอรมนี (สมัยที่ 4)
รองชนะเลิศธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
อันดับที่ 3ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
อันดับที่ 4ธงชาติบราซิล บราซิล
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน64
จำนวนประตู171 (2.67 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม3,429,873 (53,592 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดโคลอมเบีย ฮาเมส โรดรีเกซ
(6 ประตู)
ผู้เล่นยอดเยี่ยมอาร์เจนตินา เลียวเนล เมสซี
ผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมเยอรมนี มานูเอล นอยเออร์
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมฝรั่งเศส ปอล ปอกบา
2010
2018

ฟุตบอลโลก 2014 (อังกฤษ: 2014 FIFA World Cup; โปรตุเกส: Copa do Mundo da FIFA 2014) เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 20 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิลระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[1] ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่บราซิลได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว โดยเป็นเจ้าภาพครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ทำให้บราซิลกลายเป็นประเทศที่ 5 ที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกสองครั้งต่อจากเม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ที่ประเทศอาร์เจนตินา เป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันนอกทวีปยุโรปสองครั้งติดต่อกัน และยังเป็นครั้งแรกที่มีจัดการแข่งขันในซีกโลกใต้สองครั้งติดต่อกัน (ก่อนหน้านี้ ฟุตบอลโลก 2010 จัดในประเทศแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ ฟีฟ่าก็ได้ใช้เทคโนโลยีโกลไลน์เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย[2]

ตั๋วของการแข่งขันเปิดขายตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จำนวนประมาณ 3.3 ล้านใบ ผ่านเว็บไซต์ของฟีฟ่า[3]

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

เซพพ์ บลัทเทอร์ ยืนยันการเป็นเจ้าภาพของประเทศบราซิล

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2546 ฟีฟ่าได้ประกาศว่า การแข่งขันฟุตบอลโลกจะจัดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้อีกครั้งนับตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 ในอาร์เจนตินา เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่จะหมุนเวียนสิทธิ์ในการจัดการแข่งขันไปตามสหพันธ์ฟุตบอลต่าง ๆ ต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2546 สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้ (คอนเมบอล) ได้แจ้งว่าอาร์เจนตินา บราซิล และโคลอมเบียมีความประสงค์จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้าย[4] และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2547 คอนเมบอลได้ลงมติเอกฉันท์ให้บราซิลเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้[5]

บราซิลได้ประกาศเสนอตัวเป็นเจ้าภาพอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 และโคลอมเบียได้ประกาศในวันถัดมา ส่วนอาร์เจนตินาไม่ได้ประกาศเสนอตัว โดยในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 โคลอมเบียได้ขอถอนตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งฟรันซิสโก ซานโตส กัลเดรอน รองประธานาธิบดีโคลอมเบียกล่าวว่าโคลอมเบียจะจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกชุดอายุไม่เกิน 20 ปี ใน พ.ศ. 2554 แทน ทำให้เหลือเพียงบราซิลประเทศเดียวที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้[6]

บราซิลชนะการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2014 ในฐานะที่เป็นประเทศเดียวที่เสนอชื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยงานประกาศนั้นมีขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550[7]

ทีมที่เข้าร่วมอย่างเป็นทางการ[แก้]

รอบคัดเลือก[แก้]

การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เพื่อให้เหลือเพียง 32 ทีมในรอบสุดท้าย[8] บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาเป็นทีมชาติเดียวที่เข้ารอบสุดท้ายเป็นครั้งแรก ส่วนยูเครนคือทีมที่มีอันดับโลกสูงสุด (อันดับที่ 16) ที่ไม่ผ่านเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย[9]

อนึ่ง เมื่อแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้น ฟีฟ่ายังกำหนดให้มีการแข่งขันรอบแพ้คัดออก (play-off) เพื่อเลือกทีมชาติเข้ารอบสุดท้ายอีกชั้นหนึ่ง โดยในคราวนี้จัดเป็นสองคู่ แต่ละคู่ใช้ระบบเหย้า-เยือน ประกอบด้วยอันดับที่ 5 จากโซนเอเชียพบกับอันดับที่ 5 จากโซนอเมริกาใต้ซึ่งโซนอเมริกาใต้ชนะ และอีกคู่หนึ่งคืออันดับที่ 4 จากโซนคอนคาแคฟพบกับทีมชนะเลิศจากโซนโอเชียเนียซึ่งโซนคอนคาแคฟชนะ

ทีมที่ได้ลงแข่งขัน[แก้]

ทีมชาติ เข้ารอบลำดับที่ วิธีการเข้ารอบ วันที่เข้ารอบ ครั้งที่เข้ารอบ เข้ารอบครั้งล่าสุด ผลงานที่ดีที่สุด อันดับโลกฟีฟ่า
ก่อนเริ่มการแข่งขัน
ธงชาติบราซิล บราซิล 1 เจ้าภาพ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550 20 2010 ชนะเลิศ (1958, 1962, 1970, 1994, 2002) 11
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2002, 2010) 44
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 3 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 57
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 4 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบแบ่งกลุ่ม (1978, 1998, 2006) 49
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 5 ทีมรองชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนเอเชีย 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 4 (2002) 56
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 6 ทีมชนะเลิศ กลุ่มดี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 รองชนะเลิศ (1974, 1978, 2010) 8
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 7 ทีมชนะเลิศ กลุ่มบี การคัดเลือกโซนยุโรป 10 กันยายน พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1934, 1938, 1982, 2006) 9
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 8 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 10 2010 อันดับ 3 (1930) 13
ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา 9 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 4 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 31
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 10 อันดับ 1 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 10 กันยายน พ.ศ. 2556 16 2010 ชนะเลิศ (1978, 1986) 3
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 11 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอ การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 12 2002 อันดับ 4 (1986) 5
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 12 ทีมชนะเลิศ กลุ่มอี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1934, 1938, 1954) 7
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 13 ทีมชนะเลิศ กลุ่มซี การคัดเลือกโซนยุโรป 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 18 2010 ชนะเลิศ (1954, 1974, 1990) 2
ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย 14 อันดับ 2 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 5 1998 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1990) 4
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 15 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอฟ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 10 2002 อันดับ 4(1986) 19
ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 16 ทีมชนะเลิศ กลุ่มจี การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 1 16
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 17 ทีมชนะเลิศ กลุ่มเอช การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1966) 10
ธงชาติสเปน สเปน 18 ทีมชนะเลิศ กลุ่มไอ การคัดเลือกโซนยุโรป 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (2010) 1
ธงชาติชิลี ชิลี 19 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 9 2010 อันดับ 3 (1962) 12
ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 20 อันดับ 4 การคัดเลือกโซนอเมริกาใต้ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2006 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (2006) 22
ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัส 21 อันดับ 3 การคัดเลือกโซนคอนคาแคฟ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 2010) 34
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 22 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 5 2010 รอบ 16 ทีมสุดท้าย (1994, 1998) 33
ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 23 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (2006, 2010) 17
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 24 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 7 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (1990) 59
ธงชาติกานา กานา 25 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบ 8 ทีมสุดท้าย (2010) 23
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 26 ผู้ชนะรอบที่ 3 การคัดเลือกโซนแอฟริกา 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1982, 1986, 2010) 32
ธงชาติกรีซ กรีซ 27 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 3 2010 รอบแบ่งกลุ่ม (1994, 2010) 15
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 28 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 4 2006 อันดับ 3 (1998) 18
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 29 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 6 2010 อันดับ 3 (1966) 14
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 30 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนยุโรป 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 14 2010 ชนะเลิศ (1998) 21
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 31 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนคอนคาแคฟ - โอเชเนีย 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 15 2010 รอบรองชนะเลิศ (1970, 1986) 24
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 32 ผู้ชนะการเพลย์ออฟ โซนเอเชีย - อเมริกาใต้ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 12 2010 ชนะเลิศ (1930, 1950) 6

