ชาวไทยเชื้อสายเขมร
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
ภาคอีสาน จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, นครราชสีมา, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม ภาคตะวันออก จังหวัดตราด, จังหวัดจันทบุรี | |
ภาษา | |
เขมรเหนือ, ไทย, ไทยถิ่นอีสาน | |
ศาสนา | |
![]() | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวมอญ, ชาวว้า และกลุ่มชนมอญ–เขมรอื่น ๆ |
ชาวไทยเชื้อสายเขมร หรือ ชาวเขมรเหนือ (เขมร: ជនជាតិខ្មែរខាងជើង) [1] เป็นคำที่ใช้สื่อถึงผู้มีเชื้อชาติเขมรในภาคอีสานของประเทศไทย[2][3] ส่วนใหญ่เรียกว่า เขมรสุรินทร์ (เขมร: ខមែរសុរិន)
ประวัติ
[แก้]ชาวเขมรเริ่มปรากฏตัวในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมร[4] หลังอังกอร์ล่มสลาย ชาวเขมรในภาคอีสานต้องรับอิทธิพลจากไทย ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรไทยได้ผนวกจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดในอดีตของประเทศกัมพูชา ผู้อยู่อาศัยชาวเขมรกลายเป็นประชาชน โดยพฤตินัย ของพระมหากษัตริย์ไทย และเริ่มการกลืนกลายทางวัฒนธรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นเวลานานขึ้น
ในบันทึกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จำแนกชาวเขมรไว้เป็น 4 พวก คือ จำพวกที่ 1 เขมรที่เป็นชาวสยามแท้ เรียกในราชการว่า เขมรป่าดง เป็นราษฎรเมืองสุรินทร์ สังฆะ ขุขันธ์ จำพวกที่ 2 เขมรเก่า เป็นคนเขมรที่อพยพมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินบ้าง รัชกาลที่ 1 บ้าง พวกนี้อยู่ที่มณฑลราชบุรีโดยมาก จำพวกที่ 3 เขมรกลาง คือ เขมรที่อพยพมาในสมัยรัชกาลที่ 3 พวกนี้อยู่ในมณฑลกรุงเทพและมณฑลปราจีนบุรี โดยมาก จำพวกที่ 4 เขมรใหม่ คือ เขมรที่อพยพตั้งแต่ ค.ศ. 1858 มีมากในมณฑลบูรพา หรือเมืองพระตะบองเป็นต้น[5]
ประชากร
[แก้]จังหวัด | ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2533 | ร้อยละของชาวเขมรใน พ.ศ. 2543 |
---|---|---|
สุรินทร์[6] | 63.4% | 47.2% |
บุรีรัมย์[7] | 0.3% | 27.6% |
ศรีสะเกษ[8] | 30.2% | 26.2% |
ตราด[9] | 0.4% | 2.1% |
สระแก้ว[10] | ไม่มี | 1.9% |
จันทบุรี[11] | 0.6% | 1.6% |
ร้อยเอ็ด[12] | 0.4% | 0.5% |
อุบลราชธานี[13] | 0.8% | 0.3% |
มหาสารคาม[14] | 0.2% | 0.3% |
ภาษา
[แก้]
ชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นจะมีภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา โดยภาษาเขมรที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ จะเรียกว่า ภาษาเขมรถิ่นไทย หรือเขมรบน โดยมีความต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชาในเรื่องของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ โดยผู้ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทยจะสามารถเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง ส่วนผู้ใช้สำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ นอกจากภาษาเขมรถิ่นไทยแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาเขมรได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา อย่างเช่นแถบจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
แต่ขณะเดียวกันชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในหลายจังหวัดแถบภาคกลางของประเทศที่ตกอยู่ในวงล้อมที่รอบล้อมไปด้วยภาษาไทยกลาง ทำให้ภาษาเขมรในถิ่นนั้นได้รับอิทธิพลของภาษาไทย โดยชุมชนเชื้อสายเขมรหลายชุมชนเลิกการใช้ภาษาเขมร โดยสงวนไว้เฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ไม่เผยแพร่ต่อลูกหลาน อย่างเช่นในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดราชบุรี ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ) ก็ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนเขมรจากเมืองโพธิสัตว์ เสียมราฐและพระตะบองมาไว้ที่ราชบุรี เขมรเหล่านี้ไม่ใช่เขมรลาวเดิมเพราะมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน เขมรกลุ่มนี้ใช้ภาษาพูดเช่นเดียวกับเขมรในประเทศกัมพูชา โดยตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอปากท่อ[15] จากการศึกษาใน พ.ศ. 2546 พบผู้พูดภาษาเขมรประมาณ 8-10 คน มีอายุระหว่าง 70-80 ปี แต่ไม่ได้ใช้ภาษาเขมรสื่อสารกับลูกหลาน เพียงแต่นึกศัพท์ได้เป็นคำ ๆ หรือพูดคุยกับคนรุ่นเดียวกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น[16] เช่นเดียวกันกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดนครปฐมซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ปากคลองเจดีย์บูชา สะพานรถไฟเสาวภา วัดแค ไปจนถึงวัดสัมปทวน เรียงรายไปตลอดริมแม่น้ำท่าจีน ประมาณ 1 กิโลเมตรประมาณ 30 ครอบครัว แต่มีผู้ใช้ภาษาเขมรเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น[17] ขณะที่ตำบลบ้านโพธิ์และตำบลตลิ่งชัน จังหวัดสุพรรณบุรี มีหมู่บ้านที่ใช้ภาษาเขมรร่วมกับภาษาไทย 7 หมู่บ้าน[18]
การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
[แก้]นอกจากการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างคนภายในชุมชนเดียวกันแต่ต่างชาติพันธุ์กัน อย่างเช่น ชุมชนบ้านโซง ซึ่งเดิมเป็นชุมชนของชาวเขมร แต่ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่ภายในชุมชนด้วย โดยหากมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันระหว่างกลุ่ม ก็จะนิยมจัดงานแต่งงานแบบเขมร และชาวไทยเชื้อสายเขมรในชุมชนนี้จะมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาลาว
ศาสนา
[แก้]ชาวไทยเชื้อสายเขมรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณีกันซง ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และจะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้นชาวไทยเชื้อสายเขมรยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้[17]
นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรบางส่วนก็นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเช่นในชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ ในซอยมิตตคาม ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ได้กวาดต้อนชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์มาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยได้ทำการกวาดต้อนมาประมาณ 500 คน โดยเป็นชาวโปรตุเกส 450 คน และชาวเขมรอีก 100 คน[19] โดยกลุ่มชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ได้นำรูปสลักพระแม่มารี หรือ พระแม่ขนมจีน หรือ พระแม่ตุ้งติ้ง มาด้วย ภายหลังมีการอัญเชิญรูปสลักนี้กลับกัมพูชา แต่ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ทำให้ไปต่อไม่ได้ จึงนำกลับมาประดิษฐาน ณ วัดคอนเซ็ปชัญตามเดิม ด้วยเหตุที่มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในชุมชน จึงทำให้วัดคอนเซ็ปชัญมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดเขมร[19] โดยอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรในวัดคอนเซ็ปชัญคือ หมูหัน
วัฒนธรรม
[แก้]แม้ว่าในปัจจุบันเป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขมรเหนือยังคงรักษาเอกลักษณ์เขมรบางส่วน เช่น นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบเขมร และพูดภาษาเขมรเหนือ มีชาวเขมรเหนือไม่กี่คนสามารถอ่านหรือเขียนภาษาแม่ของตนเองได้[20] เพราะว่าในโรงเรียนรัฐมีการสอนเป็นภาษาไทยเท่านั้น
การเรียนการสอนภาษาไทยนี้ ทำให้คนรุ่นหลังหลายคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อกลางในการสื่อสารได้สะดวกกว่า ใน ค.ศ. 1998 Smalley รายงานถึงการเริ่นต้นความสนใจภาษาและวัฒนธรรมเขมรใหม่ ทำให้มีผู้พูดภาษาเขมรเหนือเพิ่มขึ้นสองเท่ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1958[21] อย่างไรก็ตาม การใช้เขมรลดลงในเวลาต่อมา[22]
ในสองทศวรรษที่แล้ว มีการฟื้นฟูวัฒนธรรม 'ท้องถิ่น' ในประเทศไทยโดยรัฐ เช่น วัฒนธรรมเขมร ซึ่งถูกท้าทายจากการนำเรื่องเล่าของรัฐมาใช้และไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับชาวเขมรเหนือได้อย่างเพียงพอ[23]
ประเพณี
[แก้]ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร เช่น
- ประเพณีไหว้พระแข เป็นประเพณีชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลบ้านโพธิ์ และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่อพยพตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยพิธีนี้เป็นพิธีบวงสรวงและไหว้พระจันทร์เพื่อเสี่ยงทางฝนฟ้าประจำปี จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 และในวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะเผาข้าวหลาม มาทำบุญเลี้ยงพระ ปัจจุบันมีการจัดตามวัด
- เทศกาลแซนโฎนตาแคเบ็น ซึ่งคำว่า แซนโฎนตา หรือ แซนโดนตา แปลว่า เซ่นปู่ตา หมายถึง การเซ่นผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นประเพณีที่ชาวเขมรถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ จะจัดกันในช่วง แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถึง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ในเดือน แคเบ็น หรือตรงกับเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับสารทไทย แต่ที่แปลกพิสดารคือมีการจัดเซ่นที่เป็นเอกลักษณ์ตามธรรมเนียมประเพณีแบบเขมร โดยก่อนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 สี่ถึงห้าวัน[24]
ข้อขัดแย้ง
[แก้]ถึงแม้ว่าชาวเขมรกรมในดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ประเทศเวียดนาม ไม่ได้อยู่ใกล้ระดับการประท้วงเลย ชาวเขมรเหนือบางส่วนในภาคอีสานต้องการสิทธิมากกว่าเดิมและต่อต้านการแผลงเป็นไทย และการสู้รบเป็นครั้งคราวระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาในบางครั้งยากลำบาก[25][26]
ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พระนางเจ้าสุวัทนา — พระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เชื้อสายเขมรจากพระตะบอง)
- สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี — เจ้าหญิงแห่งประเทศไทย (เชื้อสายเขมรจากพระตะบอง)
- ควง อภัยวงศ์ — นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของประเทศไทย (เชื้อสายเขมรจากพระตะบอง)
- สุรชัย จันทิมาธร — นักร้องนำและผู้แต่งเพลงของวงคาราวาน (เชื้อสารเขมรเหนือจากจังหวัดสุรินทร์)
- ชัย ชิดชอบ - อดีตประธานรัฐสภาไทยและสภาผู้แทนราษฎรไทย
- เนวิน ชิดชอบ - นักการเมืองชาวไทยที่มีอิทธิพล มีบรรพบุรุษเป็นชาวเขมรเหนือ
- สิโรจน์ ฉัตรทอง – นักฟุตบอลชาวไทยที่มีเชื้อสายเขมรจากพระตะบอง
- กรินทร์ เตื่อยตุ่น – รองอันดับ 3 มิสนอร์เวย์ปี 2019 ชาวไทยที่มีเชื้อสายเขมรจากบุรีรัมย์
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cuam and the Beliefs of the Thai-Khmer". Khmerling.blogspot.com. 25 October 2005. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
- ↑ แผนแม่บท การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2558-2560) [Master Plan for the Development of Ethnic Groups in Thailand 2015-2017] (PDF). Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. 2015. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-01.
- ↑ "Thailand's World : Khmer People". Thailandsworld.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2014. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ "รัชกาลที่ 5 : สยามกับอุษาคเนย์และชมพูทวีป" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-21.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (21 สิงหาคม 2563). เขมรลาวเดิม และร่องรอยคนลาวในสังกัดขุนนางเขมรที่วัดเกาะศาลพระ. สยามเทศะ. p. 3.
- ↑ สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (24 มกราคม พ.ศ. 2546). "แผนที่ภาษาศาสตร์". ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 17.0 17.1 ความนำ : ชุมชนเขมร เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
- ↑ ฤทัยวรรณ ปานซา (มกราคม–มิถุนายน 2563). ระบบคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. สถาบันภาษาและวัฒนธรรมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: วารสารมังรายสาร (8:1). p. 67.
- ↑ 19.0 19.1 ประวัติวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (คอนเซ็ปชัญ)[ลิงก์เสีย] เล่าเรื่องชุมชนและวัดคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
- ↑ "VOA Khmer News, Radio, TV". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 10 January 2018.
- ↑ Smalley, William A. (1988). "Multilingualism in the Northern Khmer Population of Thailand". Language Sciences. 10 (2): 395–408. doi:10.1016/0388-0001 (88) 90023-X.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|doi=
(help) - ↑ Vail, Peter (2013). "The Politics of Scripts: Language Rights, Heritage, and the Choice of Orthography for Khmer Vernaculars in Thailand". ใน Barry, Coeli (บ.ก.). Rights to culture : heritage, language, and community in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books. pp. 135–162. ISBN 978-616-215-062-3. OCLC 837138803.
- ↑ Denes, Alexandra (2013), "The Revitalisation of Khmer Ethnic Identity in Thailand", Routledge Handbook of Heritage in Asia, Routledge, doi:10.4324/9780203156001.ch11, ISBN 978-0-203-15600-1
- ↑ "เทศกาลแซนโดนตาแคเบ็นประเพณีของชาวไทยเขมรกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ 2010-02-24.
- ↑ Chachavalpongpun, Pavin (2012). "Embedding Embittered History: Unending Conflicts in Thai-Cambodian Relations". Asian Affairs. 43 (1): 81–102. doi:10.1080/03068374.2012.643593. ISSN 0306-8374. S2CID 145309277.
- ↑ Thị Trà Mi, Hoàng (2016). "The Preah Vihear temple dispute on the Thai-Cambodian border and ASEAN's role in conflict resolution". Journal of Science, Social Science. 61 (10): 170–174. doi:10.18173/2354-1067.2016-0100. ISSN 2354-1067.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Thailand’s Khmer as ‘Invisible Minority’: Language, Ethnicity and Cultural Politics in North-Eastern Thailand เก็บถาวร 2012-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Kandrum (Kantreum) Folk Performers
- Ethnic Khmer Festival in Thailand เก็บถาวร 2007-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Thai-Cambodia fighting disrupts border ties เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Puangthong Rungswasdisab, Thailand's Response to the Cambodian Genocide; insights on Thailand's foreign policy towards its neighboring countries
- World Directory of Minorities - Mon and Khmer