ข้ามไปเนื้อหา

กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์
ฮึนเตอลาร์ในปี ค.ศ. 2015
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดีร์ก กลาส ยัน ฮึนเตอลาร์[1]
วันเกิด (1983-08-12) 12 สิงหาคม ค.ศ. 1983 (41 ปี)
สถานที่เกิด โฟร์-แดร็มปต์, อัคเตอร์ฮุก, เนเธอร์แลนด์
ส่วนสูง 1.86 ม.
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
สโมสรเยาวชน
1988–1994 เฟ.เฟ. ฮา. เอน กา.
1994–2000 เดอคราฟสคัป
2000–2002 เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2002–2004 เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 1 (0)
2003เดอคราฟสคัป (ยืมตัว) 9 (0)
2003–2004อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น (ยืมตัว) 35 (26)
2004–2006 เฮเรินเฟน 46 (33)
2006–2008 อาเอฟเซ อายักซ์ 92 (76)
2009 เรอัลมาดริด 20 (8)
2009–2010 เอซี มิลาน 25 (7)
2010–2017 ชัลเคอ 04 175 (82)
2017–2021 อายักซ์ 85 (45)
2021 ชัลเคอ 04 9 (2)
ทีมชาติ
2002–2006 เนเธอร์แลนด์ อายุไม่เกิน 21 ปี 23 (18)
2006–2015 เนเธอร์แลนด์ 76 (42)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 7 มีนาคม 2021
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2015

ดีร์ก กลาส ยัน "กลาส-ยัน" ฮึนเตอลาร์ (ดัตช์: Dirk Klaas Jan "Klaas-Jan" Huntelaar, ออกเสียง: [ˈɦʏn.tə.ˌlaːr] ( ฟังเสียง); 12 สิงหาคม ค.ศ. 1983 — ) มีชื่อเล่นคือ เดอะฮันเตอร์ (The Hunter)[2] เป็นนักฟุตบอลชาวดัตช์ ฮึนเตอลาร์เป็นกองหน้าที่ถือว่าเก่งและมีการจบสกอร์ได้เฉียบคม[3] ด้วยเทคนิคอันยอดเยี่ยมและมีทักษะที่ดี[4] และรูปแบบการเล่นของเขามีความคล้ายคลึงกับมาร์โก ฟัน บัสเติน[5] และรืด ฟัน นิสเติลโรย[6] ลูวี ฟัน คาล (Louis van Gaal) ผู้จัดการทีมชาวดัตช์ในปัจจุบันและอดีตผู้จัดการทีมบาร์เซโลนาและบาเยิร์นมิวนิกได้ออกมาพูดถึงแนวการเล่นของเขาว่า "ตราบใดเมื่ออยู่ในพื้นที่เขตโทษ เขาจะเป็นนักเตะที่เก่งสุดในโลก ไม่มีผู้ใดมาจัดการเขาได้"[2]

เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลชาวดัตช์ยอดเยี่ยมประจำปีและ "ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำปี" ของอายักซ์ในปี ค.ศ. 2006 ฮึนเตอลาร์เป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวดัตช์ที่ได้รับรางวัลฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ยู-21 ปี 2006 ซึ่งเขาก็ได้ทำไปสองประตูในการแข่งขัน เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นชาวดัตช์ที่ติดชื่อในทีมยูฟ่าประจำทัวร์นาเมนต์ เขาเป็นผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในทีมชาติเนเธอร์แลนด์ชุดยู-21 ยิงไป 18 ประตู จาก 22 นัด[2]ในการแข่งขันภายในประเทศ เขาได้เป็นดาวซัลโวสูงสุดในลีกเอเรอดีวีซีในฤดูกาล 2005-06 และ 2007-08 ซึ่งเขาเล่นให้กับเปเอสเฟ, เดอคราฟสคัป, อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น, เฮเรินเฟน, อายักซ์, เรอัลมาดริด และเอซีมิลาน[7] ก่อนที่จะมาทำสัญญากับชัลเคอในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 และผลงานล่าสุดเขาเป็นดาวซัลโวสูงสุดของบุนเดิสลีกา ฤดูกาล 2011-12 ด้วยการทำประตูไป 29 ประตูในลีก