วันและสถานที่แข่งขัน[แก้]

วันแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นสัปดาห์หลังจากที่การแข่งขันฟุตบอลลีกในทวีปยุโรปปิดฤดูกาลลง และยังตรงกับช่วงฤดูหนาวของประเทศในเขตกึ่งร้อนอย่างบราซิลอีกด้วย

สถานที่แข่งขัน[แก้]

จิลมา รูเซฟ (คนที่ 2 จากขวา) และเปเล่ (คนกลาง) กับการติดตามงานในเมืองเบโลโอรีซอนตี

เมือง 17 เมืองที่สนใจจะเข้ารับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ ได้แก่ เบเลง เบโลโอรีซอนตี บราซีเลีย กัมปูกรันดี กุยาบา กูรีตีบา โฟลเรียนอโปลิส โฟร์ตาเลซา โกยาเนีย มาเนาส์ นาตาล โปร์ตูอาเลเกร เรซีฟี โอลิงดา (สนามจะเป็นสนามที่ใช้ร่วมกัน 2 เมือง) รีโอบรังโก รีโอเดจาเนโร ซัลวาดอร์ และเซาเปาลู[10] ส่วนมาเซโอได้ถอนตัวไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552

ตามกฎของฟีฟ่าห้ามมีเมืองที่ใช้แข่งขันเกิน 1 สนาม และจำนวนของเมืองเจ้าภาพต้องอยู่ระหว่าง 8–10 เมือง โดยสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล (เซเบเอฟี) ได้ยื่นคำขอที่จะใช้เมืองเจ้าภาพ 12 เมืองในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งนี้ ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ฟีฟ่าได้อนุมัติแผนการใช้เมืองเจ้าภาพที่มากถึง 12 เมือง[11]

ก่อนหน้าที่จะมีการคัดเลือกตัดสินเมืองที่จะเป็นเจ้าภาพ มีการคาดการณ์กันว่าสนามที่จะได้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศคงเป็นสนามมารากานังในเมืองรีโอเดจาเนโรซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 1950 ระหว่างอุรุกวัยกับบราซิลมาแล้ว แต่เดิมสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลตั้งใจจะจัดการแข่งขันนัดเปิดสนามที่สนามโมรุงบีในเมืองเซาเปาลูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 สนามโมรุงบีถูกตัดชื่อออกเนื่องจากไม่สามารถวางเงินประกันการปรับปรุงสนามให้เป็นไปตามมาตรฐานได้[12] ต่อมาในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 สมาคมฟุตบอลบราซิลได้ประกาศให้ใช้อาเรนาโกริงชังส์จัดการแข่งขันในเซาเปาลู

เมือง 12 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เมืองเบเลง, กัมปูกรันดี, โฟลเรียนอโปลิส, โกยาเนีย และรีโอบรังโกถูกตัดออก เกินครึ่งของเมืองที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องปรับปรุงสนามหรือสร้างสนามขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ในขณะที่สนามในกรุงบราซีเลียจะถูกทุบและสร้างขึ้นใหม่ ส่วนอีกห้าเมืองก็กำลังปรับปรุงสนามของตนเอง

รีโอเดจาเนโร บราซีเลีย เซาเปาลู โฟร์ตาเลซา
สนามกีฬานักหนังสือพิมพ์มารีอู ฟิลยู
(มารากานัง)
สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
(มาเน การิงชา)
อาเรนาโกริงชังส์ สนามกีฬาปลาซีดู อาเดรัลดู กัสเตลู
(กัสเตเลา)
ความจุ : 76,935คน[13] ความจุ : 70,042คน[14] ความจุ : 68,000คน
(สนามใหม่)
ความจุ : 64,846คน[15]
เบโลโอรีซอนตี โปร์ตูอาเลเกร
สนามกีฬาผู้ว่าการมากัลไยส์ ปิงตู
(มีเนย์เรา)
สนามกีฬาฌูแซ ปิญเญย์รู บอร์ดา
(เบย์รา-รีอู)
ความจุ : 62,547 คน ความจุ : 51,300 คน[16]
(ปรับปรุงใหม่)
ซัลวาดอร์ เรซีฟี
ศูนย์กีฬาศาสตราจารย์โอกตาวีอู มังกาเบย์รา
(อาเรนาฟงชีนอวา)
อาเรนาเปร์นัมบูกู
ความจุ : 56,000 คน[17] ความจุ : 46,154 คน
(สนามใหม่)
กุยาบา มาเนาส์ นาตาล กูรีตีบา
อาเรนาปังตานัล อาเรนาอามาโซเนีย อาเรนาดัสดูนัส สนามกีฬาโฌอากิง อาเมรีกู กีมาไรส์
(อาเรนาดาไบชาดา)
ความจุ : 42,968 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,374 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 42,086 คน
(สร้างใหม่)
ความจุ : 43,900 คน
(ปรับปรุงใหม่)

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้าย[แก้]

