มานูเอ็ล น็อยเออร์
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | มานูเอ็ล เพเทอร์ น็อยเออร์[1] | ||
วันเกิด | 27 มีนาคม ค.ศ. 1986 | ||
สถานที่เกิด | เก็ลเซินเคียร์เชิน เยอรมนีตะวันตก | ||
ส่วนสูง | 1.93 m (6 ft 4 in)[2][3] | ||
ตำแหน่ง | ผู้รักษาประตู | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ไบเอิร์นมิวนิก | ||
หมายเลข | 1 | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1991–2005 | ชัลเคอ 04 | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2004–2008 | ชัลเคอ 04-2 | 26 | (0) |
2006–2011 | ชัลเคอ 04 | 156 | (0) |
2011– | ไบเอิร์นมิวนิก | 356 | (0) |
ทีมชาติ | |||
2004 | เยอรมนี อายุไม่เกิน 18 ปี | 1 | (0) |
2004–2005 | เยอรมนี อายุไม่เกิน 19 ปี | 11 | (0) |
2005–2006 | เยอรมนี อายุไม่เกิน 20 ปี | 4 | (0) |
2006–2009 | เยอรมนี อายุไม่เกิน 21 ปี | 20 | (0) |
2009–2024 | เยอรมนี | 124 | (0) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 19:26, 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 (UTC) |
มานูเอ็ล เพเทอร์ น็อยเออร์ (เยอรมัน: Manuel Peter Neuer, ออกเสียง: [ˈmaːnu̯ɛl ˈnɔʏ.ɐ]) เป็นนักฟุตบอลชาวเยอรมัน ปัจจุบันลงเล่นในตำแหน่งผู้รักษาประตู ให้กับไบเอิร์นมิวนิก สโมสรในบุนเดิสลีกา และทีมชาติเยอรมนี
น็อยเออร์คว้าชัยชนะร่วมกับทีมชาติเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 รวมถึงรางวัลถุงมือทองคำจากการที่เขาเป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในทัวร์นาเมนต์ และได้รับขนานนามว่าเป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดในโลกนับตั้งแต่ เลฟ ยาชิน[4][5]
ในปี ค.ศ. 2014 น็อยเออร์ได้คะแนนโหวตในรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ เป็นอันดับสาม รองจากเลียวเนล เมสซี และคริสเตียโน โรนัลโด ปีเดียวกัน น็อยเออร์ได้ถูกจัดอันดับเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลกอันดับสาม โดยดิการ์เดียน[6]2020
สโมสรอาชีพ
[แก้]ชัลเคอ 04
[แก้]น็อยเออร์เซ็นสัญญาเป็นผู้เล่นตัวจริงในปี ค.ศ. 2005 หลังจากผ่านการอบรมในทุกช่วงอายุของสโมสรบ้านเกิด เขาเปิดตัวในบุนเดิสลีกาเมื่อเขาลงแข่งแทนฟรังก์ รอสท์ในฤดูกาล 2006-2007 ดวัยเพียง 20 ปี เขาก็สามารถดำรงตำแหน่งนี้แทนรอสท์ที่ฟอร์มตกลงจากนัดที่พบกับไบเอิร์นมิวนิกด้วยวัยเพียงเท่านี้ เขาได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้มารับตำแหน่งต่อจาก เยนส์ เลห์มันน์ ให้กับทีมชาติเยอรมนี[7]
วันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2008 ในรอบแรกของการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกซึ่งพบกับสโมสรฟุตบอลโปร์ตู น็อยเออร์ได้ช่วยประคองทีมด้วยการเซฟ และทำให้เกมดำเนินไปจนถึงการยิงลูกโทษ อีกทั้งเขายังสามารถเซฟลูกโทษของ บรูนู อัลวึชและ ลีซังดรู โลปึช ทำให้ชัลเคอสามารถผ่านเข้าไปยังรอบก่อนชิงชนะเลิศ(ควอร์เตอร์ไฟนอล)ได้ ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้เป็นหนึ่งในตัวเต็งที่จะได้รับรางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยมแห่งปีจากยูฟ่า เขาเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดและเป็นผู้เล่นคนเดียวจากบุนเดิสลีกาที่มีชื่อติดอยู่ในรายชื่อ[8] เขายังเป็นผู้เล่นเพียง1ใน3ที่ลงเล่นทุกนาทีในทุกนัดบุนเดิสลีกา ในฤดูกาล 2007-2008
