ฟุตบอลโลก 2014 รอบชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลโลก 2014
รอบชิงชนะเลิศ
ลูคัส โพดอลสกี (ที่ 3 จากขวา) ชูถ้วยโทรฟีฟุตบอลโลกสำหรับเยอรมนี
รายการฟุตบอลโลก 2014
หลัง ต่อเวลาพิเศษ
วันที่13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014)
สนามมารากานัง, รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
มารีโอ เกิทเซอ (เยอรมนี)
ผู้ตัดสินนีโกลา ริซโซลี (อิตาลี)
ผู้ชม74,738 คน
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
23 องศาเซลเซียส (73 องศาฟาเรนไฮต์)
ความชื้นสัมพัทธ์ 65%[1]
2010
2018

ฟุตบอลโลก 2014 รอบชิงชนะเลิศ กำหนดแข่งขันในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ที่มารากานัง ในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อตัดสินหาทีมชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014[2][3]

การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเป็นการแข่งขันระหว่างเยอรมนีและอาร์เจนตินา นัดนี้ได้ย้อนเหตุการณ์ที่ทั้งสองทีมเคยพบกันมาแล้วถึงสองครั้งด้วยกัน (ในรอบชิงชนะเลิศปี 1986 และปี 1990) และเหตุการณ์นี้กลายเป็นการซ้ำรอยฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่ผ่านมา

เยอรมนีได้เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกเป็นครั้งที่เจ็ด (หกครั้งในนามเยอรมนีตะวันตก ตั้งแต่ปี 1954 ถึง 1990), ชนะเลิศสามครั้ง (1954, 1974, 1990) และรองชนะเลิศสี่ครั้ง (1966, 1982, 1986, 2002); ในขณะที่อาร์เจนตินาได้เข้าชิงชนะเลิศมาแล้วสี่ครั้ง, ชนะเลิศสองครั้ง (1978, 1986) และรองชนะเลิศสองครั้ง (1930, 1990)

ในรอบรองชนะเลิศ เยอรมนีชนะบราซิล 7–1 ประตู และอาร์เจนตินาชนะด้วยการยิงลูกโทษในเกมที่พบกับเนเธอร์แลนด์ (0–0 หลังต่อเวลาพิเศษ)

เยอรมนีชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก 1-0 หลังต่อเวลาพิเศษ จากการทำประตูของ มารีโอ เกิทเซอ ทำให้เยอรมนีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่สี่มาครอบครองได้สำเร็จ นับเป็นแชมป์ครั้งแรกหลังการรวมประเทศเยอรมนี

ภูมิหลัง[แก้]

ทั้งสองทีมเคยพบกันมาแล้วทั้งสิ้น 20 นัด ผลคือ เยอรมนีชนะ 6 ครั้ง, เสมอกัน 5 ครั้ง, และอาร์เจนตินาชนะ 9 ครั้ง และทั้งสองทีมทำประตูรวมกันได้ถึง 28 ประตู 6 นัดเกิดขึ้นในฟุตบอลโลก สองครั้งในจำนวนนี้เกิดขึ้นในรอบชิงชนะเลิศ ดังนี้

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

เยอรมนี รอบ อาร์เจนตินา
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 4 – 0 นัดที่ 1 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 2 – 1
ธงชาติกานา กานา 2 – 2 นัดที่ 2 อิหร่าน อิหร่าน 1 – 0
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 1 – 0 นัดที่ 3 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 3 – 2
กลุ่ม จี แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 3 2 1 0 7 2 +5 7
สหรัฐ สหรัฐอเมริกา 3 1 1 1 4 4 0 4
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3 1 1 1 4 7 –3 4
ธงชาติกานา กานา 3 0 1 2 4 6 −2 1
ตารางคะแนนสิ้นสุด
กลุ่ม เอฟ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย +/- คะแนน
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 3 3 0 0 6 3 +3 9
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 3 1 1 1 3 3 0 4
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 3 1 0 2 4 4 0 4
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 3 0 1 2 1 4 −3 1
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
ธงชาติแอลจีเรีย แอลจีเรีย 2 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ) รอบ 16 ทีมสุดท้าย ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 1 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ)
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1 – 0 รอบก่อนรองชนะเลิศ ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 1 – 0
ธงชาติบราซิล บราซิล 7 – 1 รอบรองชนะเลิศ ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 0 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ) (4–2 ลูกโทษ)