การจับสลากแบ่งกลุ่มรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก 2014 จัดขึ้นที่กอสตาดูเซาอีปีรีสอร์ต เมืองมาตาจีเซาโฌเอา รัฐบาเยีย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556[18] เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC –3)[19]

รอบแบ่งกลุ่ม[แก้]

อาเรนาฟงชีนอวาในเมืองซัลวาดอร์ ขณะที่กำลังก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตารางการแข่งขันได้รับการประกาศจากสำนักงานใหญ่ฟีฟ่าที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554[20] ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมาธิการจัดการแข่งขันได้ประกาศเวลาที่จะใช้แข่งขันในแต่ละเมือง โดยการแข่งขันนัดเปิดสนามจะจัดขึ้นในวันที่ 12 มิถุนายน ที่เมืองเซาเปาลู เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแบ่งกลุ่มจะแข่งขันเวลา 13.00 น., 16.00 น., 17.00 น., 18.00 น., 19.00 น. และ 21.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบแพ้คัดออก (รอบน็อกเอาต์) จะทำการแข่งขันในเวลา 13.00 น. และ 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น รอบรองชนะเลิศจะทำการแข่งขันในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่สนามกีฬามารากานัง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[21]

เวลาทั้งหมดที่ระบุข้างล่างนี้เป็นเวลาท้องถิ่นบราซีเลีย (UTC –3) เป็นเขตเวลาของเมืองเจ้าภาพ 10 เมืองจากทั้งหมด 12 เมือง ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 10 ชั่วโมง ส่วนเมืองกุยาบาและมาเนาส์นั้นอยู่ในเขตเวลาแอมะซอน (UTC –4) หรือช้ากว่าประเทศไทย 11 ชั่วโมง ดังนั้น ตัวเลขเวลาการแข่งขันที่จัดขึ้นในเมืองทั้งสองจะช้ากว่าเวลาที่ระบุไว้ข้างล่างนี้หนึ่งชั่วโมง[22]

สัญลักษณ์สีในตารางกลุ่ม
ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีม
ทีมที่ไม่สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มไปได้

กลุ่มเอ[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติบราซิล บราซิล 3 2 1 0 7 2 +5 7
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 3 2 1 0 4 1 +3 7
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 3 1 0 2 6 6 0 3
ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 3 0 0 3 1 9 -8 0
12 มิถุนายน 2557 นัดที่ 1บราซิล ธงชาติบราซิล3–1ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชียเซาเปาลู
17:00 เนย์มาร์ Goal 29'71' (จุดโทษ)
โอสการ์ Goal 90+1'
รายงาน มาร์เซลู วีเอรา Goal 11' (เข้าประตูทีมตัวเอง) สนามกีฬา: อาเรนาโกริงชังส์
ผู้ชมในสนาม: 62,103 คน[23]
ผู้ตัดสิน: ยูอิจิ นิชิมุระ (ญี่ปุ่น)[24]
13 มิถุนายน 2557 นัดที่ 2เม็กซิโก ธงชาติเม็กซิโก1–0ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูนนาตาล
13:00 โอรีเบ เปรัลตา Goal 61' รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
ผู้ชมในสนาม: 39,216 คน
ผู้ตัดสิน: วิลมาร์ รอลดัน (โคลอมเบีย)
17 มิถุนายน 2557 นัดที่ 17บราซิล ธงชาติบราซิล0–0ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโกโฟร์ตาเลซา
16:00 รายงาน สนามกีฬา: กัสเตเลา
ผู้ชมในสนาม: 60,342 คน
ผู้ตัดสิน: จือเนย์ต ชากือร์ (ตุรกี)

กลุ่มบี[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 3 3 0 0 10 3 +7 9
ธงชาติชิลี ชิลี 3 2 0 1 5 3 +2 6
ธงชาติสเปน สเปน 3 1 0 2 4 7 -3 3
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 3 0 0 3 3 9 -6 0

กลุ่มซี[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย 3 3 0 0 9 2 +7 9
ธงชาติกรีซ กรีซ 3 1 1 1 2 4 -2 4
ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 3 1 0 2 4 5 -1 3
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 3 0 1 2 2 6 -4 1
19 มิถุนายน 2557 นัดที่ 22ญี่ปุ่น ธงชาติญี่ปุ่น0–0ธงชาติกรีซ กรีซนาตาล
19:00 รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
ผู้ชมในสนาม: 39,485 คน
ผู้ตัดสิน: โยเอล อากีลาร์ (เอลซัลวาดอร์)

กลุ่มดี[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา 3 2 1 0 4 1 +3 7
ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 3 2 0 1 4 4 0 6
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 3 1 0 2 2 3 -1 3
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 3 0 1 2 2 4 -2 1
20 มิถุนายน 2557 นัดที่ 24อิตาลี ธงชาติอิตาลี0–1ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกาเรซีฟี
13:00 รายงาน บรายัน รุยซ์ Goal 44' สนามกีฬา: อาเรนาเปร์นัมบูกู
ผู้ชมในสนาม: 40,285 คน
ผู้ตัดสิน: เอนรีเก โอเซส (ชิลี)
24 มิถุนายน 2557 นัดที่ 39อิตาลี ธงชาติอิตาลี0–1ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัยนาตาล
13:00 รายงาน เดียโก โกดิน Goal 81' สนามกีฬา: อาเรนาดัสดูนัส
ผู้ชมในสนาม: 39,706 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์โก โรดรีเกซ (เม็กซิโก)

กลุ่มอี[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 3 2 1 0 8 2 +6 7
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 3 2 0 1 7 6 +1 6
ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ 3 1 1 1 3 3 0 4
ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัส 3 0 0 3 1 8 -7 0
15 มิถุนายน 2557 นัดที่ 10ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส3–0ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัสโปร์ตูอาเลเกร
16:00 การีม แบนเซมา Goal 45' (จุดโทษ)72'
โนเอล บายาดาเรส Goal 48' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
รายงาน สนามกีฬา: เบย์รา-รีอู
ผู้ชมในสนาม: 43,012 คน
ผู้ตัดสิน: ซังดรู รีชี (บราซิล)
25 มิถุนายน 2557 นัดที่ 42เอกวาดอร์ ธงชาติเอกวาดอร์0–0ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศสรีโอเดจาเนโร
17:00 รายงาน สนามกีฬา: มารากานัง
ผู้ชมในสนาม: 73,749 คน
ผู้ตัดสิน: นูม็องดีเย ดูเอ (โกตดิวัวร์)