ในฤดูกาล 2008-2009 ชัลเคอรั้งอันดับแปดในลีก และพลาดตำแหน่งในยูโรปาลีก อย่างไรก็ดี เขาได้โชว์ความสามารถในรายการ ยูโรเปียนแชมเปียนชิป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ทำให้เขาได้รับความสนใจจากไบเอิร์นมิวนิก ซึ่ง คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมอนิเกอ ประธานสโมสรได้ให้สัมภาษณ์ว่าเขาสนใจที่จะดึงน็อยเออร์มาร่วมทีมด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เฟลิกซ์ มากัท ผู้จัดการทีมคนใหม่ของชัลเคอยังคงยืนยันว่า น็อยเออร์จะเล่นให้ชัลเคอในฤดูกาลหน้า[9] ในเดือนพฤศจิกายน น็อยเออร์เป็นผู้รักษาประตูชาวเยอรมันคนเดียวที่มีชื่อติดอยู่ใน1ใน5ผู้เข้าชิงตำแหน่งในทีมแห่งปีของยูฟ่า[10]
สำหรับฤดูกาล 2010-2011 น็อยเออร์ได้รับตำแหน่งเป็นกัปตันทีม เขาได้พาทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรก เขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะของทีมในการแข่งเดเอ็ฟเบโพคาลในฤดูกาลสุดท้ายที่เขาลงเล่นกับสโมสร โดยชัลเคอสามารถเอาชนะเอ็มเอสเฟา ดุยส์บวร์กไปได้ด้วยคะแนน 5:0[11]
เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2011 น็อยเออร์ได้ประกาศว่าเขาจะไม่ต่อสัญญากับชัลเคอ ซึ่งจะหมดสัญญาลงในท้ายฤดูกาล 2011-2012[12] จนได้รับการวิจารณ์อย่างหนักจากกองเชียร์ชัลเคอ ซึ่งผิดหวังที่เขาจะทิ้งทีมไปอยู่กับฝั่งคู่ต่อสู้
ไบเอิร์นมิวนิก
[แก้]ฤดูกาล 2011–12
[แก้]เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2011 ชัลเคอและไบเอิร์นมิวนิกได้ยืนยันว่าน็อยเออร์จะย้ายทีมมาเล่นให้กับไบเอิร์นมิวนิกในเดือนกรกฎาคมปีดังกล่าว[13] น็อยเออร์ได้เซ็นสัญญา 5 ปีซึ่งจะหมดอายุลงในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ไบเอิร์นมิวนิกซื้อตัวน็อยเออร์ในราคาสูงถึง 22ล้านยูโร ทำให้น็อยเออร์กลายเป็นผู้รักษาประตูที่มีค่าตัวแพงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ เป็นรองเพียงจันลุยจี บุฟฟอนหลังจากต้องเผชิญกระแสต่อต้านจากแฟนบอลบางส่วนผู้ไม่พอใจที่บาเยิร์นซื้อตัวผู้รักษาประตูชัลเคอ การประชุมระหว่างสโมสรและตัวแทนของกลุ่มผู้สนับสนุนจึงถูกจัดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม ปีเดียวกัน จากการประชุมได้ข้อสรุปว่าน็อยเออร์จะเป็น "สมาชิกของสโมสรอย่างเต็มตัว และควรได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเคารพ รวมถึงกระแสต่อต้านจะต้องสิ้นสุดลง"[14] ช่วงสัปดาห์แรกในไบเอิร์นมิวนิก หลังจากทีมเสมอ 0-0 จากนัดกับฮอฟเฟนไฮม์ น็อยเออร์ทำลายสถิติการไม่เสียประตูต่อเนื่องยาวนานที่สุด[15]