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ฮึนเตอลาร์ เกิดในหมู่บ้านโฟร์-แดร็มปต์ เขตอัคเตอร์ฮุก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ก็ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านฮึมเมอโลเมื่อเขาอายุได้หกปี[8] เขาอาศัยอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ของเขา ดีร์ก-ยัน และเมาด์ ฮึนเตอลาร์ กับพี่ชายอีกสองคนคือนีกและแย็ลเลอ[8] ฮึนเตอลาร์ได้มีความสัมพันธ์กับเพื่อนหญิงของเขาที่ชื่อ มัดดี สโคลเดอร์มัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000[9]เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2009 ทั้งคู่มีลูกชายคนแรกของพวกเขา โดยมีชื่อว่า เซบ[9] และวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ทั้งคู่ก็ได้มีลูกชายคนที่สองที่มีชื่อว่า อักเซิล[10]

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

เมื่อตอนอายุ 15 ปี ฮึนเตอลาร์พร้อมกับพี่ชายสองคนของเขาเข้าร่วมทีมฟุตบอลท้องถิ่น เฟ.เฟ. ฮา. เอน กา. (v.v. H. en K.) ที่เขาเล่นเป็นเวลาหกปีที่ผ่านมา[8] เขาเป็นนักเตะชื่อดังที่มีพรสวรรค์และเล่นได้เก่งในชุดทีมเยาวชน ซึ่งก็มีแมวมองแอบจับตาดูการเล่นของฮึนเตอลาร์อยู่หลายทีม

ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ได้เข้าเป็นสมาชิกชุดเยาวชนของเดอคราฟสคัป และวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1994 เขาทำสัญญาเยาวชนครั้งแรกของเขาเมื่ออายุ 11 ปี[8] ในช่วงปีแรกและปีที่สองของเขากับเดอคราฟสคัป ฮึนเตอลาร์เล่นในตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งปีกซ้ายซึ่งจะโจมตีทั้งกองหลังกับแบ็กซ้ายและผู้รักษาประตู และในปีที่สามเขาก็ได้ผลักดันตัวเองให้ไปเล่นในตำแหน่งกองหน้าได้สำเร็จ[8]

ในฤดูกาล 1997-1998 ฮึนเตอลาร์ในวัย 14 ปี เป็นกองหน้าตัวหลังของทีมเดอคราฟสคัปในชุดซีของสโมสร ซึ่งเขาทำประตูไปได้ 33 ประตู ใน 20 เกม[8] ในฤดูกาลต่อมาเขาได้เลื่อตำแหน่งให้ไปอยู่ในชุดบีวันของสโมสรและในฤดูกาล 1999-2000 เขาได้เป็นคนทำประตูสูงสุดในทีมชุดบีวันลีกรวมทั้งหมด 31 ประตู[8] ความสามารถในการยิงประตูสูงสุดของเขาทำให้เป็นที่สนใจของเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน ซึ่งภายหลังทำสัญญากับเขาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000

ฟุตบอลสโมสร

[แก้]

เปเอสเฟ

[แก้]
ฮึนเตอลาร์เริ่มอาชีพของเขาที่ฟีลิปส์สตาดีโยน

ในฤดูกาลแรกของเขากับเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน ฮึนเตอลาร์สามารถปรับตัวการเล่นให้กับเปเอสเฟได้อย่างรวดเร็วและทำประตูได้แม่นยำให้กับทีมเยาวชนของเขาในเอวันลีก ภายใต้การคุมทีมของวิลลี ฟัน เดอร์เกยเลิน[11] ด้วยการทำประตูไป 26 ประตู ใน 23 เกม จึงทำให้เขาได้เป็นดาวซัลโวของทีมลีกเยาวชน[8] ในฤดูกาลที่สองของเขากับเปเอสเฟ ฮึนเตอลาร์ที่ได้มีรายชื่อลงเล่นในเกมแรกของเขาในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 ภายใต้การคุมทีมของคืส ฮิดดิงก์ ซึ่งเปเอสเฟบุกไปชนะแอร์เบเซ โรเซินดาล ไป 0-3 ในเกมเยือนโดยเขาได้มีส่วนในการจ่ายบอลให้มาเทยา เคชมัน ในช่วงครึ่งทำประตูได้ในนาทีที่ 76[12] และมีข่าวว่าเขาถูกแมวมองของทีมในลีกดัตช์จับตามองอยู่หลายทีม

เดอคราฟสคัป

[แก้]