กลุ่มเอฟ[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 3 3 0 0 6 3 +3 9
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 3 1 1 1 3 3 0 4
ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 3 1 0 2 4 4 0 3
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 3 0 1 2 1 4 -3 1
16 มิถุนายน 2557 นัดที่ 12อิหร่าน ธงชาติอิหร่าน0–0ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรียกูรีตีบา
16:00 รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาดาไบชาดา
ผู้ชมในสนาม: 39,081 คน
ผู้ตัดสิน: การ์โลส เบรา (เอกวาดอร์)

กลุ่มจี[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 3 2 1 0 7 2 +5 7
ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 3 1 1 1 4 4 0 4
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3 1 1 1 4 7 -3 4
ธงชาติกานา กานา 3 0 1 2 4 6 -2 1
16 มิถุนายน 2557 นัดที่ 13เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี4–0ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกสซัลวาดอร์
13:00 โทมัส มึลเลอร์ Goal 12' (จุดโทษ)45+1'78'
มัทส์ ฮุมเมิลส์ Goal 32'
รายงาน สนามกีฬา: อาเรนาฟงชีนอวา
ผู้ชมในสนาม: 51,081 คน
ผู้ตัดสิน: มีลอรัด มาชิช (เซอร์เบีย)
26 มิถุนายน 2557 นัดที่ 45สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ0–1ธงชาติเยอรมนี เยอรมนีเรซีฟี
13:00 รายงาน โทมัส มึลเลอร์ Goal 55' สนามกีฬา: อาเรนาเปร์นัมบูกู
ผู้ชมในสนาม: 41,876 คน
ผู้ตัดสิน: รัฟชัน อีร์มาตอฟ (อุซเบกิสถาน)
26 มิถุนายน 2557 นัดที่ 46โปรตุเกส ธงชาติโปรตุเกส2–1ธงชาติกานา กานาบราซีเลีย
13:00 จอห์น บอย Goal 31' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
คริสเตียโน โรนัลโด Goal 80'
รายงาน อะซาโมอาห์ จยาน Goal 57' สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
ผู้ชมในสนาม: 67,540 คน
ผู้ตัดสิน: นะวาฟ ชุกรัลลอฮ์ (บาห์เรน)

กลุ่มเอช[แก้]

ทีมชาติ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 3 3 0 0 4 1 +3 9
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 3 1 1 1 6 5 +1 4
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 3 0 2 1 2 3 -1 2
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 3 0 1 2 3 6 -3 1
22 มิถุนายน 2557 นัดที่ 31เบลเยียม ธงชาติเบลเยียม1–0ธงชาติรัสเซีย รัสเซียรีโอเดจาเนโร
13:00 ดีว็อก โอรีกี Goal 88' รายงาน สนามกีฬา: มารากานัง
ผู้ชมในสนาม: 73,819 คน
ผู้ตัดสิน: เฟลิกซ์ บรึช (เยอรมนี)

รอบแพ้คัดออก[แก้]

รอบ 16 ทีม
รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                           
28 มิถุนายน – เบโลโอรีซอนตี            
 ธงชาติบราซิล บราซิล (ลูกโทษ)  1 (3) 
4 กรกฎาคม – ฟอร์ตาเลซา
 ธงชาติชิลี ชิลี  1 (2)   
 ธงชาติบราซิล บราซิล  2
28 มิถุนายน – รีโอเดจาเนโร
   ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย  1  
 ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย  2
8 กรกฎาคม – เบโลโอรีซอนตี
 ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย  0  
 ธงชาติบราซิล บราซิล  1
30 มิถุนายน – บราซีเลีย
   ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี  7  
 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส  2
4 กรกฎาคม – รีโอเดจาเนโร
 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย  0  
 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส  0
30 มิถุนายน – โปร์ตูอาเลเกร
   ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี  1  
 ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี (หลังต่อเวลาพิเศษ)  2
13 กรกฎาคมรีโอเดจาเนโร
 ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย  1  
 ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี (หลังต่อเวลาพิเศษ)  1
29 มิถุนายน – ฟอร์ตาเลซา
   ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา  0
 ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์  2
5 กรกฎาคม – ซัลวาดอร์
 ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก  1  
 ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ (ลูกโทษ)  0 (4) 
29 มิถุนายน – เรซีฟี
   ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา  0 (3)   
 ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา (ลูกโทษ)  1 (5) 
9 กรกฎาคม – เซาเปาลู
 ธงชาติกรีซ กรีซ  1 (3)   
 ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์  0 (2) 
1 กรกฎาคม – เซาเปาลู
   ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา (ลูกโทษ)  0 (4)    อันดับที่ 3
 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา (หลังต่อเวลาพิเศษ)  1
5 กรกฎาคม – บราซีเลีย 12 กรกฎาคม – บราซีเลีย
 ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์  0  
 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา  1  ธงชาติบราซิล บราซิล  0
1 กรกฎาคม – ซัลวาดอร์
   ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม  0    ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์  3
 ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม (หลังต่อเวลาพิเศษ)  2
 ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ  1  

รอบ 16 ทีม[แก้]

30 มิถุนายน 2557 นัดที่ 53ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส2–0ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรียบราซีเลีย
13:00 ปอล ปอกบา Goal 79'
โจเซฟ โยโบ Goal 90+1' (เข้าประตูทีมตัวเอง)
รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาแห่งชาติบราซีเลีย
ผู้ชมในสนาม: 67,882 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก ไกเกอร์ (สหรัฐอเมริกา)

รอบก่อนรองชนะเลิศ[แก้]

รอบรองชนะเลิศ[แก้]

นัดชิงอันดับที่ 3[แก้]

รอบชิงชนะเลิศ[แก้]

สถิติ[แก้]

ผู้ทำประตู[แก้]

6 ประตู
5 ประตู
4 ประตู
3 ประตู
2 ประตู
1 ประตู
ทำประตูทีมตัวเอง

อันดับตาราง[แก้]