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2012 น็อยเออร์สามารถเซฟจุดโทษของ คริสเตียโน โรนัลโด และ กาก้า เขายังช่วยบาเยิร์นในรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกกับเรอัลมาดริด หลังจากจบนัด น็อยเออร์ได้ออกมาเปิดเผยว่าเขาศึกษาวิธีที่โรนัลโดยิงลูกโทษ "ผมมักจะเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ต่างๆเสมอ โทนี ทาพาโลวิช ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตูของทีม ได้เปิดวิธีที่โรนัลโดมักยิงจุดโทษให้ผมดูบนแลปทอปของเขา ผมได้เรียนรู้ว่าโรนัลโดมักจะยิงจุดโทษไปทางฝั่งซ้ายล่างของเขา ผมเดาว่าเขาคงเลือกยิงจากจุดประจำของเขา"[16]
น็อยเออร์ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2011–12 กับเชลซี และนัดนั้นก็จบลงด้วยการยิงจุดโทษ น็อยเออร์เป็นผู้ยิงจุดโทษคนที่สามทำให้ทีมได้คะแนน และเซฟจุดโทษแรกจากควน มาตา แต่ไม่สามารถเซฟลูกที่เหลือได้ ทำให้ไบเอิร์นมิวนิกเป็นฝ่ายแพ้ในอัลลิอันซ์อาเรนาด้วยคะแนน 4-3 และพลาดถ้วยรางวัลอย่างน่าเสียดาย
ฤดูกาล 2012–13
[แก้]ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2012–13 รอบแพ้คัดออก น็อยเออร์ทำสถิติไม่เสียประตู 4 นัดติดต่อกันจากนัดกับสโมสรฟุตบอลยูเวนตุสและบาร์เซโลนา ในรอบชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2012–13 น็อยเออร์สามารถเซฟได้ถึง 8 ประตู ช่วยให้ไบเอิร์นมิวนิกสามารถคว้าแชมป์สมัยที่ 5 ไปได้
ฤดูกาล 2013–14
[แก้]ในฤดูกาล 2013–14 น็อยเออร์ทำให้ไบเอิร์นมิวนิกชนะเลิศยูฟ่าซูเปอร์คัพ ฤดูกาล 2013 หลังจากที่เซฟลูกจุดโทษสุดท้ายในนัดที่พบกับเชลซี ทำให้เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2014 น็อยเออร์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดแห่งปี ค.ศ. 2013[17] วันที่ 9 กุมภาพันธ์ในนัดระหว่างไบเอิร์นมิวนิกและอาร์เซนอลในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2013–14 รอบแพ้คัดออก น็อยเออร์เซฟจุดโทษของเมซุท เออซิล ในเกมที่ชนะด้วยคะแนน 2–0 วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 น็อยเออร์ได้ขยายสัญญากับสโมสรต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2019[18]
ฤดูกาล 2014–15
[แก้]ในฤดูกาล 2014–15 น็อยเออร์ได้รับเลือกให้เป็นนักฟุตบอลแห่งปีของประเทศเยอรมนี[19] ได้รับโหวตให้อยู่ในทีมแห่งปีของยูฟ่า[20] และได้รับอันดับสามจากรางวัลฟีฟ่าบาลงดอร์ 2014[21]
เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2015 น็อยเออร์ลงเล่นให้กับทีม[22] ในเกมที่พ่ายให้กับว็อลฟส์บูร์กไปด้วยคะแนนถึง 4–1[23] ทำให้กลายเป็นเกมแรกตั้งแต่น็อยเออร์ร่วมทีมในปี ค.ศ. 2011 ที่น็อยเออร์เสียไปถึง 4 ประตู จากครั้งล่าสุดที่ไบเอิร์นมิวนิกเสีย 4 ประตูในนัดกับโวล์ฟสบวร์ก เมื่อ 4 เมษายน ค.ศ. 2009[23]
วันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2015 น็อยเออร์เป็นหนึ่งในผู้ที่พลาดจุดโทษในรอบรองชนะเลิศเดเอ็ฟเบโพคาล กับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[24]
ฤดูกาล 2015–16
[แก้]น็อยเออร์เริ่มต้นฤดูกาลใหม่ด้วยการเสมอ 1–1 กับเฟาเอฟเอล ว็อลฟส์บูร์ก ในเดเอฟเอล-ซูเปอร์คัพ[25][26] โดยว็อลฟส์บูร์กเป็นผู้ชนะจากการดวลจุดโทษ[26] วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2016 น็อยเออร์ขยายสัญญาใหม่กับบาเยิร์นไปจนถึงปี ค.ศ. 2021
ทีมชาติ
[แก้]เยาวชน