เมื่อเริ่มปี 2003 เป็นที่ชัดเจนว่า ฮึนเตอลาร์เริ่มกลายเป็นตัวสำรองบ่อยขึ้นและหลุดจากตำแหน่งไปหลายนัด[13][14] ดังนั้นเขาจึงถูกทีมเดอคราฟสคัป (สโมสรที่ลุงของเขาเป็นผู้อำนวยการด้านการเงิน) ยืมตัวไปหนึ่งฤดูกาล[15] เขาเปิดตัวในเกมนัดแรกในสีเสื้อของเดอคราฟสคัปในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ซึ่งในครึ่งแรกเป็นตัวสำรอง แต่ครึ่งหลังลงมาแทนฮันส์ ฟัน เดอฮาร์ ในนัดที่พบกับโรเซินดาล[16] เขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรกในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 ในนัดที่เดอคราฟสคัปแพ้เอสเซ เฮเรินเฟน ไป 1-5[17] จากนั้นเขาก็ปรากฏตัวในนัดสุดท้ายของเขากับเดอคราฟสคัปในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งเดอคราฟสคัปแพ้สโมสรฟุตบอลสโวลเลอ 2-1 ซึ่งทำให้เดอคราฟสคัปตกชั้นจากเอเรอดีวีซี[18] ในการแข่งขันทั้งหมดบนลีกเอเรอดีวีซี ฮึนเตอลาร์ได้ลงเล่นเพียงเก้านัด ได้ลงตัวจริงหนึ่งนัดและเป็นตัวสำรองอีกแปดนัด และไม่สามารถทำประตูให้กับเดอกราฟสคัปได้ จึงตัดสินใจไม่ขยายสัญญาการยืมตัวของตน[19]

ฮึนเตอลาร์เล่นให้กับเฮเรินเฟน

อาเคโอเฟเฟ

[แก้]

เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2003-04 ฮึนเตอลาร์ถูกยืมตัวไปอยู่กับทีมอาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น ทีมในลีกเอร์สเตอดีวีซี ที่อยู่ภายใต้การคุมทีมของยืร์รี โกลโฮฟ[20] เขาเริ่มต้นได้ดีในการทำประตูนัดแรกของเขาในการเล่นให้กับอาเคโอเฟเฟในนัดที่เจอกับโตป โอสส์[21] และทำแฮตทริกในเกมลีกนัดที่สองในเกมที่พบกับเฮราเกลสอัลเมอโล[22] ฮึนเตอลาร์ทำประตูไป 26 ประตู จากเกมทั้งหมดในลีก 35 เกม เมื่อจบฤดูกาล เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของลีกดิวิชัน และเขายังมีชื่อติดหนึ่งใน "นักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของลีกเอร์สเตอดีวีซี" อีกด้วย[23]

เฮเรินเฟน

[แก้]

เมื่อเล่นจบฤดูกาลของการยืมตัวจากอาเคโอเฟเฟ ฮึนเตอลาร์ได้ยกเลิกสัญญากับเปเอสเฟ[24] แล้วได้ย้ายไปทำสัญญากับเอสเซ เฮเรินเฟน สโมสรจากจังหวัดฟรีสแลนด์[25] ฮึนเตอลาร์ได้เริ่มเล่นตั้งแต่ฤดูกาล 2004-05 แล้วทำประตูให้กับเฮเรินเฟนได้ในนัดที่พบกับอาเซต อัลก์มาร์ และเขาสามารถทำประตูได้ 10 ประตู จากการลงเล่นทั้งหมด 17 นัดในช่วงพักฤดูหนาว เมื่อจบฤดูกาล 2004-05 ฮุนเตลาร์ทำประตูได้ทั้งหมด 17 ประตู จากการลงเล่นทั้งหมด 31 นัด และเขายังมีส่วนสำคัญที่ทำให้เฮเรินเฟนได้เข้าสู่รอบคัดเลือกของยูฟ่าคัพในฤดูกาล 2005-06

สถิติการลงเล่น

[แก้]
ข้อมูลเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 (2013 -05-18)
สโมสรที่ลงเล่น ลีก คัพ ทวีป รวม
ลีก สโมสร ฤดูกาล ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
เนเธอร์แลนด์ ลีก ดัตช์คัพ ยุโรป รวม
เอเรอดีวีซี เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 2002–03 1 0 0 0 0 0 1 0
เดอคราฟสคัป 9 0 0 0 9 0
เอร์สเตอดีวีซี อาเคโอเฟเฟ อาเปิลโดร์น 2003–04 35 26 2 1 37 27
เอเรอดีวีซี เอสเซ เฮเรินเฟน 2004–05 31 16 1 0 7 3 39 19
2005–06 15 17 1 1 7 3 23 21
อายักซ์ 16 16 7 7 2 1 25 24
2006–07 32 21 10 6 9 9 51 36
2007–08 34 33 7 1 4 2 45 36
2008–09 10 6 1 1 4 2 15 9
สเปน ลีก โกปาเดลเรย์ ยุโรป รวม
ลาลิกา เรอัลมาดริด 2008–09 20 8 0 0 0 0 20 8
อิตาลี ลีก โกปปาอีตาเลีย ยุโรป รวม
เซเรียอา เอซีมิลาน 2009–10 25 7 2 0 3 0 30 7
เยอรมนี League เดเอ็ฟเบ-โพคาล ยุโรป รวม
บุนเดิสลีกา ชัลเคอ 04 2010–11 24 8 3 2 8 3 35 13
2011–12 32 29 4 5 12 14 48 48
2012–13 26 10 2 2 7 4 35 16
รวมทั้งหมด เนเธอร์แลนด์ 183 135 29 17 33 20 246 172
สเปน 20 8 0 0 0 0 20 8
อิตาลี 25 7 2 0 3 0 30 7
เยอรมนี 82 47 9 9 27 21 117 77
รวมทุกสโมสร 309 197 40 26 63 41 411 264