Result of countries participating in the 2014 FIFA World Cup
Pos. ทีม G Pld W D L Pts GF GA GD
1 ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี G 7 6 1 0 19 18 4 +14
2 ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา F 7 5 1 1 16 8 4 +4
3 ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ B 7 5 2 0 17 15 4 +11
4 ธงชาติบราซิล บราซิล A 7 3 2 2 11 11 14 -3
Eliminated in the quarter-finals
5 ธงชาติโคลอมเบีย โคลอมเบีย C 5 4 0 1 12 12 4 +8
6 ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม H 5 4 0 1 12 6 3 +3
7 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส E 5 3 1 1 10 10 3 +7
8 ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา D 5 2 3 0 9 5 2 +3
Eliminated in the round of 16
9 ธงชาติชิลี ชิลี B 4 2 1 1 7 6 4 +2
10 ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก A 4 2 1 1 7 5 3 +2
11 ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ E 4 2 0 2 6 7 7 0
12 ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย D 4 2 0 2 6 4 6 -2
13 ธงชาติกรีซ กรีซ C 4 1 2 1 5 3 5 -2
14 ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย H 4 1 1 2 4 7 7 0
15 ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ G 4 1 1 2 4 5 6 -1
16 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย F 4 1 1 2 4 3 5 -2
Eliminated in the group stage
17 ธงชาติเอกวาดอร์ เอกวาดอร์ E 3 1 1 1 4 3 3 0
18 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส G 3 1 1 1 4 4 7 -3
19 ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย A 3 1 0 2 3 6 6 0
20 ธงชาติบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา F 3 1 0 2 3 4 4 0
21 ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ C 3 1 0 2 3 4 5 -1
22 ธงชาติอิตาลี อิตาลี D 3 1 0 2 3 2 3 -1
23 ธงชาติสเปน สเปน B 3 1 0 2 3 4 7 -3
24 ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย H 3 0 2 1 2 2 3 -1
25 ธงชาติกานา กานา G 3 0 1 2 1 4 6 -2
26 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ D 3 0 1 2 1 2 4 -2
27 ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ H 3 0 1 2 1 3 6 -3
28 ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน F 3 0 1 2 1 1 4 -3
29 ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น C 3 0 1 2 1 2 6 -4
30 ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย B 3 0 0 3 0 3 9 -6
31 ธงชาติฮอนดูรัส ฮอนดูรัส E 3 0 0 3 0 1 8 -7
32 ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน A 3 0 0 3 0 1 9 -8

เงินรางวัล[แก้]

เงินรางวัลทั้งหมดนี้ได้รับการยืนยันจากฟีฟ่า ซึ่งมีมูลค่าทั้งหมด 576 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมถึงเงินจำนวน 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสโมสรในประเทศ) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อน[25] ก่อนการแข่งขัน ทุกทีมจะได้รับเงิน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินรางวัลอื่น ๆ เป็นไปดังนี้

  • 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมที่เข้ารอบแบ่งกลุ่ม (16 ทีม)
  • 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมที่เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย (8 ทีม)
  • 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมที่เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย (4 ทีม)
  • 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมที่ได้อันดับที่ 4
  • 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมที่ได้อันดับที่ 3
  • 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมรองชนะเลิศ
  • 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – สำหรับทีมชนะเลิศ

การตลาด[แก้]

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์การแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 อย่างเป็นทางการ

สัญลักษณ์ของการแข่งขันมีชื่อว่า อิงส์ปีราเซา (โปรตุเกส: Inspiração) แปลว่า "แรงบันดาลใจ" ออกแบบโดยบริษัทอาฟรีกาจากประเทศบราซิล ดัดแปลงมาจากภาพถ่ายเชิงสัญลักษณ์ของมือผู้ชนะ 3 มือกำลังชูถ้วยรางวัลฟุตบอลโลกอยู่ นอกจากจะถ่ายทอดแนวคิดมนุษยธรรมผ่านรูปมือที่สอดประสานกันแล้ว การลงสีรูปมือด้วยสีเหลืองและสีเขียวก็ยังเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงบราซิล ประเทศเจ้าภาพที่จะต้อนรับทุกประเทศอย่างอบอุ่นอีกด้วย ได้มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้

ฟีฟ่าและคณะกรรมาธิการจัดฟุตบอลโลก 2014 ได้เชิญชวนบริษัท 25 แห่งในบราซิลให้เข้าร่วมประกวดออกแบบสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของการแข่งขันครั้งนี้ โดยหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ชนะเป็นของคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง 7 คนจากสาขาต่าง ๆ ได้แก่ รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล, เฌโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า, จิเซล บุนเชน นางแบบชาวบราซิล, ออสการ์ นีเอไมเยร์ นักออกแบบสถาปัตยกรรม, เปาลู กูเอลยู นักเขียน, อีเวชี ซังกาลู นักร้อง และฮันส์ ดอนเนอร์ นักออกแบบ[26]

อาเลชังดรี วอลเนร์ นักออกแบบกราฟิกชาวบราซิล ได้วิจารณ์ว่าสัญลักษณ์นี้ดูคล้ายกับมือที่ปิดหน้าเพราะความอับอาย และยังวิจารณ์ถึงกระบวนการคัดเลือกสัญลักษณ์ด้วย ซึ่งกรรมการคัดเลือกนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่นักออกแบบกราฟิกมืออาชีพ[27]

โปสเตอร์[แก้]

โปสเตอร์อย่างเป็นทางการได้รับการเปิดตัวในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยทูตฟุตบอลโลกชาวบราซิล โรนัลโด, เบแบตู, มารีอู ซากาลู, อามาริลดู ตาวาริส ดา ซิลเวย์รา, การ์ลุส อัลเบร์ตู ตอริส รวมไปถึงมาร์ตา นักฟุตบอลหญิงชาวบราซิล โดยงานเปิดตัวจัดขึ้นในเมืองรีโอเดจาเนโร[28][29]

โปสเตอร์นั้นได้รับการออกแบบโดยคาเรน ไฮดิงเกอร์[30] เป็นนักออกแบบจากบริษัทกรามาในบราซิล โดยมีลักษณะเป็นแผนที่ประเทศบราซิลที่วาดขึ้นจากขาของนักฟุตบอลที่กำลังเตะลูกฟุตบอล[31] นอกจากนี้ยังแสดงถึงวัฒนธรรมบราซิลและลักษณะเด่นอื่น ๆ ของชาติบราซิลเช่นพืชและสัตว์ท้องถิ่น สีสันที่สดใสของโปสเตอร์ก็สื่อถึงความงดงามและความหลากหลายของประเทศ เฌอโรม วาลก์ เลขาธิการฟีฟ่า กล่าวว่า โปสเตอร์ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างงานศิลปะที่แสดงให้เห็นว่าบราซิลเป็นชาติที่มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์[32]

ตุ๊กตาสัญลักษณ์[แก้]