[แก้]หลังจากฝึกซ้อมในทีมเยาวชน น็อยเออร์ลงเล่นครั้งแรกในฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี รุ่นอายุไม่เกิน 21ปี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ในเกมที่พบกับเนเธอร์แลนด์ เขาชนะในยูโรเปียนแชมเปียนชิป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี ร่วมกับทีมชาติเยอรมนีที่สวีเดน และทำสถิติไม่เสียประตูในเกมสุดท้ายที่ชนะทีมชาติอังกฤษ
ฟุตบอลโลก 2010
[แก้]น็อยเออร์ถูกเรียกตัวขึ้นสู่ทีมชาติเยอรมนีชุดใหญ่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2009[27] เขาลงเล่นครั้งแรกในเกมที่พบกับสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในวันที่ 2 มิถุนายน[28] เขายังลงเล่นในนัดกระชับมิตรระหว่างโกตดิวัวร์ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจบลงด้วยการเสมอ 2–2 ถีงแม้เขาจะแสดงความรับผิดชอบต่อการเสียประตูแรก แต่โยอาคิม เลิฟผู้จัดการทีมก็ไม่ได้กล่าวโทษแต่กลับชมเชยที่น็อยเออร์พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว[29]
จากการเสียชีวิตของผู้รักษาประตูรอแบร์ต เอนเคอ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2009 ทำให้น็อยเออร์กลายเป็นตัวเลือกผู้รักษาประตูทีมชาติเยอรมนีตัวจริงอันดับสองรองจากเรเนอ แอดเลอร์ อย่างไรก็ตาม แอดเลอร์ได้รับบาดเจ็บหนักที่กระดูกซี่โครงทำให้เขาต้องถอนตัวออกจากฟุตบอลโลก น็อยเออร์จึงกลายเป็นตัวเลือกผู้รักษาประตูตัวเลือกที่หนึ่งของทีมชาติ[30]
น็อยเออร์ได้รับเลือกให้ลงเป็นผู้รักษาประตูตัวเลือกที่หนึ่งของเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010ที่แอฟริกาใต้[31] ในรอบแบ่งกลุ่ม น็อยเออร์เสียประตูไปเพียงแค่ประตูเดียว จากประตูของมิลาน ยอวานอวิชในนัดที่ปะทะกับทีมชาติเซอร์เบีย เขาให้ความช่วยเหลือในการทำประตูของมีโรสลัฟ โคลเซอในนัดที่ชนะทีมชาติอังกฤษไปได้ด้วยคะแนน 4–1 เขาลงเล่นในทุกนัดจนกระทั่งนัดชิงอันดับที่สามกับทีมชาติอุรุกวัย ซึ่งได้ฮันส์-ยอร์ก บุทท์มาทำหน้าที่รักษาประตูแทน[32]
ยูโร 2012
[แก้]น็อยเออร์ลงเล่นในทุกเกมและทุกนาทีในรอบคัดเลือก หลังจากทีมเยอรมนีเอาชนะตุรกีไปได้ด้วยคะแนน 3-1 เขาได้รับการชื่นชมจากไหวพริบในการเล่นของเขา เขาสามารถป้องกันประตูจากฮามิต อัลทึนโทป และส่งบอลกลับไปที่เท้าของโทมัส มึลเลอร์ ผู้ช่วยให้มารีโอ โกเมซ สามารถทำประตูแรกได้ อย่างพอดิบพอดี น็อยเออร์ยังมีส่วนช่วยในการได้ประตูที่สอง โดยเปิดบอลไปให้มารีโอ เกิทเซอ ส่งต่อไปยังมึลเลอร์ซึ่งสามารถยิงเข้าจากกรอบเขตโทษ[33] ซึ่งนอกจากนี้เขายังทำสถิติไม่เสียประตูในเกมที่พบกับโปรตุเกส และเสียเพียงแค่ประตูเดียวในเกมที่พบกับเนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก ทำให้เยอรมนีเป็นผู้ชนะในกลุ่มบี และเป็นทีมเดียวในการแข่งขันที่ไม่แพ้เลยในรอบคัดเลือกระหว่างกลุ่ม
ฟุตบอลโลก 2014
[แก้]ด้วยแนวการเล่นแบบสวีปเปอร์-คีปเปอร์ของน็อยเออร์ ทำให้เขาแตกต่างจากผู้รักษาประตูคนอื่น ๆ ในฟุตบอลโลก 2014 ด้วยเหตุนี้ทำให้เพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆสามารถบุกเข้าไปเล่นในฝั่งของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการที่น็อยเออร์พร้อมที่จะออกมาเล่นและสกัดบอลของคู่ต่อสู้นอกกรอบเขตโทษ[34] น็อยเออร์กลายเป็น"ผู้เล่นคนที่11ของทีม"ซึ่งเขาได้รับการฝึกทักษะนี้จากแป็ป กวาร์ดิออลา ผู้จัดการของทีม[35]