ประตูในนามทีมชาติ

[แก้]
ฮึนเตอลาร์ลงเล่นให้กับทีมชาติเนเธอร์แลนด์
ประตู วันที่ สถานที่ คู่แข่ง สกอร์ ผล รายการ
1 16 สิงหาคม 2006 แลนส์ดาวน์โรด, ดับลิน, ไอร์แลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 0–1 0–4 กระชับมิตร
2 16 สิงหาคม 2006 แลนส์ดาวน์โรด, ดับลิน, ไอร์แลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 0–3 0–4 กระชับมิตร
3 17 ตุลาคม 2007 ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสโลวีเนีย สโลวีเนีย 2–0 2–0 ยูโร 2008 รอบคัดเลือก
4 6 กุมภาพันธ์ 2008 สนามกีฬาพอลียุด, สปลิต, โครเอเชีย ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 0–2 0–3 กระชับมิตร
5 26 มีนาคม 2008 แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดีโยน, เวียนนา, ออสเตรีย ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3–1 3–4 กระชับมิตร
6 26 มีนาคม 2008 แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดีโยน, เวียนนา, ออสเตรีย ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3–4 3–4 กระชับมิตร
7 24 พฤษภาคม 2008 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติยูเครน ยูเครน 2–0 3–0 กระชับมิตร
8 17 มิถุนายน 2008 สตาดเดอซุอิส, แบร์น, สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย 1–0 2–0 ยูโร 2008
9 6 กันยายน 2008 ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1–0 1–2 กระชับมิตร
10 11 ตุลาคม 2008 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ 2–0 2–0 ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
11 11 กุมภาพันธ์ 2009 สนามกีฬา 7 พฤศจิกายน, ราแด็ส, ตูนิเซีย ธงชาติตูนิเซีย ตูนิเซีย 0–1 1–1 กระชับมิตร
12 28 มีนาคม 2009 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 1–0 3–0 ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
13 1 เมษายน 2009 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ มาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนีย 2–0 4–0 ฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก
14 5 กันยายน 2009 เดอโครลส์แฟ็สเตอ, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 3–0 3–0 กระชับมิตร
15 3 มีนาคม 2010 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 2–0 2–1 กระชับมิตร
16 24 มิถุนายน 2010 สนามกีฬาเคปทาวน์, แอฟริกาใต้ ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 2–1 2–1 ฟุตบอลโลก 2010
17 3 กันยายน 2010 สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 2–0 5–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
18 3 กันยายน 2010 สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 3–0 5–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
19 3 กันยายน 2010 สตาดีโอโอลิมปีโก, แซร์ราวัลเล, ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 4–0 5–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
20 7 กันยายน 2010 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 1–0 2–1 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
21 7 กันยายน 2010 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 2–0 2–1 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
22 8 ตุลาคม 2010 สนามกีฬาซิมบรู, คีชีเนา, มอลโดวา ธงชาติมอลโดวา มอลโดวา 0–1 0–1 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
23 12 ตุลาคม 2010 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1–0 4–1 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
24 12 ตุลาคม 2010 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสวีเดน สวีเดน 3–0 4–1 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
25 17 พฤศจิกายน 2010 อัมสเตอร์ดัมอาเรนา, อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติตุรกี ตุรกี 1–0 1–0 กระชับมิตร
26 9 กุมภาพันธ์ 2011 ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 2–0 3–1 กระชับมิตร
27 2 กันยายน 2011 ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 5–0 11–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
28 2 กันยายน 2011 ฟีลิปส์สตาดีโยน, ไอนด์โฮเฟิน, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 8–0 11–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
29 7 ตุลาคม 2011 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติมอลโดวา มอลโดวา 1–0 1–0 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
30 11 ตุลาคม 2011 Råsunda Stadium, Solna, สวีเดน ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1–1 3–2 ยูโร 2012 รอบคัดเลือก
31 29 กุมภาพันธ์ 2012 สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน, อังกฤษ ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 0–2 2–3 กระชับมิตร
32 15 สิงหาคม 2012 สนามกีฬาพระเจ้าโบดวง, บรัสเซลส์, เบลเยียม ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 1–2 4–2 กระชับมิตร
33 12 กันยายน 2012 สนามกีฬาเฟเรนตส์ ปุชกาช, บูดาเปสต์, ฮังการี ธงชาติฮังการี ฮังการี 1–4 1–4 ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