อาร์มาดิลโลเป็นสัตว์ที่ปกป้องตัวเองด้วยการกลิ้งเหมือนกับลูกบอล ทำให้มันได้ถูกเลือกมาเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของการแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยฟีฟ่า และมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555[33] โดยมีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยรายการข่าว ฟังตัสชีกู (Fantástico)[34] ส่วนชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกจากผู้คนและได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน[35] ซึ่งผู้คนถึง 1.7 ล้านคน และมากกว่าร้อยละ 48 เลือกชื่อ ฟูแลกู (Fuleco) ชนะชื่อ ซูแซกู (ร้อยละ 31) และอามีฌูบี (ร้อยละ 21) ทำให้ชื่อนี้ชนะอย่างเอกฉันท์ และตุ๊กตาสัญลักษณ์นี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวบราซิล ซึ่งชาวบราซิลมากกว่าร้อยละ 89 ชื่นชอบมัน[36]

"ฟูแลกู" มีความหมายโดยแบ่งแยกเป็นตัวอักษรเป็นภาษาโปรตุเกสคือ "Futebol" ("ฟุตบอล") และ "Ecologia" ("นิเวศวิทยา")[35]

ลูกฟุตบอล[แก้]

ลูกฟุตบอลอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คือ อาดิดาส บราซูกา ซึ่งชื่อนั้นได้รับการคัดเลือกมากจากผู้ชมฟุตบอลชาวบราซิลมากกว่า 1 ล้านคน ซึ่ง บราซูกา ได้รับการโหวตมากกว่าร้อยละ 70[37] โดยอาดิดาส ออกแบบลูกฟุตบอลสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลก 1970 เห็นถึงแรงบันดาลใจของวัฒนธรรมชาวบราซิลพลัดถิ่น ซึ่งชื่อนี้ชนะชื่อ บอสซาโนวาและคาร์นาวาเลสกา[37]

กาชีรอลา[แก้]

กาชีรอลา (caxirola) ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 โดยกระทรวงกีฬาของประเทศบราซิลให้เป็นเครื่องดนตรีอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 คล้ายกับวูวูเซลา ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยกาชีรอลาไม่ได้มีเสียงดังเหมือนกับวูวูเซลา และพวกมันได้รับการออกแบบมาพิเศษเพื่อให้ไม่ส่งเสียงรบกวนในสนามระหว่างการแข่งขัน[38] อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยภายในสนาม กาชีรอลาจะถูกห้ามไม่ให้นำเข้าไปในสนามแข่งขัน[39]

สิทธิการออกอากาศ[แก้]

ฟีฟ่ากำหนดให้สิทธิในการออกอากาศ ครอบคลุมไปยังวิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์, อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยฟีฟ่าเป็นผู้จัดจำหน่าย ให้แก่ผู้ประกอบการสื่อ ของแต่ละประเทศเองโดยตรง หรือผ่านบริษัทตัวแทนผู้รับอนุญาต หรือผ่านองค์กรต่างๆ เช่นสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (อีบียู), องค์การโทรทัศน์แห่งอเมริกากลางและใต้ (โอไอที), องค์การเนื้อหาสื่อสากล (ไอเอ็มซี), บริษัทโฆษณาเดนต์สุของญี่ปุ่น เป็นต้น[40] โดยการจำหน่ายสิทธิเหล่านี้ คิดเป็นถึงร้อยละ 60 ของรายได้จากฟุตบอลโลกของฟีฟ่า[41]

สำหรับศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ ตั้งอยู่ที่รีอูเซงตรู (Riocentro) ในย่านบาร์ราดาชีฌูกา (Barra da Tijuca) ของนครรีโอเดจาเนโร[42][43] ทั้งนี้ ฟีฟ่าจำหน่ายสิทธิในการออกอากาศ ให้แก่เครือข่ายโทรทัศน์จากทั่วโลก อาทิ บีบีซีกับไอทีวีของสหราชอาณาจักร, ซีซีทีวีของสาธารณรัฐประชาชนจีน, เอบีซีกับอีเอสพีเอ็นของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

หลายเกมของการแข่งขันเป็นรายการกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในหลายประเทศทั่วโลกในปี พ.ศ. 2557 รวมถึงเกมเปิดสนามระหว่างบราซิลและโครเอเชียมีผู้ชม 42.9 ล้านคนในบราซิล, เกมระหว่างญี่ปุ่นกับโกตดิวัวร์มีผู้ชม 34.1 ล้านคนในญี่ปุ่น และมีผู้ชม 34.7 ล้านคนในเยอรมนีที่เห็นทีมชาติของตนชนะการแข่งขันฟุตบอลโลกกับอาร์เจนตินา[44] ในขณะที่มีผู้ชม 24.7 ล้านคนระหว่างเกมระหว่างสหรัฐอเมริกาและโปรตุเกสซึ่งเป็นสถิติเกมฟุตบอลที่มีผู้ชมมากที่สุดในสหรัฐร่วมกับเกมฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ 2010[45] ตามข้อมูลของฟีฟ่ามีผู้ชมกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกรับชมการแข่งขันระหว่างเยอรมนีและอาร์เจนตินา[46]

สิทธิและปัญหาการออกอากาศในประเทศไทย[แก้]

สำหรับในประเทศไทย บริษัท อาร์เอส อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง แอนด์ สปอร์ต แมเนจเมนต์ จำกัด (อาร์เอสบีเอส) ซึ่งอยู่ในเครืออาร์เอส เป็นผู้ถือครองสิทธิแต่ผู้เดียว นับแต่ปี พ.ศ. 2549 และ 2553 โดยครั้งนี้ดำเนินการด้วยชื่อของอาร์เอส ผ่านช่องโทรทัศน์ระบบดาวเทียมของตน ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ และทางฟีฟ่าอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล (RS-FIFA World Cup Channel) โดยช่องดังกล่าวจะถ่ายทอดสด การแข่งขันครบทั้ง 64 นัดเป็นแห่งเดียวในประเทศไทย พร้อมทั้งถ่ายทอดบันทึกการแข่งขัน รวมถึงรายการต่างๆ ซึ่งทางฟีฟ่าผลิตขึ้น และจัดส่งให้แก่ผู้รับสิทธิทั่วโลกด้วย