หลังจากที่ไม่เสียประตูในนัดที่พบกับโปรตุเกสและสหรัฐอเมริกา น็อยเออร์ทำสถิติไม่เสียประตูติดต่อกันเป็นนัดที่สามในฟุตบอลโลก 2014 จากนัดที่ชนะฝรั่งเศสไปด้วยคะแนน1-0ในรอบก่อนชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นการไม่เสียประตูนัดที่22ในทั้งหมด50นัดที่เขาลงเล่นในนามทีมชาติ[36] ในรอบรองชนะเลิศ น็อยเออร์เสียประตูจากนัดที่เอาชนะเจ้าบ้านอย่างบราซิลไปด้วยคะแนน7-1
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ในรอบชิงชนะเลิศซึ่งพบกับทีมชาติอาร์เจนตินา แม้น็อยเออร์จะไม่ได้ทำหน้าที่มากนักแต่เขาบริหารการเล่นของเขาในกรอบเขตโทษได้อย่างดี ทำให้กอนซาโล อีกวาอินและโรดรีโก ปาลาเซียวทำประตูพลาด[34][37] เยอรมนีเอาชนะอาร์เจนตินาไปได้ด้วยคะแนน1-0 จากประตูของมารีโอ เกิทเซอในช่วงต่อเวลาพิเศษ ส่วนทางด้านน็อยเออร์ก็ได้รับรางวัลถุงมือทองคำจากการที่เขาเป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดของรายการการแข่งขัน[38]
เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2016 น็อยเออร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกัปตันคนใหม่ของทีมชาติ หลังจากที่บัสเตียน ชไวน์ชไตเกอร์ ได้ประกาศเลิกเล่นให้กับทีมชาติ[39]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]น็อยเออร์เกิดที่เก็ลเซินเคียร์เชิน รัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ประเทศเยอรมนี เขาเข้าศึกษาที่เกซัมท์ชูเล เบอร์เกอร์ เฟลด์ ในเมืองบ้านเกิด ตามวิถีนักฟุตบอลทั่วไป มาร์เซล พี่ชายของเขา เป็นกรรมการผู้ตัดสินในเวอร์บันด์สลีกา[40] เขาได้รับลูกฟุตบอลลูกแรกเมื่ออายุได้ 2 ขวบ ลงแข่งเป็นครั้งแรกในวันที่ 3 มีนาคม 1991 หรือ 24วันก่อนวันเกิดปีที่5ของเขา[41] ฮีโร่และไอดอลของน็อยเออร์คือ เยนส์ เลห์มันน์ ผู้รักษาประตูจากสโมสรชัลเคอ 04[42]
น็อยเออร์นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาธอลิก เขาสนับสนุนกลุ่มคาธอลิกในการช่วยเหลือเด็กๆที่ขาดแคลนอาหาร รวมถึงสโมสรเยาวชนในเก็ลเซินเคียร์เชิน ซึ่งจัดตั้งและดำเนินการโดยอมิโกเนียน[43]
น็อยเออร์เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิเด็ก มานูเอ็ล น็อยเออร์[44] ในเดือนพฤศจิกายน 2011 เขาได้รับเงินบริจาคถึง 500,000ยูโร จากรายการฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์?เวอร์ชันเยอรมนี[45]
น็อยเออร์เป็นผู้ให้เสียงแฟรงก์ แมคเคย์ ในภาพยนตร์ของดิสนีย์ มหา'ลัย มอนส์เตอร์ ฉบับภาษาเยอรมัน[46]
สถิติอาชีพ
[แก้]- ณ วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2016
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | ถ้วย1 | ทวีป2 | อื่น ๆ3 | รวม | อ้างอิง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลีก | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | |||
ชัลเคอ 04 II | 2003–04 | Regionalliga Nord | 1 | 0 | — | 1 | 0 | [47] | |||||
2004–05 | Oberliga Westfalen | 24 | 0 | 24 | 0 | ||||||||
2006–07 | 3 | 0 | 3 | 0 | [48] | ||||||||