34 12 ตุลาคม 2012 เดอเกยป์, โรตเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ธงชาติอันดอร์รา อันดอร์รา 2–0 3–0 ฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก
35 29 มิถุนายน 2014 Estádio Castelão, โฟร์ตาเลซา บราซิล ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก 2–1 2–1 ฟุตบอลโลก 2014
36 10 ตุลาคม 2014 Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ธงชาติคาซัคสถาน คาซัคสถาน 1–1 3–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก
37 16 พฤศจิกายน 2014 Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ธงชาติลัตเวีย ลัตเวีย 3–0 6–0
38 6–0
39 28 มีนาคม 2015 Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ธงชาติตุรกี ตุรกี 1–1 1–1
40 5 มิถุนายน 2015 Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ธงชาติสหรัฐ สหรัฐ 1–0 3–4 กระชับมิตร
41 2–1
42 13 ตุลาคม 2015 Amsterdam Arena, อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 1–3 2–3 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA World Cup South Africa 2010 – List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). p. 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 Harris, Nick (28 March 2009). "Huntelaar, the new Dutch goal machine". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ 28 March 2009.
  3. "Huntelaar swaps Madrid for Milan". UEFA.com. 7 August 2009. สืบค้นเมื่อ 7 August 2009.
  4. "The Hunter's pursuit of excellence". FIFA.com. 23 January 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 7 April 2008.
  5. "Huntelaar follows Van Basten". UEFA.com. 4 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-07. สืบค้นเมื่อ 7 April 2008.
  6. Hodges, Vicki (11 January 2008). "Man United keen on Dutch striker Huntelaar". London: The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 August 2009.
  7. "Real Madrid C.F. and AFC Ajax reach agreement for transfer of player". Realmadrid.com. 2 December 2008. สืบค้นเมื่อ 1 January 2009.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Biografie van Klaas-Jan Huntelaar" (ภาษาดัตช์). Official website of Klaas-Jan Huntelaar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  9. 9.0 9.1 "Klaas-Jan Huntelaar vader" (ภาษาดัตช์). Telegraaf.nl. 9 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ 23 July 2010.
  10. "Vorzeitige Abreise wegen Axel: Klaas-Jan Huntelaar ist stolzer Papa" (ภาษาเยอรมัน). Schalke04.de. 20 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-13. สืบค้นเมื่อ 21 July 2011.
  11. Scholten, Berend (24 March 2006). "An original Dutch master". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 5 May 2011.
  12. "RBC Roosendaal" (ภาษาดัตช์). PSV Eindhoven. 23 November 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  13. "PSV looking to loan out kids". Sky Sports. 28 April 2003. สืบค้นเมื่อ 22 March 2009.
  14. "Huntelaar class shines through". UEFA.com. 13 January 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 15 October 2007.
  15. "De Graafschap herdenkt Cor Huntelaar groots" (ภาษาดัตช์). Soccernews.nl. 15 March 2008. สืบค้นเมื่อ 16 March 2008.
  16. "RBC Roosendaal – De Graafschap (1–0)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 8 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  17. "De Graafschap – SC Heerenveen (1–5)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 16 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  18. "FC Zwolle – De Graafschap (2–1)" (ภาษาดัตช์). De Graafschap. 29 May 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  19. "De Graafschap ziet af van langer huren van Huntelaar" (ภาษาดัตช์). Sport1. 21 June 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  20. "Klaas-Jan Huntelaar profiel" (ภาษาดัตช์). NOS Studio Sport. 10 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-11. สืบค้นเมื่อ 24 September 2007.
  21. "AGOVV Club historie" (ภาษาดัตช์). AGOVV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ 16 December 2007.
  22. "Eerste overwinning AGOVV" (ภาษาดัตช์). Sport1. 23 August 2003. สืบค้นเมื่อ 17 October 2007.
  23. "Huntelaar verkozen tot speler van het seizoen" (ภาษาดัตช์). Sport1. 2 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-05. สืบค้นเมื่อ 17 October 2007.
  24. "Classy Huntelaar thinking big". FIFA.com. 1 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-09. สืบค้นเมื่อ 19 October 2007.
  25. "Huntelaar delighted with move to Heerenveen". PSV. 22 June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]