ซึ่งช่องรายการดังกล่าวสามารถรับชม ในระบบโทรทัศน์ความละเอียดมาตรฐาน ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมซันบ็อกซ์ และกล่องบอลโลกดิจิทัลทีวี ของอาร์เอสเท่านั้น อนึ่ง อาร์เอสทำสัญญาอนุญาตให้พีเอสไอ ผู้ประกอบการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม รับดำเนินการแพร่ภาพช่อง อาร์เอส-ฟีฟ่า เวิลด์คัพ แชนเนล คู่ขนานในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงด้วย นอกจากนี้ สำหรับการถ่ายทอดสด ผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน อาร์เอสมอบหมายให้ช่อง 8 ของตนเอง ซึ่งอยู่ในระบบดิจิทัล หมายเลข 27 ร่วมกับการทำสัญญาอนุญาต แก่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งอยู่ทั้งในระบบแอนะล็อก หมายเลข 7 และระบบดิจิทัล หมายเลข 35 เป็นจำนวนรวม 22 นัดการแข่งขัน

สำหรับการออกอากาศผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาร์เอสทำสัญญาอนุญาต ให้บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เป็นผู้ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันชื่อ เอไอเอสออนแอร์ (AIS On Air) ที่เปิดให้ดาวน์โหลด ผ่านแอพสโตร์ในระบบไอโอเอส และกูเกิลเพลย์ในระบบแอนดรอยด์ โดยจะต้องเป็นผู้ใช้บริการในระบบเอไอเอส ที่ชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 199 บาทเท่านั้น[47] ซึ่งการถ่ายทอดสดในทุกช่องทาง จะไม่มีภาพยนตร์โฆษณาคั่นระหว่างการแข่งขัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 13:30 น. ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาให้อาร์เอสบีเอส ไม่ต้องออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าด้วยหลักเกณฑ์ รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้ เฉพาะกับโทรทัศน์ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป เนื่องจากเป็นการตกลงซื้อขายสิทธิ ก่อนประกาศดังกล่าวจะมีผลใชับังคับ ซึ่งเป็นการพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น[48] หลังจากนั้น เลขาธิการ กสทช. ฐากร ตัณฑสิทธิ์ แถลงว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ติดต่อมายังประธาน กสทช. พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี เพื่อแจ้งให้ทาง กสทช.ดำเนินการให้ประชาชน สามารถรับชมถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกครั้งนี้ ทั้งหมด 64 นัดผ่านโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ซึ่งให้บริการเป็นการทั่วไป (ฟรีทีวี) กสทช.จึงเชิญผู้แทนอาร์เอสบีเอส หารือแนวทางในการชดเชย[49]

โดยฝ่ายอาร์เอสบีเอส เสนอให้มีค่าชดเชยเป็นเงิน 766.515 ล้านบาท ซึ่งในวันต่อมา (12 มิถุนายน) คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) และคณะกรรมการ กสทช.ประชุมพิจารณาการชดเชยดังกล่าว โดยออกมติให้ใช้กองทุน กทปส.ชดเชยให้อาร์เอสบีเอส เป็นเงินไม่เกิน 427.015 ล้านบาท[50] เมื่อสามารถตกลงกันได้แล้ว ในเวลา 15:30 น. จึงจัดแถลงข่าวการถ่ายทอดสดร่วมกัน ระหว่างสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (38 นัด), สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (29 นัด) และช่อง 8 ของอาร์เอส (56 นัด) โดยที่บางนัดมีถ่ายทอดสดมากกว่า 1 ช่องโทรทัศน์[51] มีรายงานข่าวด้วยว่า คสช.ประสานงานให้ ททบ.จัดเตรียมเวลาออกอากาศ เพื่อรองรับการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกดังกล่าว รวมกว่า 80 ชั่วโมง

สำหรับผู้ต้องการชมถ่ายทอดสดการแข่งขันฯ ซึ่งเตรียมการไว้ก่อนหน้านี้ โดยซื้อกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของอาร์เอสไปแล้ว เมื่อสถานการณ์เป็นไปดังกล่าว จึงอาจส่งผลให้ผู้ชมกลุ่มนี้เกิดความรู้สึกว่า การลงทุนของตนเสียเปล่าหรือไม่[52] เป็นผลให้วันรุ่งขึ้น (13 มิถุนายน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาร์เอส สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ต้องเปิดแถลงข่าวในประเด็นดังกล่าว โดยอาร์เอสยังคงจำหน่าย กล่องบอลโลกดิจิทัลทีวีต่อไป เนื่องจากยังมีบริการอีกหลายอย่างที่คุ้มค่า แต่หากลูกค้าไม่ต้องการใช้กล่องฯ ดังกล่าวอีก อาร์เอสจะพิจารณาจ่ายค่าชดเชยเยียวยา โดยจะคืนเงินสูงสุดไม่เกิน 1,590 บาทต่อกล่องฯ ส่วนตัวยินดีให้ความร่วมมือกับภาครัฐ สำหรับเงินจากทาง กสทช.ไม่ใช่การซื้อสิทธิต่อ หากแต่เป็นค่าชดเชยการเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งยอมรับว่าไม่คุ้มค่ากับส่วนที่เสียไป แต่ยังมั่นใจว่าจะไม่ขาดทุน[53]

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

สนามแข่งขัน[แก้]

สมาพันธ์ฟุตบอลบราซิล ได้ประมาณค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและปรับปรุงสนามแข่งขัน[54] เป็นจำนวนเงินประมาณ 9.9 พันล้านเรอัลบราซิล (1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ, 550 ล้านปอนด์)[55] นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ต้องรองรับคนนับล้านที่จะเข้าร่วมชมการแข่งขันนี้[56]