2008–09 | Regionalliga West | 1 | 0 | 1 | 0 | [48] | |||||||
รวม | 29 | 0 | — | 29 | 0 | — | |||||||
ชัลเคอ 04 | 2005–06 | บุนเดิสลีกา | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | [49] |
2006–07 | 27 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 27 | 0 | [48] | ||
2007–08 | 34 | 0 | 3 | 0 | 10 | 0 | 3 | 0 | 50 | 0 | [50][51] | ||
2008–09 | 27 | 0 | 2 | 0 | 5 | 0 | — | 34 | 0 | [48] | |||
2009–10 | 34 | 0 | 5 | 0 | — | 39 | 0 | [52] | |||||
2010–11 | 34 | 0 | 6 | 0 | 12 | 0 | 1 | 0 | 53 | 0 | [53][54] | ||
รวม | 156 | 0 | 16 | 0 | 27 | 0 | 4 | 0 | 203 | 0 | — | ||
ไบเอิร์นมิวนิก | 2011–12 | บุนเดิสลีกา | 33 | 0 | 5 | 0 | 14 | 0 | — | 52 | 0 | [55] | |
2012–13 | 31 | 0 | 5 | 0 | 13 | 0 | 1 | 0 | 50 | 0 | [56][57] | ||
2013–14 | 31 | 0 | 5 | 0 | 12 | 0 | 4 | 0 | 52 | 0 | [58][59][60] [61][62] | ||
2014–15 | 32 | 0 | 5 | 0 | 12 | 0 | 1 | 0 | 50 | 0 | [63] | ||
2015–16 | 34 | 0 | 5 | 0 | 11 | 0 | 1 | 0 | 51 | 0 | [26][64] | ||
2016–17 | 4 | 0 | 1 | 0 | 1 | 0 | 1 | 0 | 7 | 0 | [65] | ||
รวม | 165 | 0 | 26 | 0 | 63 | 0 | 8 | 0 | 262 | 0 | — | ||
รวมทั้งหมด | 350 | 0 | 42 | 0 | 90 | 0 | 12 | 0 | 494 | 0 | — |
- 1.^ รวมถึง เดเอ็ฟเบโพคาล
- 2.^ รวมถึง ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และ ยูฟ่ายูโรปาลีก
- 3.^ รวมถึง เดเอ็ฟเบ-ลีกาโพคาล, เดเอฟเอล-ซูเปอร์คัพ, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ, และ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
เกียรติประวัติ
[แก้]สโมสร
[แก้]- ชัลเคอ 04[66]
- ไบเอิร์นมิวนิก[66]
- บุนเดิสลีกา: 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2018–19, 2019–20 , 2020–21, 2021–22,2022-2023
- เดเอ็ฟเบ-โพคาล: 2012–13, 2013–14, 2015–16, 2018–19, 2019–20
- เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ: 2012, 2016, 2017, 2018, 2020, 2021
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2012–13, 2019–20
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ: 2013, 2020
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก: 2013, 2020
ทีมชาติ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "FIFA Club World Cup Morocco 2013: List of Players" (PDF). FIFA. 7 December 2013. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
- ↑ "Manuel Neuer" (ภาษาเยอรมัน). Manuel Neuer. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
- ↑ "Manuel Neuer – FC Bayern München AG". FC Bayern Munich. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
- ↑ Teng, Elaine (10 July 2014). "Tim Howard Is Great, But I'll Take Manuel Neuer Any Day". New Republic. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
- ↑ Staunton, Peter (1 December 2014). "Ballon d'Or contender Neuer is the best goalkeeper since Yashin". goal.com. สืบค้นเมื่อ 17 May 2015.