การแข่งขัน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

เยอรมนี
อาร์เจนตินา
GK 1 มานูเอล นอยเออร์
RB 16 ฟิลิปป์ ลาห์ม (c)
CB 20 เชโรม โบอาเทง
CB 5 มัทส์ ฮุมเมิลส์
LB 4 เบเนดิคท์ เฮอเวเดส โดนใบเหลือง ใน 34 นาที 34'
CM 23 คริสท็อฟ คราเมอร์ Substituted off in the 31 นาที 31'
CM 7 บัสเตียน ชไวน์ชไตเกอร์ โดนใบเหลือง ใน 29 นาที 29'
RW 13 โทมัส มึลเลอร์
AM 18 โทนี โครส
LW 8 เมซุท เออซิล Substituted off in the 120 นาที 120'
CF 11 มีโรสลัฟ โคลเซอ Substituted off in the 88 นาที 88'
ตัวสำรอง :
MF 9 อันเดร เชือร์เลอ Substituted on in the 31 minute 31'
MF 19 มารีโอ เกิทเซอ Substituted on in the 88 minute 88'
DF 17 แพร์ แมร์เทสอัคเคอร์ Substituted on in the 120 minute 120'
ผู้จัดการทีม :
โยอาคิม เลิฟ
GK 1 เซร์คีโอ โรเมโร
RB 4 ปาโบล ซาบาเลตา
CB 15 มาร์ติน เดมีเชลิส
CB 2 เอเซเกียล กาไรย์
LB 16 มาร์โกส โรโค
CM 6 ลูกัส บีเกลีย
CM 14 คาเบียร์ มาเชราโน โดนใบเหลือง ใน 64 นาที 64'
RW 8 เอนโซ เปเรซ Substituted off in the 86 นาที 86'
LW 22 เอเซเกียล ลาเบซี Substituted off in the 46 นาที 46'
SS 10 เลียวเนล เมสซี (c)
CF 9 กอนซาโล อีกวาอิน Substituted off in the 78 นาที 78'
ตัวสำรอง :
FW 20 เซร์คีโอ อะกูเอโร โดนใบเหลือง ใน 65 นาที 65' Substituted on in the 46 minute 46'
FW 18 โรดรีโก ปาลาซีโอ Substituted on in the 78 minute 78'
MF 5 เฟร์นันโด กาโก Substituted on in the 86 minute 86'
ผู้จัดการทีม :
อาเลคันโดร ซาเบลา

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด :
มารีโอ เกิทเซอ (เยอรมนี)

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน :
เรนาโต ฟาเวรานี (อิตาลี)
อันเดรอา สเตฟานี (อิตาลี)
ผู้ตัดสินที่สี่ :
การ์โลส เบรา (เอกวาดอร์)
ผู้ตัดสินที่ห้า :
กริสเตียน เลสกาโน (เอกวาดอร์)

สถิติ[แก้]

โดยรวม
เยอรมนี อาร์เจนตินา
ประตู 1 0
การยิงรวม 10 10
เข้ากรอบ 7 2
การครอบครองบอล 60% 40%
การเตะมุม 5 3
การทำฟาวล์ 20 16
การล้ำหน้า 3 2
ใบเหลือง 2 2
การเซฟประตู 2 6
ใบเหลืองใบที่สอง/ใบแดง 0 0
ใบแดง 0 0

แขกสำคัญในนัดชิงชนะเลิศ[แก้]

จิลมา รูเซฟ ประธานาธิบดีบราซิล ได้เชิญผู้นำที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว (BRIC) ครั้งที่ 6 เข้าร่วมชมการแข่งขัน โดย วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งต่อไป และจาค็อบ ซูมา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เจ้าภาพฟุตบอลโลกครั้งที่แล้ว ได้เข้าร่วมชมในวันจริง นอกจากนี้ โยอาคิม เกาค์ ประธานาธิบดีเยอรมนี และอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประเทศคู่ชิงชนะเลิศ ได้เข้าร่วมชมการแข่งขันด้วย ส่วน กริสตีนา เฟร์นันเดซ เด กีร์ชเนร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา คู่ชิงชนะเลิศอีกประเทศหนึ่ง ไม่สามารถเข้าร่วมชมการแข่งขันได้ เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเกิดหลาน และมีอาการเจ็บคอ นอกจากนี้ยังมีบุคคลจากวงการกีฬาและบันเทิงเข้าร่วมชมการแข่งขัน ได้แก่ มิค แจ็คเกอร์ เดวิด เบคแคม ฟาบิโอ คันนาวาโร่ โลธาร์ มัทเธอุส แอชตัน คุชเชอร์ แดเนียล เคร็ก เลบรอน เจมส์ ริอานนา และ เปเล่

ก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้น มีการแสดงในพิธีปิด โดยชากีรา นักร้องชาวโคลอมเบีย และคาร์ลอส ซานตาน่า นักดนตรีชาวเม็กซิโก ได้ร่วมแสดงในพิธีดังกล่าว หลังจากนั้น จิเซล บุนเชน นางแบบชาวบราซิล และการ์เลส ปูยอล นักฟุตบอลทีมชาติสเปน แชมป์เมื่อครั้งที่แล้ว ได้นำถ้วยฟุตบอลโลกฟีฟ่าเข้าสู่สนาม โดยในพิธีมอบรางวัลหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นนั้น รูเซฟเป็นผู้มอบถ้วยดังกล่าวแก่ทีมชนะเลิศ นับเป็นสตรีคนแรกที่เป็นผู้มอบถ้วยชนะเลิศฟุตบอลโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. "Tactical line-up – Germany –Argentina" (PDF). FIFA.com (Fédération Internationale de Football Association). 13 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-03-02. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  2. "Groups & Schedule". BBC Sport (British Broadcasting Corporation). สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.
  3. "Matches". FIFA.com (Fédération Internationale de Football Association). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 14 June 2014.
  4. "1958 FIFA World Cup Match Report: Argentina – Germany FR". FIFA.com.
  5. "1966 FIFA World Cup Match Report: Germany FR – Argentina". FIFA.com.
  6. "1986 FIFA World Cup Match Report: Argentina – Germany FR". FIFA.com.
  7. "1990 FIFA World Cup Match Report: Germany FR – Argentina". FIFA.com.
  8. "2006 FIFA World Cup Match Report: Germany – Argentina". FIFA.com.
  9. "2010 FIFA World Cup Match Report: Argentina – Germany". FIFA.com.