เมื่อได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน รีการ์ดู เตย์เชย์รา ประธานสมาพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้กล่าวว่า "เราเป็นประเทศที่มีอารยะ ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพที่ดีเยี่ยมในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ดีที่สุด" ที่สำนักงานใหญ่ของฟีฟ่าในเมืองซูริก[57]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Pot allocations for the Preliminary Draw". FIFA. 27 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  2. FIFA launch GLT tender for Brazil 2013/14 เก็บถาวร 2013-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน FIFA.com. Retrieved 19 February 2013
  3. "FIFA 2014 World Cup Tickets on Sale in August 2013". Fifa2014wiki.com. 2 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
  4. "Argentina, Brazil and Colombia want 2014 World Cup". People's Daily. 19 January 2003. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  5. Mike Collett (30 October 2007). "Brazil officially named 2014 World Cup hosts". Reuters.
  6. "Brazil confirms bid – Colombia withdraws". Fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-29. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  7. "Brazil confirmed as 2014 hosts". FIFA. 30 October 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 30 October 2007.
  8. "THE FIFA/Coca -Cola World Ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13.
  9. "1 day to go". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-15. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13.
  10. "FIFA's Inspection Report" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 9 October 2011.
  11. "Mondiali 2014 in dodici città" (ภาษาอิตาลี). Tuttomercatoweb.
  12. "Sao Paulo dropped for 2014". SBS. 17 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-28. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  13. "Estadio do Maracana - Rio De Janeiro". fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2 June 2013.
  14. "Estadio Nacional Mane Garrincha - Brasilia - FIFA 2014 Venue". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-09. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.
  15. "Estadio Castelao - Fortaleza". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.
  16. "Site oficial do Sport Club Internacional - Projeto Gigante Para Sempre". Internacional.com.br. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
  17. "Arena Fonte Nova - Salvador Stadium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ 2013-06-07.
  18. "Key issues addressed at Brasilia meeting". fifa.com. 28 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
  19. "Organising Committee for the FIFA World Cup extends its responsibilities to cover 2018 and 2022". fifa.com. 19 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
  20. "นัดที่ schedule for 2014 FIFA World Cup™ unveiled". fifa.com. 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-20. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
  21. "FIFA Executive Committee approves kick-off times for Brazil 2014". fifa.com. 27 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
  22. "นัดที่ schedule for 2014 FIFA World Cup™" (PDF). fifa.com. 27 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-05. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19.
  23. "Match report – Brazil–Croatia" (PDF). FIFA.com. 12 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-29. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014.
  24. "Referee designations for matches 1-4" (PDF). fifa.com. 2014-06-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-30. สืบค้นเมื่อ 2014-06-12.
  25. "World Cup money pot increased to $576m". reuters.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 25 April 2014.
  26. Shanahan, Mark; Goldstein, Meredith (10 July 2010). "Gisele picks logo, shops with Tom – The Boston Globe". Boston Globe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  27. "Designer critica logo da Copa 2014: "É uma porcaria" – Terra – Esportes". Terramagazine.terra.com.br. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-12. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
  28. "EMBAIXADORES DA COPA DO MUNDO DA FIFA 2014 APRESENTAM CARTAZ OFICIAL" (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ 30 January 2013.
  29. "2014 Ambassadors unveil Official Poster". FIFA.com. 30 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013.
  30. "2014 Ambassadors unveil Official Poster". FIFA. 30 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-06-19.
  31. "Brazil's World Cup poster is the nuts". FIFA. 30 January 2013. สืบค้นเมื่อ 13 February 2013.
  32. "FIFA releases official poster of World Cup 2014 in Brazil" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 31 January 2013.
  33. "Fifa registra desenho e confirma tatu-bola como mascote da Copa" (ภาษาโปรตุเกส). Globoesporte.com. 11 September 2012. สืบค้นเมื่อ 11 September 2012.
  34. "2014 Mascot is big in Brazil". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 2013-10-07.
  35. 35.0 35.1 "Fuleco é escolhido como nome do mascote da Copa de 2014". UOL Esporte (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo. 26 November 2012. สืบค้นเมื่อ 26 November 2012.
  36. "Fuleco wins name game". Fifa.com. 26 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  37. 37.0 37.1 "adidas Brazuca – Name of Official Match Ball decided by Brazilian fans". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 2 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-24. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
  38. "Caxirolas: The Vuvuzelas of 2014 FIFA World Cup in Brazil". Fifa2014wiki.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-16. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
  39. "Folha de S.Paulo - Internacional - En - Sports - Caxirola is Banned in Brazil's Games and FIFA Events - 28/05/2013". .folha.uol.com.br. 2013-05-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-21.
  40. "2014 FIFA World Cup BrazilTM Media Rights Licensees" (PDF). FIFA. 7 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-05.
  41. "FIFA revenue estimated to be 4 billion dollars at the close of the 2014 World Cup". CONMEBOL.com. 17 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 2014-06-05.
  42. "International Broadcast Centre to be hosted in Rio de Janeiro". FIFA. 27 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-18. สืบค้นเมื่อ 2014-06-05.
  43. "Nerve centre for World Cup TV production opens in Rio". FIFA. 2 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-06-05.
  44. "WM: Die Top-10-Quoten aller Zeiten im deutschen Fernsehen". Focus Online (ภาษาเยอรมัน). 14 กรกฎาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014.
  45. "USA vs. Portugal World Cup Match Most Watched Soccer Game In U.S. History". Fox News. 24 มิถุนายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2014.
  46. "2014 FIFA World Cup™ reached 3.2 billion viewers, one billion watched final". FIFA.com. 16 ธันวาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2017.
  47. เอไอเอสไม่ยอมตกเทรนด์! ให้ดูบอลโลกสดทุกนัดผ่านแอพฯ เก็บถาวร 13 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิถุนายน 2557.
  48. ศาล ปค.สูงสุดชี้ 'RS' ชนะไม่ต้องถ่ายบอลโลกทางฟรีทีวี 64 แมตช์ เก็บถาวร 12 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 11 มิถุนายน 2557.
  49. คนไทยเฮ! คสช.จัดให้ดูบอลโลกครบทุกแมตช์ สั่ง กสทช.ถกอาร์เอส เก็บถาวร 18 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 11 มิถุนายน 2557.
  50. มติ กสทช.ควัก 427 ล้าน ให้อาร์เอสถ่ายบอลโลกออกฟรีทีวี เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิ.ย. 2557.
  51. "ช่อง 5-7-8 จับมือถ่ายทอดสดบอลโลก 64 แมตช์". โพสต์ทูเดย์. 12 มิถุนายน 2014.
  52. งานเข้า 'อาร์เอส' ผู้บริโภคจี้ คืนเงินค่ากล่องดูบอลโลก เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 12 มิถุนายน 2557.
  53. 'เฮียฮ้อ' ย้ำ-ยินดีจ่ายชดเชยกล่องบอลโลก เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ไทยรัฐออนไลน์, 13 มิถุนายน 2557.
  54. Pablo Aro Geraldes (30 ตุลาคม 2007). "All Stadiums for Brazil 2014 World Cup" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2021.
  55. "Brazil Named as World Cup 2014 Host". Brazil.homesgofast.com. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2011.
  56. "Stadium construction work in Brazil viewed by Pléiades".[ลิงก์เสีย]
  57. ""Land of football boot" to host 2014 World Cup". SWI swissinfo.ch. 30 ตุลาคม 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]