- ↑ "The top 100 footballers 2014 – interactive". The Guardian. 21 December 2014. สืบค้นเมื่อ 18 October 2015.
- ↑ "Neuer good news for Germany". FIFA. 14 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-11. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
- ↑ "UEFA Club Goalkeeper of the Year". UEFA. 22 August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-22. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
- ↑ "Rummenigge talks Neuer interest". FIFA. 4 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
- ↑ "Neuer nominated for UEFA Team of the Year". Schalke04.com. 7 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 2015-12-03.
- ↑ "Schalke triumphiert im Finale". 21 May 2011. สืบค้นเมื่อ 31 July 2014.
- ↑ "Neuer turns down Schalke deal". ESPN Soccernet. 20 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 31 May 2011.
- ↑ "Schalke give green light to Neuer's Bayern move". FC Schalke 04. 2 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 2 June 2011.
- ↑ "FCB and fans condemn anti-Neuer protest". FC Bayern Munich. 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
- ↑ Schäling, Ben (4 October 2011). "Kahn: Gegentor wie Erlösung" (ภาษาเยอรมัน). Augsburger Allgemeine. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
- ↑ "Neuer: I knew how Cristiano Ronaldo would take his penalty". Goal.com. 28 April 2012. สืบค้นเมื่อ 4 May 2012.
- ↑ "Bayerns Manuel Neuer zum Welttorhüter gewählt". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). 7 January 2014. สืบค้นเมื่อ 7 January 2014.
- ↑ "Neuer extends stay at FCB through 2019". FC Bayern Munich. 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 3 May 2014.
- ↑ "Manuel Neuer named German Footballer of the Year". Deutsche Welle. 10 August 2014. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Bayern dominate UEFA Team of the Year poll". Deutsche Welle. 9 January 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Cristiano Ronaldo wins Ballon d'Or over Lionel Messi & Manuel Neuer". BBC Sport. 12 January 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
- ↑ "Dost und De Bruyne lassen an 2009 erinnern". kicker (ภาษาเยอรมัน). 30 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
- ↑ 23.0 23.1 "Die Bayern kassieren eine krachende Niederlage". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). 30 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
- ↑ "Bayern Munich 1–1 Borussia Dortmund". BBC. 29 April 2015.
- ↑ Harding, Jonathan (26 June 2015). "Bayern Munich open 2015/16 Bundesliga season at home to Hamburg". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 1 January 2016.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 "Joker Bendtner ist zweimal zur Stelle". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). 1 August 2015. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.
- ↑ "Löw nominiert Neuer, Träsch, Gentner und Cacau". DFB.de. 19 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-22. สืบค้นเมื่อ 19 May 2009.
- ↑ "Gomez ist wieder da – Neuer überzeugt voll und ganz". kicker.de. 2 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2 June 2009.
- ↑ "Neuers schwerer Patzer bleibt ohne Folgen". Westdeutsche Allgemeine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 30 November 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Lahm to Skipper Germany at World Cup; Neuer is Keeper". Sify News. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2014.
- ↑ "Manuel Neuer". BBC Sport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-24. สืบค้นเมื่อ 24 June 2010.
- ↑ "Germany beat Uruguay to win bronze". Ghana Sports – Soccer News. GhanaWeb. 10 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 July 2010.
- ↑ "Manuel Neuer begeistert sogar seine Gegner". Die Welt. 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 8 November 2011.
- ↑ 34.0 34.1 "Why Manuel Neuer was the best player at the 2014 World Cup". The Score. 14 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
- ↑ Vipond, Paddy (16 July 2014). "How Manuel Neuer, Germany's 11th man, is revolutionising goalkeeping". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
- ↑ "Milestone man Manuel excels against France". FC Bayern Munich. 5 July 2014. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ Kent, David (13 July 2014). "Manuel Neuer clatters into Gonzalo Higuain in World Cup final... provoking memories of Harald Schumacher on Patrick Battiston". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
- ↑ "World Cup 2014: Fifa announces Golden Ball shortlist". BBC. 11 July 2014. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ "Neuer ist Kapitän der Nationalmannschaft" (ภาษาเยอรมัน). DFB. 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.
- ↑ "Der eine ist Schiedsrichter, der andere kickt bei Heßler 06" (ภาษาเยอรมัน). reviersport.de. 18 June 2007. สืบค้นเมื่อ 8 November 2009.
- ↑ "Steckbrief" (ภาษาเยอรมัน). manuel-neuer.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2010.
- ↑ "Neuer – so gut wie sein Idol Lehmann" (ภาษาเยอรมัน). RP-Online.de. 7 March 2008. สืบค้นเมื่อ 28 October 2008.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Hoffen auf göttlichen Beistand" (ภาษาเยอรมัน). Paulinus.de. 3 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-29. สืบค้นเมื่อ 5 September 2014.
- ↑ "Manuel Neuer Kids Foundation" (ภาษาเยอรมัน). neuer-kids-foundation.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-27. สืบค้นเมื่อ 24 June 2013.
- ↑ Lewis, Darren (18 May 2012). "Screen test: Stopping Drogba's easier than being on Who Wants To Be A Millionaire says Bayern star". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.
- ↑ Kent, David (9 May 2014). "Manuel Neuer reveals all about his love for U2, winning and losing the Champions League final and quizzes". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 18 May 2014.
- ↑ "Manuel Neuer" (ภาษาเยอรมัน). Fussballdaten.de. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 48.3 "Manuel Neuer » Club matches". World Football. สืบค้นเมื่อ 1 January 2016.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Manuel Neuer" (ภาษาเยอรมัน). Fussballdaten. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "WM-Helden Müller und Klose treffen" (ภาษาเยอรมัน). kicker. 7 August 2010. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Die Bayern holen den ersten Titel der Saison" (ภาษาเยอรมัน). kicker. 12 August 2014. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer, Manuel". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). kicker. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Reus eröffnet und beendet den Torreigen" (ภาษาเยอรมัน). kicker. 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Neuer hält den Supercup fest" (ภาษาเยอรมัน). 30 August 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Bayern im Finale – Guangzhou kein Prüfstein" (ภาษาเยอรมัน). kicker. 17 December 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "FCB holt sich den fünften Titel" (ภาษาเยอรมัน). kicker. 21 December 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
- ↑ "Manuel Neuer" (ภาษาเยอรมัน). kicker.de. สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
- ↑ "Manuel Neuer". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 May 2016.
- ↑ "Manuel Neuer". kicker.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 21 September 2016.
- ↑ 66.0 66.1 66.2 "Manuel Neuer" (ภาษาเยอรมัน). fussballdaten.de. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
- ↑ Gartenschläger, Lars (6 June 2013). "Khedira, Özil, Neuer – Aufstieg der Euro-Helden". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (เยอรมัน)
- Manuel Neuer at fcbayern.de
- Manuel Neuer เว็บไซต์ fussballdaten.de (เยอรมัน)
- Manuel Neuer Kids Foundation เก็บถาวร 2013-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2529
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- นักฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิก
- ผู้เล่นในบุนเดิสลีกา
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010
- บุคคลจากเก็ลเซินเคียร์เชิน
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2014
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2018
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2022
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024